Volcanic Activity : กรณีผลกระทบ จากการระเบิดของภูเขาไฟ

   Volcanic Activity : กรณีผลกระทบ จากการระเบิดของภูเขาไฟ
 
 
กรณีผลกระทบ จากการระเบิดของภูเขาไฟ
มีโอกาสจะปรากฏ 100 %
สามารถทราบก่อนจากการแจ้งเตือนล่วงหน้าระยะสั้น


โลกของเรานั้นภายในยังเต็มไปด้วย หินหลอมละลาย ลาวา บริเวณแกนชั้นใน
โดยมีความร้อนสูงมาก (โลกมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 12,000 กิโลเมตร)
ส่วนผิวเปลือกโลกที่เราสร้างบ้านเรือน อาศัยอยู่มีความหนาเพียง 30 – 60 ก.ม.
เท่านั้นและเป็นส่วนที่เย็นลงแล้ว

บนผิวเปลือกโลกมี ภูเขาไฟ ประมาณ 7,000 แห่ง มีเป็นจำนวนมากที่มีปฎิกิริยา
หรืออาจเรียกว่ายังมีชีวิตอยู่รอวันปะทุ บางแห่งมีขนาดใหญ่ อยู่ใกล้เขตอยู่อาศัย
หนาแน่น เช่น ภูเขาไฟ Vesuvius ประเทศอิตาลี และ ภูเขาไฟ ST. Helens ใน
ประเทศอเมริกา ภูเขาไฟบางแห่งตั้งอยู่บนรอยแตกของเปลือกโลก มีโอกาสสูง
ภูเขาไฟขนาดใหญ่เหล่านั้นเกิดคืนชีพระเบิดออกมาด้วย แรงดันจากภายในแกน
ที่ยังเต็มไปด้วย หินหนืด และลาวา

หากมีการระเบิดของภูเขาไฟขนาดใหญ่แล้ว ชั้นบรรยากาศก็จะเต็มไปด้วยกลุ่ม
หมอกควันของสะเก็ดหินเล็กๆของภูเขาไฟ ล่องลอยปกคลุมไปทั่วโลกจะบดบัง
แสงสว่างจากอาทิตย์

บางส่วนของโลก เกิดสภาวะเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ทำให้เย็นลงอย่าง
กะทันหัน ผิวดินไม่สามารถเพาะปลูกได้ แหล่งน้ำไม่ สามารถใช้ดื่มกินได้เต็มไป
ด้วยเถ้าถ่านมาก หลังจากนั้นก็จะเกิดสภาวะฝนกรด ระบบหายใจของสัตว์และ
มนุษย์ประสบปัญหา

หากเกิดการระเบิดของภูเขาไฟ ที่อยู่ใต้ทะเลก็จะเกิดแรงกระเพื่อมของน้ำอย่าง
รุนแรงทำให้เกิดคลื่นซึนามิขนาดใหญ่ วิ่งปะทะชายฝั่งเกิดน้ำท่วมแบบฉับพลันลึก
เข้าไปในแผ่นดินหลายสิบกิโลเมตรได้
 
 
เถ้าถ่านและฝุ่นหินจะลอยไปทั่วโลก หากเป็นภูเขาไฟขนาดใหญ่ระเบิด
มีผลกระทบด้านสภาพอากาศและระบบนิเวศ ในวงกว้าง
 
 
แนวเส้นและจุดแดงในแผนที่คือ ตำแหน่งการระเบิดของภูเขาไฟ ในระยะเวลา 1 ล้านปีที่ผ่านมา
 
 
จากประวัติที่มีการบันทึกความเสียหายไว้นั้น ภูเขาไฟ Vesuvius โดย สร้างความ
เสียหายต่อเมืองปอมเปย์อี ผู้คนเสียชีวิตทั้งเมือง ปี ค.ศ. 79 เหตุการณ์ระเบิดของ
ภูเขาไฟ Krakatoa ในอินโดนิเซีย เมื่อ ค.ศ. 1883 ทำให้เกิดซึนามิแล้ว

ครั้งแรก มีคนเสียชีวิต 36,000 คน การเกิดครั้งที่สองมื่อ ค.ศ. 2005 กระทบถึง
ประเทศไทย มีผู้คนเสียชีวิตกว่า 200,000 คนทั่วโลกและค.ศ. 1992 การระเบิด
ของภูเขาไฟ Pinatubo ใน ฟิลิปปินส์ทำให้มีคนเสียชีวิต 250,000 คน
 
 
ภูเขาไฟ Kilauea ในฮาวาย
 
 
แนวไหลของลาวา ภูเขาไฟ Kilauea
 
 
ด้วยความเข้าใจสภาพธรรมชาติ ของภูเขาไฟมากขึ้น และความก้าวหน้าทันสมัย
ด้าน เครื่องมือตรวจสภาพการสั่นสะเทือน ส่วนลึกใต้ผิวดิน ทำให้การเฝ้าระวังผล
กระทบเรื่องภูเขาไฟมีความแม่นยำมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามก็สามารถแจ้งเตือน
ภัยได้ล่วงหน้าได้

แม้ว่าดูเหมือนการระเบิดของภูเขาไฟ ที่ผ่านมา มีขอบเขตไม่เป็นวงกว้างนักโดย
เฉพาะแถบประเทศไทย ไม่มีภูเขาไฟประเภทสามารถ มีปฎิกิริยาอีกก็ตาม

ผลกระทบที่ยังหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ แผ่นดินไหวหรือซึนามิ ซึ่งเป็นสาเหตจากการ
การระเบิด หรือการเคลื่อนตัว ของแนวภูเขาไฟใต้มหาสมุทรได้เช่นกัน

ความเป็นจริงหากนึกถึงโลก เปรียบเหมือนลูกแตงโม จะเข้าใจได้ทันทีว่าเปลือก
วสีเขียวบางๆเป็นเปลือกโลก ส่วนภายในเนื้อสีแดงภายในคือ ส่วนที่มีความร้อน
เช่น หินหนืด ลาวา พร้อมจะดันทะลุไหลเย้ม ออกมาจากเปลือกผิวที่แตกได้
ตลอดเวลา ซึ่งเดิมที ครั้นกำเนิดโลกยุคต้น เต็มไปด้วหินร้อน เช่นภูเขาไฟ
 
 
การตรวจสอบด้วยดาวเทียม ของ NASA
 
 
ภูเขาไฟ Klyuchevskaya Sopka ระเบิดเตือนเมื่อปี 1993 มีบ้านเรือนตั้งอยู่ห่าง 40 กม.
 
