Volcanic Activity : กรณีผลกระทบ จากการระเบิดของภูเขาไฟ

   Volcanic Activity : กรณีผลกระทบ จากการระเบิดของภูเขาไฟ
 
 
กรณีผลกระทบ จากการระเบิดของภูเขาไฟ
มีโอกาสจะปรากฏ 100 %
สามารถทราบก่อนจากการแจ้งเตือนล่วงหน้าระยะสั้น


โลกของเรานั้นภายในยังเต็มไปด้วย หินหลอมละลาย ลาวา บริเวณแกนชั้นใน
โดยมีความร้อนสูงมาก (โลกมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 12,000 กิโลเมตร)
ส่วนผิวเปลือกโลกที่เราสร้างบ้านเรือน อาศัยอยู่มีความหนาเพียง 30 – 60 ก.ม.
เท่านั้นและเป็นส่วนที่เย็นลงแล้ว

บนผิวเปลือกโลกมี ภูเขาไฟ ประมาณ 7,000 แห่ง มีเป็นจำนวนมากที่มีปฎิกิริยา
หรืออาจเรียกว่ายังมีชีวิตอยู่รอวันปะทุ บางแห่งมีขนาดใหญ่ อยู่ใกล้เขตอยู่อาศัย
หนาแน่น เช่น ภูเขาไฟ Vesuvius ประเทศอิตาลี และ ภูเขาไฟ ST. Helens ใน
ประเทศอเมริกา ภูเขาไฟบางแห่งตั้งอยู่บนรอยแตกของเปลือกโลก มีโอกาสสูง
ภูเขาไฟขนาดใหญ่เหล่านั้นเกิดคืนชีพระเบิดออกมาด้วย แรงดันจากภายในแกน
ที่ยังเต็มไปด้วย หินหนืด และลาวา

หากมีการระเบิดของภูเขาไฟขนาดใหญ่แล้ว ชั้นบรรยากาศก็จะเต็มไปด้วยกลุ่ม
หมอกควันของสะเก็ดหินเล็กๆของภูเขาไฟ ล่องลอยปกคลุมไปทั่วโลกจะบดบัง
แสงสว่างจากอาทิตย์

บางส่วนของโลก เกิดสภาวะเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ทำให้เย็นลงอย่าง
กะทันหัน ผิวดินไม่สามารถเพาะปลูกได้ แหล่งน้ำไม่ สามารถใช้ดื่มกินได้เต็มไป
ด้วยเถ้าถ่านมาก หลังจากนั้นก็จะเกิดสภาวะฝนกรด ระบบหายใจของสัตว์และ
มนุษย์ประสบปัญหา

หากเกิดการระเบิดของภูเขาไฟ ที่อยู่ใต้ทะเลก็จะเกิดแรงกระเพื่อมของน้ำอย่าง
รุนแรงทำให้เกิดคลื่นซึนามิขนาดใหญ่ วิ่งปะทะชายฝั่งเกิดน้ำท่วมแบบฉับพลันลึก
เข้าไปในแผ่นดินหลายสิบกิโลเมตรได้
 
 
เถ้าถ่านและฝุ่นหินจะลอยไปทั่วโลก หากเป็นภูเขาไฟขนาดใหญ่ระเบิด
มีผลกระทบด้านสภาพอากาศและระบบนิเวศ ในวงกว้าง
 
 
แนวเส้นและจุดแดงในแผนที่คือ ตำแหน่งการระเบิดของภูเขาไฟ ในระยะเวลา 1 ล้านปีที่ผ่านมา
 
 
จากประวัติที่มีการบันทึกความเสียหายไว้นั้น ภูเขาไฟ Vesuvius โดย สร้างความ
เสียหายต่อเมืองปอมเปย์อี ผู้คนเสียชีวิตทั้งเมือง ปี ค.ศ. 79 เหตุการณ์ระเบิดของ
ภูเขาไฟ Krakatoa ในอินโดนิเซีย เมื่อ ค.ศ. 1883 ทำให้เกิดซึนามิแล้ว

ครั้งแรก มีคนเสียชีวิต 36,000 คน การเกิดครั้งที่สองมื่อ ค.ศ. 2005 กระทบถึง
ประเทศไทย มีผู้คนเสียชีวิตกว่า 200,000 คนทั่วโลกและค.ศ. 1992 การระเบิด
ของภูเขาไฟ Pinatubo ใน ฟิลิปปินส์ทำให้มีคนเสียชีวิต 250,000 คน
 
 
ภูเขาไฟ Kilauea ในฮาวาย
 
 
แนวไหลของลาวา ภูเขาไฟ Kilauea
 
 
ด้วยความเข้าใจสภาพธรรมชาติ ของภูเขาไฟมากขึ้น และความก้าวหน้าทันสมัย
ด้าน เครื่องมือตรวจสภาพการสั่นสะเทือน ส่วนลึกใต้ผิวดิน ทำให้การเฝ้าระวังผล
กระทบเรื่องภูเขาไฟมีความแม่นยำมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามก็สามารถแจ้งเตือน
ภัยได้ล่วงหน้าได้

แม้ว่าดูเหมือนการระเบิดของภูเขาไฟ ที่ผ่านมา มีขอบเขตไม่เป็นวงกว้างนักโดย
เฉพาะแถบประเทศไทย ไม่มีภูเขาไฟประเภทสามารถ มีปฎิกิริยาอีกก็ตาม

