Asteroid Impact Craters on Earth : บันทึกประวัติศาสตร์ ดาวเคราะห์น้อยถล่มโลก

 
   Asteroid Impact Craters on Earth :
   บันทึกประวัติศาสตร์ ดาวเคราะห์น้อยถล่มโลก
 
 
 
ในระบบสุริยะนั้น มีดาวเคราะห์น้อย (Asteroids) อยู่เป็นจำนวนมากนับล้านดวง
แต่ละดวงต่างมีทางโคจรตามกันเป็นกลุ่มๆ เช่น กลุ่มดาวเคราะห์น้อยอาเมอร์
(Amor Asteroids), กลุ่มดาวเคราะห์น้อยอพอลโล (Apollo Asteroids), และ
กลุ่มดาวเคราะห์น้อยเอเธนส์ (Atens Asteroids)

โดยกลุ่มเหล่านี้ เป็นกลุ่มที่โคจร โคจรตัดผ่านโลก หรือเป็นกลุ่มที่โคจรใกล้โลก
บางกรณี บางวัตถุ อาจสามารถกระทำอันตรายต่อโลกได้ เรียกว่า วัตถุใกล้โลก
(Near-Earth Objects)

ที่ผ่านมาตั้งแต่บรมยุคกำเนิดโลก กัลป์สมัยมหายุค ขุมนรกแตก (Birth of earth)
เชื่อว่าโลก ถูกดาวเคราะห์น้อย (Asteroids) หรือ ดาวหาง (Comets) กระหน่ำชน
ถล่มนับครั้งไม่ถ้วน

กรณีดังกล่าวปัจจุบันมีกฎเกณฑ์ และคำอธิบายเพื่อความเข้าใจ ต่อการแจ้งเตือน
เพื่อเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ โดยมีหน่วยงาน เฝ้าระวังวัตถุจากอวกาศ เรียกว่า
Spaceguard Survey ตรวจสอบ ดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลก (Asteroid impacts)
 
 
แผนที่ทางภูมิศาสตร์ แสดงตำแหน่งร่องรอยการอัดชนปะทะโลก ราว 160 แห่ง
 
 
Shock-metamorphic effects
 
 
ทางวิทยาศาสตร์ โดยสถาบัน The Lunar and Planetary Institute ได้ตรวจพบ
และจัดทำแผนที่ทางภูมิศาสตร์ แสดงตำแหน่งร่องรอย การอัดชนปะทะโลกจาก
ครั้นดึกดำบรรพ์ ราว 160 แห่ง

ซึ่งมีหลักฐานชัดแจ้งทางโครงสร้าง จากสถานที่ที่เกิด ผลกระทบจากโดยการชน
อัดปะทะเป็นแอ่ง (Impact craters) และเกิดอาการ Shock-metamorphic effects
(การเปลี่ยนแปลงรูปทรง จากผลกระทบการสะท้านของหิน) และ/หรือ ตรวจพบ องค์ประกอบ หรือร่องรอยซากดั้งเดิมของ อุกกาบาต (Meteoritic) ในบริเวณนั้นๆ
โดยมีแหล่งสถานที่ ถูกชนปะทะบนโลก ที่น่าศึกษาดังนี้
 
 
ร่องรอย 50,000 ปี : Lonar crater
 
Lonar crater มองจากอวกาศ
 
 
ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ ของ Lonar crater
 
 
Lonar crater เกิดขึ้นใน Maharashta ในประเทศ India มีโครงสร้างการอัดปะทะ
เป็นแอ่ง (Impact craters) ขนาดกว้างราว 6,000 ฟุต ลึก 500 ฟุต ปัจจุบันเป็น
ทะเลสาบน้ำเค็ม

ทางธรณีวิทยาตรวจพบว่า บริเวณนั้นปรากฎแร่ Maskelynite (มีลักษณะเป็นแก้ว)
ซึ่งก่อตัวขึ้นจาก การพุ่งชนปะทะด้วยความเร็วสูงมาก (Extremely high-velocity
impacts) มักพบในแหล่งที่ถูกอุกกาบาต ชนปะทะโลก
 
 
Lonar crater ขนาดกว้างราว 6,000 ฟุต ลึก 500 ฟุต
 
 
ที่พักหรูที่สุด สำหรับนักท่องเที่ยว ใกล้กับ Lonar crater
 
 
ร่องรอย 3.7 ล้านปี : Roter Kamm crater
 
Roter Kamm crater
 
 
ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ ของ Roter Kamm crater
 
 
Roter Kamm crater เกิดขึ้นในทะเลทรายประเทศ Namibia มีโครงสร้างการอัด
ปะทะเป็นแอ่ง (Impact craters) ขนาดราว 1.5 ไมล์ สังเกตค่อนข้างยาก เพราะมี
เพียงร่องรอยสันขอบ บางๆเป็นวงกลม และขนาดค่อนข้างเล็ก

เมื่อมองจากอวกาศ ต้องใช้ภาพแบบ Radar จึงจะแสดงความสว่างสันขอบชัดเจน
ขึ้น รอยแต้มสีขาวด้านล่างภาพ คือภูเขา ส่วนพื้นที่สีน้ำตาลเข้ม เป็นร่องรอยของ
ทรายที่ถูกลมหอบ ไปปกคลุมเป็นเนินทราย