 
บริเวณเกาะ Northern Mariana Island ระเบิดเตือนตั้งแต่ ปี 2004
 
 
ภูเขาไฟ Montserrat เกาะคาริเบียนพ่น Toxic gases จำนวน 300 ล้าน ลบ.หลา
สร้างความเสียหายประมาณ 300 ครอบครัว เมื่อปี 2003
 
 
ภูเขาไฟ Rainer ใน อเมริการะเบิดเตือน ตั้งแต่ปี 2004 หลังจากที่เคยระเบิดครั้งสุดท้าย
เมื่อ 1,000-2,300 ปีมาแล้ว คาดว่าอาจมีโอกาส ระเบิดอีกใน 500 ปีข้างหน้า
 
 
แสดงขอบเขตการไหลของลาวา และขนาดภูเขาไฟ ที่ระเบิดในอดีต
 
 
แสดงแนวกระเพื่อมของน้ำในมหาสมุทรมีอาณาเขตเป็นวงกว้างกรณีเกิดซึนามิ
จาก การเคลื่อนตัวของแนวแผ่นเปลือกโลกใต้ทะเล ซึ่งเป็นเหตุต่อเนื่องจาก
แรงดันใต้เปลือกโลก บริเวณภูเขาไฟ ประเทศอินโดนีเซีย
 
 
ภูเขาไฟ Strombori ในอิตาลี สร้างความเสียหายจากการพ่นควันและฝุ่นหิน
ประมาณ 450 ครอบครัว สถานที่ตากอากาศเสียหาย 20 แห่ง เมื่อปี 2007
 
 
ความเป็นไปได้ :

มีโอกาสเกิด 100 % ระยะเวลาไม่สามารถทราบล่วงหน้าได้ชัดเจนและแม่นยำนัก
พยากรณ์ได้ล่วงหน้าในระยะสั้นก่อนเกิด โดยสามารถประเมินสถานการณ์ขอบเขต
รุนแรงที่จะเกิดขึ้นได้ ด้วยเทคโนโลยี่เราพอที่จะพยากรณ์ได้ระดับ 70-80 %
ด้วยมีองค์ประกอบที่ซับซ้อน การวิเคราะห์แล้วพยากรณ์ผิดพลาดแล้วประชากร
อาจตื่นตระหนก จนเกิดผลเสียหายได้

การแก้ไขเหตุการณ์ :

ควรตั้งถิ่นฐานห่างจุดที่คาดว่าจะเกิด หลีกเหลี่ยงบริเวณแนวแตกของเปลือกโลก
บริเวณภูเขาไฟที่ยังมีปฏิกิริยาด้านธรณีวิทยาของโลก และอพยพทันทีที่ได้รับ
การแจ้งเตือนภัย แต่การเลือกตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่ปลอดภัยไม่ได้หมายความว่า

จะหลีกเลี่ยงผลกระทบได้ เพราะควันหมอกของการระเบิดขนาดใหญ่จะลอยไป
อย่างน้อยครึ่งโลก หรือมีการวิเคราะห์กันไว้ว่า หากเกิดระเบิดของภูเขาไฟที่ตั้งอยู่
บริเวณริมทะเล เมื่อระเบิดแล้วอาจมีแผ่นดินแยก ทำให้หินขนาดใหญ่ทั้งภูเขาหล่น
กระแทกลงสู่ทะเลอย่างแรง ผลทำให้เกิดการกระเพื่อมรุนแรงของผิวน้ำก่อให้เกิด
คลื่นยักษ์ซึน่ามิ กระทบสู่ฝั่งมหาสมุทรอีกฟากได้

ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และสังคม :

ปัจจุบันมีสถานีสังเกตการณ์เฝ้าระวังภูเขาไฟหลายแห่งในทวีปต่างๆ อย่างทั่วถึงใน
ในเขตประชากรหนาแน่น แต่เราก็ยังไม่เข้าใจระบบของภูเขาอย่างชัดแจ้งในวิชา
ด้านภูเขาไฟวิทยา เพราะได้เริ่มศึกษาเรื่องนี้เพียง 100 ปี ที่ผ่านมาเท่านั้น

Near Earth impact : กรณีผลกระทบการชนปะทะของวัตถุใกล้โลก

   Near Earth impact : กรณีผลกระทบการชนปะทะของวัตถุใกล้โลก
 
 
กรณีผลกระทบจากการชนปะทะของวัตถุใกล้โลก
เช่น อุกกาบาต ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง (ที่โคจรเข้าใกล้เฉียดโลก)
มีโอกาสจะปรากฏ 100 % สามารถทราบก่อนจาก
การแจ้งเตือนล่วงหน้าระยะ 10-1,000 ปี


ระบบสุริยะ มีวัตถุประเภท อุกกาบาต ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง ฯลฯ เป็นจำนวน
มากกว่า 1,000,000 วัตถุ เรียกว่าวัตถุใกล้โลก (Near earth objects) บางกลุ่ม
มีเส้นทางวิ่งตัดผ่านวงโคจรโลก มีโอกาสวิ่งชนปะทะกับโลกเหมือนลูกระเบิด

ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของโลกนั้นเชื่อ ว่ามีการเกิดเหตุการณ์ ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์
กำเนิดโลก มีการชนปะทะแล้วมากกว่า 2,000 ครั้ง
 
 
อุกกาบาตขนาดใหญ่ ปะทะโลก จะมีผลต่อการโคจรและแกนโลก
 
 
ตำแหน่งวัตถุที่อันตราย และไม่อันตราย
 
 
มีวัตถุใกล้โลก (NEO) 100,000 – 1,000,000 วัตถุที่เรายังไม่ได้สำรวจ
จุดสีเขียว   : ขณะนี้ยังไม่อยู่ในตำแหน่งวงโคจรที่อันตรายต่อโลก
จุดสีเหลือง : มีตำแหน่งใกล้โลก ที่เราสำรวจแล้ว 300 วัตถุ จาก 1,500 วัตถุ                   ที่ไม่อยู่ในวงโคจรอันตรายต่อโลก
จุดสีแดง    : ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม Apollo และ Aten มีความเป็นไปได้ที่จะโคจร
                  เข้าใกล้โลกมากในอนาคต
 
 
แผนที่แสดงบริเวณที่พบ หลุมอุกกาบาต ซึ่งได้สำรวจตั้งแต่ ปี 1950 เป็นต้นมา
จำนวน 150 แห่งที่มีข้อมูลสำหรับศึกษาเรื่องนี้
 
 
หลุมอุกกาบาต Chicxulub ที่ Yucatan Peninsula of Mexico
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางหลุม 200 กม. มีขนาดเท่าเมือง Austin ถึงเมือง Houston
 
 
การชนปะทะครั้งใหญ่ บริเวณรัฐอะริโซ่น่า อเมริกาเมื่อ 50,000 ปีมาแล้ว ขนาด
อุกกาบาต 150 เมตร น้ำหนัก 8.4 ตัน และที่ Yucatan อุกกาบาต ขนาด 10 กม.
เมื่อ 65 ล้านปี ถือว่าเป็นการทำลายล้างครั้งใหญ่ที่สุด ชีวิตต่างๆทั้งหมดและปิด
ฉากยุคไดโนเสาร์

จากการประเมินของ สถาบันอวกาศแห่งแคนาดา (Canadian Space Agency)
มีข้อมูลว่าอุกกาบาต ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 100 กม.ปะทะโลกจะได้ยินเสียง
ระเบิดดังไปไกลว่า 1,000 กม.สามารถสร้างความกดดันสะท้อนคลื่นเป็นช่วงๆ
(Pressure wave) ไปได้รอบโลกมากกว่า 1 ครั้ง