ผลกระทบที่ยังหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ แผ่นดินไหวหรือซึนามิ ซึ่งเป็นสาเหตจากการ
การระเบิด หรือการเคลื่อนตัว ของแนวภูเขาไฟใต้มหาสมุทรได้เช่นกัน

ความเป็นจริงหากนึกถึงโลก เปรียบเหมือนลูกแตงโม จะเข้าใจได้ทันทีว่าเปลือก
วสีเขียวบางๆเป็นเปลือกโลก ส่วนภายในเนื้อสีแดงภายในคือ ส่วนที่มีความร้อน
เช่น หินหนืด ลาวา พร้อมจะดันทะลุไหลเย้ม ออกมาจากเปลือกผิวที่แตกได้
ตลอดเวลา ซึ่งเดิมที ครั้นกำเนิดโลกยุคต้น เต็มไปด้วหินร้อน เช่นภูเขาไฟ
 
 
การตรวจสอบด้วยดาวเทียม ของ NASA
 
 
ภูเขาไฟ Klyuchevskaya Sopka ระเบิดเตือนเมื่อปี 1993 มีบ้านเรือนตั้งอยู่ห่าง 40 กม.
 
 
บริเวณเกาะ Northern Mariana Island ระเบิดเตือนตั้งแต่ ปี 2004
 
 
ภูเขาไฟ Montserrat เกาะคาริเบียนพ่น Toxic gases จำนวน 300 ล้าน ลบ.หลา
สร้างความเสียหายประมาณ 300 ครอบครัว เมื่อปี 2003
 
 
ภูเขาไฟ Rainer ใน อเมริการะเบิดเตือน ตั้งแต่ปี 2004 หลังจากที่เคยระเบิดครั้งสุดท้าย
เมื่อ 1,000-2,300 ปีมาแล้ว คาดว่าอาจมีโอกาส ระเบิดอีกใน 500 ปีข้างหน้า
 
 
แสดงขอบเขตการไหลของลาวา และขนาดภูเขาไฟ ที่ระเบิดในอดีต
 
 
แสดงแนวกระเพื่อมของน้ำในมหาสมุทรมีอาณาเขตเป็นวงกว้างกรณีเกิดซึนามิ
จาก การเคลื่อนตัวของแนวแผ่นเปลือกโลกใต้ทะเล ซึ่งเป็นเหตุต่อเนื่องจาก
แรงดันใต้เปลือกโลก บริเวณภูเขาไฟ ประเทศอินโดนีเซีย
 
 
ภูเขาไฟ Strombori ในอิตาลี สร้างความเสียหายจากการพ่นควันและฝุ่นหิน
ประมาณ 450 ครอบครัว สถานที่ตากอากาศเสียหาย 20 แห่ง เมื่อปี 2007
 
 
ความเป็นไปได้ :

มีโอกาสเกิด 100 % ระยะเวลาไม่สามารถทราบล่วงหน้าได้ชัดเจนและแม่นยำนัก
พยากรณ์ได้ล่วงหน้าในระยะสั้นก่อนเกิด โดยสามารถประเมินสถานการณ์ขอบเขต
รุนแรงที่จะเกิดขึ้นได้ ด้วยเทคโนโลยี่เราพอที่จะพยากรณ์ได้ระดับ 70-80 %
ด้วยมีองค์ประกอบที่ซับซ้อน การวิเคราะห์แล้วพยากรณ์ผิดพลาดแล้วประชากร
อาจตื่นตระหนก จนเกิดผลเสียหายได้

การแก้ไขเหตุการณ์ :

ควรตั้งถิ่นฐานห่างจุดที่คาดว่าจะเกิด หลีกเหลี่ยงบริเวณแนวแตกของเปลือกโลก
บริเวณภูเขาไฟที่ยังมีปฏิกิริยาด้านธรณีวิทยาของโลก และอพยพทันทีที่ได้รับ
การแจ้งเตือนภัย แต่การเลือกตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่ปลอดภัยไม่ได้หมายความว่า

จะหลีกเลี่ยงผลกระทบได้ เพราะควันหมอกของการระเบิดขนาดใหญ่จะลอยไป
อย่างน้อยครึ่งโลก หรือมีการวิเคราะห์กันไว้ว่า หากเกิดระเบิดของภูเขาไฟที่ตั้งอยู่
บริเวณริมทะเล เมื่อระเบิดแล้วอาจมีแผ่นดินแยก ทำให้หินขนาดใหญ่ทั้งภูเขาหล่น
กระแทกลงสู่ทะเลอย่างแรง ผลทำให้เกิดการกระเพื่อมรุนแรงของผิวน้ำก่อให้เกิด
คลื่นยักษ์ซึน่ามิ กระทบสู่ฝั่งมหาสมุทรอีกฟากได้

ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และสังคม :

ปัจจุบันมีสถานีสังเกตการณ์เฝ้าระวังภูเขาไฟหลายแห่งในทวีปต่างๆ อย่างทั่วถึงใน
ในเขตประชากรหนาแน่น แต่เราก็ยังไม่เข้าใจระบบของภูเขาอย่างชัดแจ้งในวิชา
ด้านภูเขาไฟวิทยา เพราะได้เริ่มศึกษาเรื่องนี้เพียง 100 ปี ที่ผ่านมาเท่านั้น