บริเวณสีน้ำเงินรอบๆขอบวงแหวน ลักษณะเศษซากของวัตถุที่กระจายตัว ตั้งแต่
แรกจากการอัดปะทะเป็นแอ่ง (Impact craters) ส่วนสีแดงคือหินปูน (Limestone)
และสีเขียวเป็นพืชพันธ์ไม้ชนิดต่างๆ
 
 
มองจากเครื่องบินสูงราว 200 ฟิต จะมองเห็นขอบสัน Roter Kamm crater
 
 
ด้านตะวันตกของ Roter Kamm crater คือมหาสมุทร South Atlantic
 
 
ร่องรอย 140 ล้านปี : Gosses Bluff crater
 
Gosses Bluff crater
 
 
ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ ของ Gosses Bluff crater
 
 
Gosses Bluff crater เกิดขึ้นทางตอนเหนือของประเทศ Australia โดยอยู่กลาง
ทุ่งหญ้าระหว่างวงล้อมของทิวเขา 2 ชั้น ปรากฎเป็นร่องรอย มีโครงสร้างการอัด
ปะทะเป็นแอ่ง (Impact craters) รัศมีราว 22 กิโลเมตร เป็นวงขอบครั้งดั้งเดิมที่
เกิดการชนปะทะ

พบหลักฐานประเภท Shatter cone (หินที่ถูกแรงอัด ด้วยคลื่นสะท้านการพุ่งชน
ปะทะของดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหาง มีรูปทรงกรวยคล้ายหางม้า) ปัจจุบันมีร่อง
รอยมองเห็นเพียง รัศมีราว 5 กิโลเมตร โดยมีขอบสูง 150 เมตร สาเหตุที่หายไป
เพราะจากการกัดเซาะของสภาพอากาศ
 
 
Shatter cone
 
 
Gosses Bluff crater มีจุดศูนย์กลาง อยู่ระหว่างวงล้อมของทิวเขา 2 ชั้น
 
 
แนวขอบฟ้าระยะไกล คือ สันเขาที่เกิด Gosses Bluff crater
 
 
ร่องรอย 210 ล้านปี : Manicouagan Crater
 
Manicouagan Crater
 
 
Manicouagan Crater
 
 
Manicouagan Crater เกิดขึ้นทางตอนเหนือของประเทศ Canada นับว่าขนาด
ใหญ่มากแห่งหนึ่งเท่าที่มีข้อมูลขณะนี้ ช่วงการเกิดขึ้นเป็นยุค Triassic period
ซึ่งเป็นช่วงที่สันนิฐานว่า แผ่นดินทั้งหมดของโลก แผ่ติดกันเป็นทวีปอันกว้างใหญ่
และเป็นจุดจบของยุคดังกล่าว ทำให้ดับสูญสายพันธ์สัตว์และพืชบนโลกราว 60%

การอัดปะทะเป็นแอ่ง (Impact craters) สร้างสรรให้เกิดทะเลสาบ Manicouagan
เป็นแนวเส้นทำให้เห็น โครงสร้างร่องรอย การอัดปะทะอย่างชัดเจน ตรงกลางมี
ตะกอนดิน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 100 กิโลเมตร จากการเกิดขึ้นในครั้งแรก

ภายหลังถูกกัดเซาะ เส้นผ่าศูนย์กลาง คงเหลือเพียง 72 กิโลเมตร ปัจจุบันทะเล
สาบ Manicouagan เป็นแหล่งตกปลา Salmon ที่มีชื่อเสียง นอกจากนั้นยังถูก
สร้างเป็นเขื่อน Daniel-Johnson ประเภท Hydroelectric (ใช้พลังน้ำผลิตกระแส
ไฟฟ้า) ขนาดใหญ่ ยาว 1,300 เมตร สูง 214 เมตร มีพื้นที่กักน้ำ 2,000 ตร.กม.
ความสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 2,592 MW
 
 
ทะเลสาบ Manicouagan
 
 
เขื่อน Daniel-Johnson ประเภท Hydroelectric
 
 
ร่องรอย 290 ล้านปี : Clearwater Lakes
 
Clearwater Lakes
 
 
ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ ของ Clearwater Lakes
 
 
Clearwater Lakes เกิดขึ้นในเขต Quebec ประเทศ Canada มีโครงสร้างจาก
การอัดปะทะเป็นแอ่งคู่ (Twin impact craters) ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกันแต่แยกกัน
และลักษณะการพุ่งชนปะทะนั้น มีหลุมบ่อเกิดขึ้นเป็นหย่อมๆ เป็นแนวเส้นเรียกว่า
Dotted line พาดผ่านจาก ทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตก เป็นแอ่งหลุมทะเลสาบ
ย่อยๆ อีกหลายแห่ง และได้ก่อให้เกิดแนวเส้นการตกผลึก (Crystalline) ใต้ชั้น
หินแข็งในบริเวณนั้น