ล่าสุดเกิดขึ้น ค.ศ. 1908 อุกกาบาต ขนาด 30 เมตรพุ่งปะทะ เขตไซบีเรียเหนือ
บริเวณทังกัสกา (Tunguka) ก่อนชนโลกเกิด การระเบิดเหนือพื้นดิน ประมาณ
6-10 กม.เปรียบเทียบแรงระเบิดเท่ากับ 10-15 เม็กกะตัน ระเบิด TNT

ภายหลังได้สำรวจ ความเสียหายเป็นพื้นที่ 2,000 ตร.กม. ต้นไม้เสียหายทั้งสิ้น
60 ล้านต้น แต่หากไม่มีการระเบิดกลางอากาศ ก่อนพุ่งชนโลก คาดว่าอาจต้อง
ความเสียหาย มากกว่านี้หลายเท่า

ทุกวันนี้ เรายังติดตามผลกระทบกรณีTunguka นี้อย่างต่อเนื่อง ต้นไม้บริเวณนั้น
เจริญเติบโตช้ากว่าปกติ ใต้ผิวดินมีการเปลี่ยนแปลงแร่ธาตุและสารประกอบเคมี
 
 
บริเวณรัฐอะริโซ่น่า อเมริกา เมื่อ 50,000 ปี ขนาดอุกกาบาต 150 เมตร
 
 
บริเวณทังกัสกา ไซบีเรียตอนเหนือ เมื่อ ค.ศ. 1908 (ภาพเล็กพื้นที่ในปัจจุบันนี้)
 
 
หลุมอุกกาบาต Manicouagan กว้างประมาณ 100 กม. เมื่อ 200 ล้านปี ที่เมือง Labrador
 
  โอกาสความเป็นไปได้ ในการเสียชีวิตของชาวอเมริกา
  ฆาตกรรม 1 ใน 300 คน
  เพลิงไหม้ 1 ใน 800 คน
  อาวุธปืนขนาดเล็ก 1 ใน 2,500 คน
  อุกกาบาต-ดาวหาง 1 ใน 20,000 คน
  เครื่องบินตก 1 ใน 20,000 คน
  อุทกภัย 1 ใน 30,000 คน
  พายุโทนาโด 1 ใน 60,000 คน
  แมลงมีพิษต่อย 1 ใน 100,000 คน
  อาหารมีสารพิษ 1 ใน 300,000 คน
 
ข้อมูลจาก Odds of Dying in the United States from Selected Causes
Source: D. Morrison (1992)
 
 
NASA เริ่มสำรวจวัตถุใกล้โลกตั้งแต่ ค.ศ.1996 ยานสำรวจ Muses-C ออกแบบสำหรับ
ลงจอดบน อุกกาบาต และดาวเคราะห์น้อย เพื่อศึกษาชนิดขององค์ประกอบภายใน
 
 
ความเป็นไปได้ :

มีโอกาสเกิด 100 % สามารถทราบก่อนล่วงหน้า 10 -1,000 ปี ด้วยการคำนวณ
วงโคจรด้านดาราศาสตร์ ปัจจุบันมีวัตถุใกล้โลก ที่มีโอกาสพุ่งชนโลกประมาณ
200 วัตถุ แต่เรายังไม่สามารถบอกได้ชัดเจน จากการคำนวณวงโคจร ในขณะนี้ เพราะวัตถุเหล่านั้นมีขนาดเล็ก วงโคจรไม่เสถียร อาจถูกกระแสแรงดึงดูดจาก
ดวงอาทิตย์ ทำให้เปลี่ยนทิศทางเมื่อเข้าใกล้โลกได้ จึงมีข้อจำกัดในการแจ้ง
เตือนมิฉะนั้นประชากรโลกจะหวาดวิตกได้

อย่างไรก็ตามไม่จำเป็นต้องวิตกในเรื่องนี้ การประกาศอันตรายจากวัตถุใกล้โลก
อย่างเป็นทางการ เพื่อให้ประชากรโลกทราบ มีขั้นตอนและขบวนการตรวจสอบ
อย่างรัดกุม โดยมีระดับการเตือนที่วางเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก

หากขั้นภัยพิบัติร้ายแรง รัฐบาลจะเป็นผู้ประกาศเท่านั้น ส่วนที่มักมีข่าวเรื่องวัตถุ
ใกล้โลก นักดาราศาสตร์หรือผู้เชี่ยวเท่านั้น สามารถประกาศลักษณะการแจ้งข่าว

มักมีรายงานโอกาสความเป็นไปได้ ของวัตถุที่จะชนปะทะโลก ทุก 100,000 ปี
หรือทุก 200,000 ปี ตัวเลขดังกล่าวเป็นเพียงใช้หลักคำนวณทางสถิต ซึ่งอาจเป็น
ไปได้หรือเป็นไปไม่ได้เท่าๆกัน ในหลักการปัจจุบันเรามีเครื่องมือที่มีความแม่นยำ
เพียงพอที่จะตรวจสอบได้ ซึ่งอาจจะแก้ไขวิกฤตได้ทันเวลาในระยะ 10 - 20 ปี
ส่วนการพยากรณ์เขตชนปะทะ อาจจะเป็นเรื่องยากในขณะนี้ มักคาดว่าตกลงใน
มหาสุมทรมากกว่าพื้นดิน เพราะโลกมีพื้นน้ำมากกว่าพื้นดิน แต่ไม่แน่นอน

การแก้ไขเหตุการณ์ :

อาจจะแก้ไขเหตุการณ์ได้ โดยการส่งจรวด ไปผลักดันวงโคจร ของวัตถุนั้นๆใน อนาคต แต่ไม่สามารถใช้วิธียิงทำลาย ด้วยขีปนาวุธได้พราะหากแตกออกเป็น
ชิ้นเล็กอาจยิ่งมีโอกาสเปลี่ยนวงโคจร พุ่งชนปะทะโลกได้มากขึ้น

ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และสังคม :

ปัจจุบันสถาบันตรวจจับวัตถุใกล้โลกหลายแห่ง โดยมีทั้งนักดาราศาสตร์ และ สถาบันดาราศาสตร์ทั่วโลกร่วมมือ และรายงานการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

Red Giant effect : กรณีผลกระทบจากการขยายตัวของดวงอาทิตย์

   Red Giant effect : กรณีผลกระทบจากการขยายตัวของดวงอาทิตย์
 
 
กรณีผลกระทบจากการขยายตัวของดวงอาทิตย์
มีโอกาสจะปรากฏ 100 % ในระยะ 5,000 ล้านปี


โดยปกติขบวนการพัฒนาระบบของ ดวงอาทิตย์ ดำรงสถานะความสมดุลยจาก
การเผาไหม้ และหลอมละลายภายในแกน ที่ประกอบไปด้วย Hydrogen และ
Helium เป็นกระบวน การปลดปล่อยพลังงาน (ผลิตแสงสว่าง ความร้อนสาร
กัมมันตรังสีต่างๆ) ออกมาบริเวณ ผิวด้านนอกของดวงอาทิตย์ โดยก๊าซเหล่านั้น
ได้สะสมเป็นจำนวนมากและทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ มากมหาศาล นับหลายพันล้านปี

ในที่สุด Hydrogen ภายในแกนของได้หมดลง การเผาไหม้เริ่มข้ามชั้น (ภายใน
ดาวมีก๊าซเป็นชั้นๆคล้ายหัวหอมใหญ่) การรักษาสมดุลพลังงาน ของดวงอาทิตย์
จะล้มเหลว บรรยากาศเกิดสภาพกดดัน อุณหภูมิภายนอกเกิดความร้อนเพิ่มขึ้น

ความร้อนนี้ทำปฏิกิริยากับ Helium ที่สะสมมานาน เกิดระเบิดและแผ่รังสีอย่าง
มหาศาล ทำให้เกิดการขยายตัวของดวงอาทิตย์ ดาวใหญ่กว่าปกติอีกหลายร้อย
เท่าหรือนับ หลายพันเท่า

การเผาไหม้ก๊าซบริเวณเปลือกนอก เกิดเป็นรัศมีวงกว้างรอบดวงอาทิตย์เป็น
การขยายตัวของพื้นที่ลุกลามออกสู่ภาพนอกอย่างสุดขั้ว สิ่งต่างๆที่อยู่ในรัศมี
ดังกล่าวจึงถูกเผาไหม้ด้วยความร้อนสูง

ลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นนานนับหลายล้านปี ขึ้นอยู่กับจำนวนปริมาณมวลหรือ
วัตถุดิบที่หลงเหลืออยู่ การลุกไหม้อย่างโชติช่วง ดังกล่าวเป็นสีแดงขนาดใหญ่
โตมาก จะเกิดในอนาคตประมาณ 4.5 - 5 พันล้านปีข้างหน้าเรียกปรากฏการณ์
ดังกล่าวว่า ดาวยักษ์สีแดง (Red Giant) เป็นระบบปกติของการพัฒนาดวงดาว
ที่เกิดขึ้นในจักรวาล ตลอดเวลา อย่างมากมายทุกแห่ง
 
 
การเผาไหม้กันระหว่างชั้น และผิวที่เต็มไปด้วยก๊าซฮีเลียม
ทำให้เกิดรังสีต่างๆที่อันตราย และรังสีเหล่านี้มีความเสถียร อยู่ได้อีก 5,000 ปี
 
 
การเผาไหม้ เหมือนการระเบิด ของก๊าซที่อัดอยู่ในลูกโป่ง
และระเบิดต่อเนื่องอย่างไม่หยุดอีกนับล้านปี
 
 
เมื่อดวงอาทิตย์ขยายตัวใหญ่ขึ้นกว่าเดิม ทำให้ระยะทางระหว่างดวงอาทิตย์กับ
โลกสั้นลง 100 เท่า เท่ากับโลกจะได้รับความร้อนเพิ่มขึ้น 100 เท่าเป็นอย่างน้อย
อุณหภูมิโลกบริเวณเขตร้อน 30 องศา C ก็จะเพิ่มเป็น 300 องศา C

แหล่งน้ำจะเหือดแห้ง สัตว์ มนุษย์ พืชต่างๆล้มตายลงทั้งหมด ในบรรยากาศเต็ม
ไปด้วยกัมมันตรังสีและขาดแคลนออกซิเจน ชั้นโอโซนถูกทำลายจากรังสีพลัง
ความร้อนโดยสิ้นเชิง กรณีดังกล่าวสิ่งต่างๆที่อยู่บนโลกจะถูกแผดเผาไปทั้งสิ้น

ความร้อนนี้ยังขยายตัวไปยัง ดาวเคราะห์ใกล้เคียงในระบบสุริยะเป็นวงกว้างใหญ่
เป็นการปิดฉากโลกโดยสมบูรณ์แห่งยุคมนุษย์ และสัตว์ที่ใช้ออกซิเจนหายใจ

ถึงแ้ม้หลายคนบอกเรื่องนี้ห่างไกลกว่าทุกเรื่อง ไม่น่าวิตกอะไร อย่างไรคงไม่มี
ชีวิตอยู่ถึงเหตุการณ์นี้แน่ๆ ในทางด้านวิชานั้นประสงค์ให้เกิดความเข้าใจแนวทาง
แห่งธรรมชาติ แม้แต่ในระบบสุริยะที่ยิ่งใหญ่ หรืออาณาเขตแห่งจักรวาลที่ใหญ่
่กว่ามากมาย ก็ไม่มีสิ่งใดคงอยู่ชั่วนิรันดร์ ทุกระบบมีขอบเขตและจุดจบทั้งสิ้น
 
 
อนาคตของโลก อีก 5 พันล้านปี
 
 
อีก 6.5 - 6.7 พันล้านปีนับจากวันนี้ ตำแหน่งโลกก็จะเปลี่ยนแปลง ดาวพุธ ดาวศุกร์ จะหายไป
 
 
ความเป็นไปได้ :

มีโอกาสเกิด 100 % ในระยะ 4.5 - 5 พันล้านปีข้างหน้า

การแก้ไขเหตุการณ์ :

ไม่สามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้

ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และสังคม :

โครงการด้านอวกาศของ NASA และโครงการของสถาบันต่างๆ พยายามศึกษา
แหล่งอาศัยใหม่ของมนุษย์ เช่น บริเวณดวงจันทร์ ยูโรปาของดาวพฤหัส และ
ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆนอกระบบสุริยะ ที่เราี่สามารถดำรงชีพได้ อาจปลอดภัยต่อ
ปรากฏการณ์ดังกล่าว ด้วยการสืบค้น โลกอื่น

เพื่อดำรงเผ่าพันธ์มนุษย์ไว้ ด้วยอาจเตรียมการโครงการ อีกหลายร้อยปีข้างหน้า
นำอาสาสมัครจำนวนหนึ่งไปพร้อมกับยานอวกาศ การเดินทางไปมีเป้าหมายไป
ระยะไกลสู่ระบบสุริยะอื่น เพื่อค้นหาดาวเคราะห์คล้ายโลก เพื่อการตั้งอาณานิคม
ของมนุษย์ขึ้นใหม่

Solar wind effect : กรณีผลกระทบจากพายุสุริยะ

   Solar wind effect : กรณีผลกระทบจากพายุสุริยะ
 
 
กรณีผลกระทบจากพายุสุริยะ
มีโอกาสปรากฏทุก 11 ปี
หรือปรากฏ แบบรุนแรงในอนาคตระยะ 1,000-2,000 ปี


สิ่งที่ได้รับประโยชน์จากพลังงาน ดวงอาทิตย์ อย่างมากมายนั้น แต่แท้จริงแล้ว
ทราบหรือไม่ว่า พลังจากต้นกำเนิดจากดวงอาทิตย์ เป็นกัมมันตรังสีสูงมาก เป็น
อันตรายต่อสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะถูกพัดพามาด้วย พายุสุริยะ (Solar Wind)