Clearwater Lake West คล้ายรูปวงแหวน (ซ้ายบน) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
ราว 10 กม. ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า Clearwater Lake East (ล่างขวา)
 
 
บริเวณทะเลสาบ Clearwater
 
 
แหล่งท่องเที่ยว และผักผ่อนตามแนวลำน้ำ Clearwater
 
 
ร่องรอย 350 ล้านปี : Aorounga crater
 
Aorounga crater
 
 
ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ ของ Aorounga crater
 
 
Aorounga craterเกิดขึ้นในบริเวณทะเลทรายซาฮ่ารา (Sahara Desert) เขตเมือง
Chad ประเทศ Africa มีโครงสร้างจากการอัดปะทะเป็นแอ่ง (Impact craters)
แสดงให้เห็นร่องรอยบนผิวโลก เมื่อมองจากอวกาศ

ลักษณะเป็นแนวสันของหินและทรายอย่างชัดเจน โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด
12.5 กม. สำหรับทางขวางของสันทราย ที่เกิดขึ้นเป็นแนวยาว เรียกว่า Yardangs
คือ ลักษณะการพัดและซัดเซาะ ของลมในทะเลทรายไปในทิศทางเดียวกัน ถือว่า
เป็นสภาพแวดล้อมของทะเลทรายโดยทั่วไป
 
 
ลักษณะของ Yardangs
 
 
เมือง Chad ใกล้กับ Aorounga crater
 
 
ร่องรอย 600-900 ล้านปี : Spider Crater
 
Spider Crater
 
 
ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ ของ Spider crater
 
 
Spider crater เกิดขึ้นบริเวณทางตะวันตก (ตอนบน) ประเทศ Australia พื้นที่
ดังกล่าวเป็นบริเวณเขต Kimberley มีชายฝั่งติดกับมหาสมุทรอินเดีย โดยมีขนาด
กว้างใหญ่ถึง 423,517 ตร.กม. (ใหญ่เป็น 3 เท่าของประเทศอังกฤษ) แต่มีผู้อยู่
อาศัยเพียง 38,000 คน

การอัดปะทะเป็นแอ่ง (Impact craters) ลักษณะสันฐานมีโครงสร้างแปลกและ ประหลาด อย่างชัดเจนคล้ายกับแมงมุม นักธรณีวิทยาค้นพบหลักฐาน Shatter
cone (หินที่ถูกแรงอัด ด้วยคลื่นสะท้าน พุ่งชนปะทะของดาวเคราะห์น้อยหรือดาว
หางมีรูปทรงกรวยคล้ายหางม้า) รอบๆ บริเวณกว้างราว 1,600 ฟุต

ความประหลาด ที่มองเหมือนขาแมงมุมคือ ร่องรอยของแนวหินโดยรอบถูกกัด
เซาะทำให้เกิดความต่างกันของระดับพื้น โดยมีสันแข็งของหินทราย (Sandstone)
ยืนตระหง่าน ต้านลมฝนและสภาพอากาศอยู่อย่างทรหด จึงเกิดเป็นดอนแข็ง
 
 
ร่องรอยของแนวหินโดยรอบถูกกัด เซาะทำให้เกิดความต่างกันของระดับพื้น
 
 
บริเวณเขต Kimberley
 
 
ร่องรอย 1.7 พันล้านปี : Shoemaker crater
 
Shoemaker crater
 
 
ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ ของ Shoemaker crater
 
 
Shoemaker crater ชื่อเป็นทางการคือ Teague crater เกิดขึ้นทางภาคตะวันตก
(ตอนกลาง) ของประเทศ Australia บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ห่างจากเมือง Wiluna
ราว 100 กม.

ลักษณะภาพมองจากอวกาศเป็นจุดด่างขาว บนพื้นผิวคือเกลือในทะเลสาบน้ำเค็ม
แม้ว่าอายุของ การอัดปะทะเป็นแอ่ง (Impact craters) ไม่ชัดเจนนัก อย่างน้อย
เชื่อว่าอายุใกล้เคียง 1.7 พันล้านปี จัดว่าเป็นร่องรอยที่เก่าแก่ที่สุดใน Australia
 
 
เมือง Wiluna
 
 
ร่องรอย 2 พันล้าน ปี : Vredefort Dome
 
Vredefort Dome
 
 
ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ ของ Vredefort Dome
 
 
Vredefort Dome นับว่าเป็นร่องรอยเก่าแก่มาก เห็นเป็นรอยยับย่นของพื้นผิวโลก
เมื่อมองจากอวกาศ มีหลักฐานบ่งชี้ว่า เกิดขึ้นหลังจากโลก เริ่มมีพัฒนาการด้าน
สภาพภูมิอากาศ ร่องรอยดังกล่าวเกิดในประเทศ South Africa ห่างไปทางทิศ
ตะวันตกเฉียงใต้ของเมือง Johannesburg ราว 155 ไมล์
 
 
บริเวณป่าในเขต Vredefort Dome ปัจจุบันนี้
 
 
ทัศนศึกษา Vredefort Dome
 
 
 
References:

NASA Earth Observatory
The Lunar and Planetary Institute

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น