ความเข้มข้นสูงของพายุสุริยะ สามารถพัดได้ไปไกลถึง ดาวพฤหัส ด้วยความเร็ว
300 – 800 กิโลเมตรต่อนาที โลกเรารับแรงปะทะจากพายุสุริยะ ตลอดนับพัน
ล้านปี ตั้งแต่โลกกำเนิด แต่ทว่าการปะทะไม่เกิดผลเสียหายต่อโลก ด้วยระบบ
ของโลกมีสนามแม่เหล็ก คอยปกป้องรังสีดังกล่าวจากดวงอาทิตย์

จะนับว่าเป็นเรื่องโชคดี หรือเพราะระบบของธรรมชาติแห่งจักรวาลก็สุดแล้วแต่
การพิจารณา ที่โลกเรามีสนามแม่เหล็กคอยปกป้อง เพราะดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ
บางดวงก็ไม่มีศักยภาพของสนามแม่เหล็กดังเช่นโลกของเรา

รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic radiation) ของดวงอาทิตย์เป็นแหล่ง
ความร้อนของ Plasma (ก๊าซเหลวในสภาพร้อนจัดมาก) พายุสุริยะเป็นต้นเหตุ
ุการเปลี่ยนแปลงมากมายและยังมีอิทธิพลต่อ รังสีคอสมิก (Galactic cosmic
rays) วิ่งผ่านสู่ชั้นบรรยากาศโลกตลอดเวลา

จากการสำรวจพบว่า ทุก 2,000 ปี จะเกิดผลกระทบทำให้ระบบสนามแม่เหล็กโลก
ให้อ่อนแอลง จากอนุภาครังสีคอสมิก (Higher-energy cosmic-ray particles) เจาะทะลุเข้าถึง ชั้นบรรยากาศส่วนกลาง หมายความว่าสามารถเกิดผลกระทบต่อ
สภาพอากาศ บริเวณผิวโลกได้
 
 
สนามแม่เหล็กโลกปกป้องเรา ขณะพายุสุริยะพัดเข้ามา
 
 
พายุสุริยะ ลักษณะเป็นเปลวไฟขนาดใหญ่พัดปะทะโลกอย่างรุนแรง แล้วผ่านไปถึงดาวพฤหัสได้
 
 
เมื่อใกล้โลกพายุสุริยะ (Solar-wind) มีผลกระทบต่ออวกาศ ซึ่งขณะนี้ตรวจพบ
การเปลี่ยนแปลงไป จากปัจจัยแตกต่างกันในบรรยากาศ เช่น เส้นการเดินทาง
ของพายุ อุณหภูมิของบริเวณพื้นผิวที่พายุรวมตัวกันรุนแรงเพียงใด เหล่านั้นเชื่อม
โยงกับอัตราเปลี่ยนค่าของไฟฟ้า ด้วยความเย็นจัด จากความสูงของกลุ่มเมฆซึ่ง
เกิดจากเกร็ดน้ำแข็ง (Ice crystals) แฝงตัวกันอยู่ในเมฆชั้นกลาง

ลักษณะดังกล่าวอาจเกิดในพื้นที่วงกว้าง เป็นไปได้ที่มีกลุ่มหมอกเกิด แนวระดับ
ใกล้พื้นดินจนถึงระดับบน ด้วยอิทธิพลสนามไฟฟ้า (Electric field) ในเมฆเกิด
การไหลเวียนระหว่างชั้นบรรยากาศ กับชั้นใกล้พื้นดิน มีความเป็นไปได้ที่ทำให้
เกิดการเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศ ในการเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้า

นั่นคือผลกระทบต่อโลกถึงแม้ อาจไม่รู้ลึกรุนแรงกับมนุษย์ แต่ก็เป็นสิ่งที่กระทบ
ต่อระบบสื่อสารของดาวเทียม ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่เชื่อมโยงโลก ในนิยาม
ใหม่ว่า พายุอวกาศถล่มโลก
 
 
มหาสมุทรเป็นบริเวณสะสมและถ่ายทอดรังสี ภูเขาน้ำแข็งจากขั้วโลกเหนือลอยสู่มหาสุมทร
ด้านขั้วโลกใต้ จากสภาวะโลกร้อน (เฮลิคอปเตอร์กลุ่มกรีนพีซ บินสำรวจเทียบกับภูเขาน้ำแข็ง)
 
 
อุณหภูมิพื้นผิวมหาสมุทร (สีส้ม สีเหลือง) มีความร้อนสูงในพื้นที่วงกว้างมาก
 
 
การเปลี่ยนแปลงด้านอุตุวิทยา เพราะมีความสัมพันธ์กับปริมาตรรังสีดวงอาทิตย์
กระทบกับโลกอย่างไม่ต้องสงสัย โดยทั่วไปสภาพอากาศของโลกจะรับอิทธิพล
จากมหาสมุทรด้วยพื้นที่น้ำมากกว่าผืนดิน

ฉะนั้น หากมหาสมุทรสะสมแล้วถ่ายทอดรังสีออกมาจำนวนมาก สามารถตรวจพบ
ในระยะเวลา 100 ปี ทุก 11 ปี (Solar magnetic cycle) พายุสุริยะจะแสดงผล
กระทบต่อสภาพอากาศ โลกระยะสั้นๆไม่กี่วันโดยมีแบบอย่างที่ไม่แน่นอน
 
 
แสดงการตรวจความเร็ว พายุสุริยะค่าความเร็ว เป็น Km/s โดยสถาบัน SOHO
 
 
แสดงการตรวจวัด อนุภาคโปรตอนจากดวงอาทิตย์ กระทบต่อโลก
 
 
ภาพแสดง รูปแบบการกำเนิดโปรตรอนจำนวน 30 พันล้านหน่วย
จากเลเซอร์ จุดเล็กๆขนาด 400 ไมครอน
 
 
อนุภาคโปรตรอน (Protons) เมื่อระเบิดบนดวงอาทิตย์ใช้เวลา 30 นาทีเดินทาง
สู่แนวสนามแม่เหล็กโลกแล้วแทรกซึม เข้าชั้นบรรยากาศโลก ในระยะ 1-4 วัน
กลุ่มเมฆหมอกของพายุสุริยะ จะกระทบอย่างแรงกับแนวสนามแม่เหล็กโลก
และหลุดเข้าสู่บรรยากาศโลกบางส่วน เมื่อเข้าสู่ระดับความสูง 100-200 กม.

สิ่งที่เกิดคือ เราจะเห็นเป็นลักษณะแสงเหนือหรือ ออรอร่า(Aurora) ที่สวยงาม
แต่เกิดการรบกวนระบบการสื่อสารดาวเทียมต่างๆในชั้นบรรยากาศ ระบบนำร่ิอง เครื่องบิน เรือเดินสมุทร สัญญาณโทรศัพท์ เกิดสับสนสร้างความเสียหายได้

หากจำนวนมากเข้าสู่ระดับพื้นโลก รังสีจากพายุสุริยะจะทำลาย เซลล์ในร่างกาย
กระทบถึงโครโมโซม (Chromosome) ที่เป็นต้วกำหนดลักษณะพันธุกรรมของ
มุนษย์ ให้มีโอกาสเกิดมะเร็งหรือโรคเกี่ยวกับผิวหนัง อาจมีบางกรณีกระทบถึง
โครงสร้างสมองของมนุษย์ ด้วยความเข้มข้น อนุภาคบางชนิดจากดวงอาทิตย์
ทำให้เกิดอาการปวดหัว ร่างกายมีความร้อนโดยไม่ทราบสาเหตุ

เมื่อ ค.ศ. 1989 ที่ Montreal พายุลมสุริยะพัดเข้าสู่บริเวณนั้น มีผลกระทบต่อ
ระบบไฟฟ้าทั้งเมือง ประชากร 6 ล้านคน ไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ 9 ชั่วโมง นอก
จากนั้นมีผลถึงทางตอนเหนือของอเมริกาและสวีเดน

จากการศึกษาของสถาบัน Union of Radio Science International พบหลักฐาน ชัดเจนว่า รังสีสนามแม่เหล็กจากพายุสุริยะ มีผลการเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่ ระบบ
ชีววิทยาของมนุษย์ (Human biological systems) และพบการเปลี่ยนทิศของ
นกอพยพที่อาศัยเส้นสนามแม่เหล็กโลก ทั้งระบบนำร่องของปลาโลมาและสนาม
แม่เหล็กทำให้เข็มทิศ มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน

ส่วนผลกระทบกับมนุษย์ จากสนามแม่เหล็กพายุสุริยะ อาจมีความเป็นไปได้ใน
ระบบสมองหากมีการเกิดรุนแรงเพิ่มขึ้น ของพายุสุริยะ นี้เพียงเป็นตัวอย่างการค้น
พบผลการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆของโลก จากปรากฏพายุสุริยะผ่านเข้าสู่โลก
ปริมาณไม่มาก หากอนาคตมีมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาี่อาจแสดงผลกว้างขวางมาก
กว่าเดิมหลายร้อยเท่า
 
 
 
แสงออรอร่าเกิดจากอนุภาคมากับ พายุสุริยะ
 
 
เมื่อ ค.ศ. 1989 ได้เกิดกับมนุษย์อวกาศ ขณะสำรวจดวงจันทร์ พายุสุริยะพัดผ่านทำให้ชุดอวกาศ
(Space suit) ถูกเผาไหม้จนขาดทั้งที่ ชุดอวกาศได้รับการออกแบบสำหรับป้องกันรังสีต่างๆอย่างดี
การเกิดดังกล่าวมีโอกาสให้มนุษย์อวกาศอาจเสียชีวิตได้ ปัจจุบันชุดอวกาศออกแบบใหม่
หนา 13 ชั้น ประมาณ 9 ซม.หนัก 140 กก. ราคาชุด 42 ล้านบาท เพื่อปกป้องรังสีรุนแรงได้
 
 
ความเป็นไปได้ :

แน่นอนที่สุดมีการเกิดทุกๆ 11 ปี เพียงระยะสั้นๆ หากยังลดปัญหาสภาวะปฏิกิริยา
เรือนกระจกไม่ได้ผล จะเป็นการเร่งโอกาสเกิดแบบถาวรและรุนแรง มีแนวโน้มสูง
ขึ้นตามลำดับ ในระยะ 1,000 - 2,000 ปี

ประการแรกมนุษย์จะประสบปัญหาในการสื่อสารต่างๆทำให้โลกชะงักไปแล้ว
อันดับต่อมา ห่วงโซ่ระบบต่างๆของมนุษย์และสัตว์เกิดปัญหาใหญ่ด้วยการสะสม
รังสีในระบบร่างกายที่ได้รับจาก น้ำ อาหาร โรคชนิดใหม่อาจเกิดขึ้น เช่น ภูมิแพ้
รังสี ภูมิแพ้แสงดวงอาทิตย์

ปัจจัยที่ยิ่งใหญ่คือ ผลกระทบต่อสนามแม่เหล็กโลก เชื่อว่ามีความเป็นไปได้ของ
การส่งผลสลับทิศทางขั้วโลก สถิติโลกสลับขั้วเฉลี่ยจะเกิดทุก 600,000 ปี จาก
โลกกำเนิดมาแล้ว 4.6 พันล้านปี การสลับขั้วโลกครั้งล่าสุดผ่านมาแล้วประมาณ
200,000 ปี

การเกิดโลกร้อนมี การละลายของน้ำแข็งขั้วโลก กับเกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก
สภาพอากาศโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก จะทำให้โลกมีปัญหาการหมุนรอบ
ตัวเองช้าจากปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น ตามแนวถ่วงของเส้นศูนย์สูตรเป็นองค์ประกอบ
เชื่อมโยงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไปสู่ระบบสนามแม่เหล็กโลกให้อ่อนแอลงไปอีก
เป็นผลให้การต่อต้านพายุสุริยะ ไม่สมบูรณ์ดังเดิมเหมือนอดีต

การแก้ไขเหตุการณ์ :

เร่งแก้ไขปฏิกิริยาเรือนกระจก ร่วมมือใช้ทรัพยากรโลกอย่างประหยัดตามความ
จำเป็น ดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง หาวิธีต่อต้านรังสี จากพายุสุริยะด้วยวิธี
พัฒนาการระบบของมุนษย์โดยหลักธรรมชาต ิอาจจะรอดพ้นวิกฤตดังกล่าวได้
มิฉะนั้นอนาคต ต้องใส่ชุดอวกาศทั้งที่อยู่บนโลก หรือต้องหยุดการเดินทางโดย
เครื่องบินอย่างสิ้นเชิง เมื่อโลกในอนาคตมีฤดูพายุสุริยะเกิดขึ้น

ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และสังคม :

ปัจจุบันโครงการ Soho (จัดตั้งเมื่อปี 1995) เป็นความร่วมมือของ NASA - ESA
(European Space Agency) ส่งยานอวกาศเฝ้าระวังและตรวจสภาพผลกระทบ
ดวงอาทิตย์กับโลก โดยบันทึกรายงานความเร็ว ความหนาแน่นของพายุสุริยะที่
พัดผ่านตลอด 24 ชั่วโมง ทำการวิเคราะห์ผล ระยะยาวเพื่อเตรียมความพร้อม

Greenhouse effect : กรณีผลกระทบจากปฎิกิริยาเรือนกระจก

   Greenhouse effect : กรณีผลกระทบจากปฎิกิริยาเรือนกระจก
 
 
กรณีผลกระทบจากปฏิกิริยาเรือนกระจกแบบชัดเจน
มีโอกาสจะปรากฏในอนาคตระยะ 100 -300 ปี


วันนี้ นักวิทยาศาสตร์ในแขนงต่างๆ และนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เริ่มตระหนักถึง
ปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับโลก ด้วยสภาพแวดล้อมแปรเปลี่ยนไป ทีละเล็กทีละน้อย
และจนรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ด้วยมนุษย์นำทรัพยากรจากโลกขึ้นมาใช้

การนำมาสังเคราะห์ กระบวนการต่างๆ ส่วนที่เหลือ ถูกปลดปล่อยออกมาในรูป
สารเคมี คาร์บอนไดออกไซด์ กลุ่มควัน กลุ่มก๊าซจากโรงงานอุตสาหกรรมนับ
ล้านๆแห่ง ควันจากไอเสียรถยนต์ นับหลายร้อยล้านคัน หรือแม้แต่สเปรย์ต่างๆ
ใช้ในบ้าน จนสังคมเมืองใหญ่เกิดมลพิษ

สารเหล่านี้ไม่สลายตัว กลับรวมตัวลอยสู่ ชั้นบรรยากาศห่อหุ้มโลกไว้ เรียกว่า
ก๊าซเรือนกระจก เปรียบเสมือนโลกอยู่ท่ามกลางโดมแก้ว หรือห้องกระจกขนาด
ขนาดใหญ่ นับวันห้องกระจกนี้ ก็เพิ่มความหนาแน่นขึ้นเรื่อย ๆ
 
 
การเกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก
 
 
แสดงความร้อนบนพื้นผิวโลก ปี ค.ศ. 2006
 
 
ขณะี่ชีวิตต่างๆ ดำเนินไปตามปกติ แสงจาก ดวงอาทิตย์  มีรังสีอุตตร้าไวโอเลท
(รังสี UV - Ultraviolet radiation) ส่องมาปะทะพื้นผิวโลก ตามปกติเช่นกันและ
ได้สะท้อน กลับสู่อากาศ บางส่วนหลุดออกสู่อวกาศ แสงสะท้อนเหลือบางส่วน
ไปปะทะกับชั้นบรรยากาศโลก โดยก๊าซเรือนกระจกสะสมขวางกั้นไว้ รังสีต่างๆ
สะท้อนกลับลงสู่ผิวโลกอีกครั้งหนึ่งลักษณะดังกล่าว สภาวะปฏิกิริยาเรือนกระจก

ดังนั้นพื้นผิวโลกได้รับความร้อนเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า รังสีดังกล่าวส่งผลกระทบไป
ยังแหล่งน้ำทำให้สัตว์และพืชในน้ำ มีปัญหาการเจริญเติบโต ส่งผลกระทบยังพืช
พันธ์บนผิวดิน ทำให้ผลผลิตต่ำและตาย ยังมีผลกระทบต่อมนุษย์ทำให้สามารถ
เกิดมะเร็งผิวหนังได้ง่ายขึ้น

ปฏิกิริยาเรือนกระจกทำให้ ก๊าซมีเ็ทนถูกปล่อยออกมากขึ้น จึงขาดแคลนก๊าซ
ออกซิเจนในชั้นบรรยากาศ ก๊าซมีเทนเป็นต้นเหตุ การทำลายระบบนิเวศของพืช
ใต้ผิวดินน้ำเน่าเสีย เชื่อว่าจะส่งผลต่อเนื่องไปอีก 200 ปี

จากการสำรวจ ปี ค.ศ. 1990 พบว่า มีปริมาณก๊าซ มีเท็น 4 : 1,000,000 ส่วน
ปี 1980 มี 12 : 1,000,000 ส่วน ปี 2006 พบว่ามีถึง 1,780 : 1,000,000 ส่วน
นับว่าอยู่ในระดับอันตรายต่อโลกสูงสุด แบบไม่เคยมีมาก่อน ตลอดเวลาผ่านมา
800,000 ปี ไม่เคยเกินกว่า 750 : 1,000,000 ส่วน

พร้อมๆกับบนพื้นผิวโลกมีการพัฒนา การก่อสร้างเมืองขนาดใหญ่มากขึ้น พื้นผิว
ถูกปิดกั้นด้วยถนนคอนกรีต ผิวดินที่ปกคลุมด้วยต้นไม้น้อยลง ป่าเริ่มน้อยลง คือ
องค์ประกอบเสริม ที่พร้อมจะทำให้โลก เปลี่ยนแปลงทุกด้านไปพร้อมกัน
 
 
ก็าซมีเทน ทำให้น้ำบนโลกเน่าเสียอย่างกว้างขวาง ขณะนี้เกิดขึ้นแล้ว
 
 
มนุษย์จะพบกับมะเร็งผิวหนังง่ายกว่าเดิม จากรังสีอุคร้าไวโอเลทที่เข้มข้น
 
 
สัตว์และพืชในมหาสมุทร (Marine organisms) รับผลกระทบจาก รังสีอุคร้าไวโอเลท
สะ ท้อนกลับ ลงมาเพิ่มขึ้น ซ้าย สภาพที่สมบูรณ์ ขวา สภาพที่ถูกรังสี (ก่อนเจริญพันธ์)
 
 
ผลกระทบในสัตว์ สะเทินน้ำสะเทินบก จากการสะสมรังสีอุคร้าไวโอเลท
 
  นอกจากนั้น โลกสะสมความร้อนเพิ่มขึ้นโดย ไม่มีทางระบายสู่ชั้นบรรยากาศได้
ตามปกติพื้นผิวน้ำแข็ง ได้รับอุณหภูมิสูงก็เกิดการละลายเพิ่ม (โลกมีพื้นที่เป็นน้ำ
และน้ำแข็ง 70 %) ปริมาณน้ำย่อมมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

ส่วนผิวน้ำในมหาสมุทร อุณหภูมิความร้อนสูงขึ้นเช่นกัน ทำให้เกิดพายุไซโคลน
ขนาดใหญ่มากขึ้นและถี่ เกิดฝนตกมาก ก็ยิ่งเพิ่มปริมาณน้ำมากขึ้นตามลำดับ

ทำให้พื้นผิวดินน้อยลง หรือเริ่มต้นเกิดสภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มมากขึ้น การแปร
ปรวนด้านอุณหภูมิของโลก ทำให้ฤดูกาลเริ่มเปลี่ยนแปลงอาจมีผลกระทบต่อ
ระบบสนามแม่เหล็กโลก มีรายงานว่าสนามแม่เหล็กโลก กลับขั้วแล้ว 170 ครั้ง
อดีตครั้งสุดท้ายเกิด เมื่อ 700,000 ปีมาแล้ว ขณะนี้มีความเปลี่ยนแปลง 10%

ทำให้เราพบกับความแปรปรวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก่อให้เกิดการเสียชีวิตของมนุษย์
ในรูปแบบใหม่ เช่น เสียชีวิตจากความร้อนจัด (ร้อนตาย) เสียชีวิตจากจมน้ำด้วย
โคลนถล่มในบางพื้นที่ ด้วยการที่ภัยพิบัติเกิดอย่างกะทันหัน อย่างมากมาย

แม้ว่าการเกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก เป็นปัจจัยพื้นฐาน แต่ไม่สามารถลดปริมาณได้
การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลก จะเปลี่ยนแปลงมากขึ้นแบบทวีคูณเป็นลูกโซ่
จากปริมาณน้ำมากเพราะฝนพายุมาก ไอน้ำในอากาศก็จะมากตาม และเมื่อไอน้ำ
มากสะสมสู่บรรยากาศ ฝนก็จะตกมากขึ้นไปอีก ขอบเขตอิทธิพลพายุจะใหญ่โต
มากและรุนแรงขึ้นไปเรื่อย

สุดท้ายการเกิดเช่นนี้ สะสมนานนับหลายร้อยปี โลกอาจเหลือเพียงฤดูฝนเพียง
ฤดูเดียว เช่น เหมือนกับการเกิดขึ้น ครั้นกำเนิดโลกยุคต้น ก็เป็นได้ เพราะฉะนั้น
หากเกิดแล้วแก้ไขไม่ได้ เป็นเรื่องร้ายแรงมากส่งผลต่อ ความเป็นอยู่ของมนุษย์
อย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้เลย
 
 
การระเบิดของภูเขา Pinatubo ปี 1991 เพียงไม่กี่วัน
แต่ไม่น่าเชื่อที่มีผลกระทบต่อระบบชั้นผลิตโอโซนของโลก มากกว่า 1 ล้านปี
จากการเพิ่มมากขึ้นของรังสี อุคร้าไวโอเลท โดยไม่สามารถแก้ไขกลับคืนมาได้
แล้วควันพิษจากรถยนต์เราที่เพิ่มขึ้นทุกวันล่ะ ?
 
 
ผลกระทบเรือนกระจกได้เกิดบนดาวศุกร์ มานานแล้วและกำลังค่อยๆเกิดบนโลก
 
 
อนาคตโลกจะต้องพบกับมรสุมการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่สิ้นสุด แล้วสิ่งที่แสดง
ผลกระทบจากพายุขนาดใหญ่ น้ำท่วมแผ่นดินเคลื่อนตัว สัตว์พืช สภาพอากาศที่
สมบูรณ์จะขาดแคลนลงทวีคูณตามลำดับ

สามารถทำให้มนุษย์เดือดร้อนอดยาก จากการถูกทำลายไปที่ละน้อยๆและเรื่อง
นี้เป็นเรื่องใหญ่ที่สุดของโลก เราเอากลับใจใส่น้อยมากเพราะรู้ลึกว่าไกลตัว
แต่ข้อเท็จจริงเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันเราทั้งสิ้น โปรดเริ่มช่วยกันตั้งแต่เดี๋ยวนี้

รายงานผลจาก การทดสอบแบบจำลองสถานการณ์จากหลายสถาบันมากมาย
เช่น ภายในปี พ.ศ.2568 ประชากรโลก 2 ใน 3 จะขาดแคลนน้ำเนื่องจากเน่าเสีย
ด้วยสภาวะปฏิกิริยาเรือนกระจก และจากการเพิ่มของจำนวนประชากร

หากมีการเกิดแบบชัดเจนแล้ว สภาพท้องฟ้าตลอดทั้งวันจะมี สีแดงอมส้มมอง
ท้องฟ้าจะเห็นกลุ่มหมอก เป็นสีเทาดำ มีแสงจ้าจากการะท้อนอย่างรุนแรงทำให้
แสบตาจากการมองท้องฟ้าทั้งๆี่เมฆดำ

นอกเหนือจากนั้นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศมีผลโดยตรงต่อ
สภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ เกิดการผันแปรของฤดูกาลกระทบต่อการเกษตร
บางพื้นที่ร้อนจัด แห้งแล้ง บางพื้นที่หนาวจัดและบางพื้นที่ฝนตกชุก เกิดอุทกภัย
น้ำท่วม แพร่ระบาดของเชื้อโรคใหม่ มนุษย์ขาดภูมิคุ้มกัน

ท้ายที่สุดเมื่อผืนดินมีข้อจำกัดเรื่องการเพาะปลูก จากฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไป
เกิดการแย่งชิงทรัพยากร แหล่งเพาะปลูก แย่งชิงแหล่งที่อยู่อาศัย ก็จะกลายเป็น
สถานการณ์สงครามเศรษฐกิจ เพิ่มความอดอยากของประชากรโลก
 
 
สภาพการละลายของน้ำแข็งขั้วโลก ในปัจจุบัน (แนวเส้นสีแดงเป็นแนวน้ำแข็งเมื่อ ปี 1979)
 
 
ถ้าไม่ร่วมกันแก้ไข อนาคตโลกอาจจะมีบรรยากาศเช่นนี้
 
 
ความเป็นไปได้ :

ปัจจุบันกิดขึ้นแล้ว หากไม่มีการร่วมมือแก้ไข โอกาสก็จะเพิ่มผลกระทบมากขึ้น
เรื่อยๆ คาดว่าจะเห็นภาพชัดเจน ของปัญหาในระยะ 100 – 300 ปี ข้างหน้าโดย
จะยิ่งแก้ไขยากขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดเกิดแก่งแย่ง ทรัพยากรธรรมชาติ แก่งแย่งพื้น
แผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์กว่า ซึ่งเหลือน้อยลง

ผลผลิตอาหารสำหรับประชากรโลก เริ่มขาดแคลน พร้อมกับแผ่นดินที่ลุ่มบริเวณ
ชายฝั่งทะเล ถูกน้ำท่วมสูงไปเรื่อยๆ เฉลี่ยปีละ 1- 3 ซม.หรือมากกว่านั้น หากแปร
ปรวนแบบทวีคูณ ภาพปัญหาที่เห็น เด่นชัดชัดขึ้นดัง เช่น ผลกระทบจากมลพิษ
คลื่นพายุถล่มชายฝั่ง อุทกภัยใหม่การแตกของแผ่นน้ำแข็ง เป็นต้น

การแก้ไขเหตุการณ์ :


สามารถแก้ไขได้ โดยร่วมมือกันลดการใช้สารเคมีที่มี ปฏิกิริยาเรือนกระจกและ
เพิ่มเติมการปลูกป่า สร้างความชุ่มชื้นให้ผิวดินอย่างจริงจัง ร่วมมือใช้ทรัพยากร
โลกอย่างประหยัดตามความจำเป็น เช่น

ลดปริมาณการใช้สิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ตัวเราเองในชีวิตประจำวันบ้าง ช่วยให้
สิ่งนั้นผลิตออกจากโรงงานน้อยลง เมื่อโรงงานต่างผลิตน้อยลง การสิ้นเปลืองด้าน
ธรรมชาติและพลังงานก็น้อยลงตาม ควรยึดหลักดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง
จะช่วยแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่ง

ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และสังคม :

นักวิทยาศาสตร์ พยายามคิดและปรับปรุง ส่วนประกอบของสารเคมีที่ใช้ในด้าน
อุตสาหกรรมเพื่อลดปัญหาผลกระทบ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพยายามรณรงค์
แก้วิกฤตกาลทั้งทางตรงและทางอ้อม สิ่งสำคัญคือการลดการใช้พลังงาน เช่น
น้ำมัน ก็าซ ไฟฟ้า เป็นต้น