Volcanoes : สำรวจภูเขาไฟ [หน้า 2/3] |
| ||
|
7.Lava dome volcano เกิดจากลาวาจำนวนมาก ไหลท่วมรวมตัวกันเป็นลักษณะกองใหญ่ รอบๆช่องภูเขา ไฟที่ระเบิด |
| ||||||
| ||||||
| ||||||
|
| ||
10.Table mountain volcano เป็นลักษณะเกิดในแอ่งหลุมบนยอดเขา โดยปากปล่องอยู่ต่ำกว่าแนวขอบสันเขา เมื่อเกิดระเบิดฝุ่นผง จะตกลงปกคลุมด้านข้างๆทำให้เกิดแนวระดับเสมอกัน อย่างไรก็ตาม โครงสร้างของภูเขาไฟในแต่ละพื้นที่ มีข้อแตกต่างอีกมาก วิธีการ ศึกษามีความจำเป็น ที่ต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด มีความละเอียด อ่อนของผลกระทบต่างๆธรรมชาติที่ไม่คาดคิด |
| ||
กลไกการทำงานของภูเขาไฟ การระเบิดเกิดจาก ความดันหนาแน่นในส่วน Magma column พยายามจะผลักดัน หาช่องออกสู่ภายนอกด้วยกลไก 2 ประการดังนี้ 1. Exsolution surface บริเวณที่ไม่มีทางออกโดย Magma ถูกกักไว้ในบริเวณนี้ ถูกแยกคั่นไว้ด้วยการระเหยของไอ Magma ลอยอยู่ชั้นบน จากการเดือดเป็นฟอง ของก๊าซอย่างรุนแรง 2. Fragmentation surface บริเวณทางออกบนสุดของ Magma column โดย ก๊าซด้านบนถูกแรงดันจากการเดือดเป็นฟองของ Magma อย่างรวดเร็วเป็นจุดที่ เกิดการแตกกระจายอย่างละเอียดของ Pyroclastic (ผลึกแร่) ด้วยความร้อนสูง มากของก๊าซ เพราะฉะนั้นการขับดัน เพื่อหาทางออกของก๊าซ เปรียบเหมือนการต้มน้ำให้ร้อน (Boiling) จาก Magma เดือด เรียกว่า Vesiculation การขับดันจะเกิดขึ้นจนดัน ออกภายนอกได้นั้นต้องมี ฟองเดือด (Bubbles) ประมาณ 75% ของพื้นที่ช่อง สะสมแมกม่า (Magma column) การปลดปล่อยก๊าซต้องมีช่องที่แคบกว่าขนาด ของ Magma column เพื่อให้เกิดแรงขับดันระเบิด หากบริเวณรอบๆที่เป็นหินที่ไม่ แข็งแรงมั่นคง แรงดันจะระเบิดออกตามช่องนั้นง่ายขึ้น แล้วขยายช่องกว้างขึ้นได้ ตามลำดับ ด้วยความเร็วต่ำกว่าเสียง หรือความเร็วเหนือเสียงสู่ด้านบน เมื่อถูกผลักดันสู่ชั้น Eruption column จะเป็นการส่งต่อสู่ภายนอก ทางกายภาพ และกลไกการเคลื่อนไหว เชื่อว่าการระเบิดของภูเขาไฟมีผลกระทบตั้งแต่ระดับ พื้นผิว ถึงชั้นบรรยากาศระดับ Stratosphere (สูง 11 กิโลเมตรขึ้นไป) ด้วยขบวน การเปลี่ยนแปลง ตามลำดับชั้นดังนี้ 1.ด้วยการผลักดันจาก ชั้น Gas thrust region ภายในมีความหนาแน่นสูงจากช่อง แคบให้แผ่กว้างออกด้วยแรงดันก๊าซ 2.ส่วนชั้น Convective thrust region ที่อยู่เหนือขึ้นไป ยังมีความร้อนจากพลังงาน รวมตัวกับ Ash (เถ้าผงถ่าน) ขับเคลื่อนต่อเนื่อง 3.ชั้น Umbrella region บริเวณเหนือสุดของ Eruption column มีแรงดูดจากลม ที่พัดมาสู่ด้านบนสู่ชั้นบรรยากาศได้ จึงสามารถปกคลุมไปทั่วโลกได้ |
| ||||||
|
| ||
นักภูเขาไฟวิทยาเชื่อว่าอนาคตข้างหน้าอันใกล้นี้ การระเบิดของภูเขาไฟ Vesuvius จะต้องมีการระเบิดขึ้นอีก ภาพจาก Computer simulation Pompeii Eruption แสดงการระเบิดเมื่อ ค.ศ. 79 มีความเร็วของแรงระเบิดในเวลา 5 นาทีไปได้ไกล 7 กิโลเมตร มีผู้เสียชีวิตทันที 3,000 คน ตัวอย่างภัยพิบัติทางธรรมชาติ การระเบิดของภูเขาไฟ อดีตบางส่วน เพื่อเป็นข้อมูล โดยสังเขป |
| ||
| ||
| ||
| ||
อันตรายจากภูเขาไฟ การพยากรณ์เรื่อง การระเบิดของภูเขาไฟ ยังเป็นเรื่องยากที่จะมีความแม่นยำได้ อย่างไรก็ตามสามารถแจ้งเตือนล่วงหน้า ด้วยการตรวจสอบปฏิกิริยาการเคลื่อนไหว จากข้อมูลของสถานีเฝ้าระวัง การระเบิดของภูเขาไฟ ยังปรากฏต่อไปไม่มีวันยุติและไม่ได้หมายความว่าประเทศ ใดไม่มีภูเขาไฟ จะไม่ได้รับอันตรายหรือผลกระทบข้อเท็จจริงเราแบ่งอันตรายที่ เป็นผลลัพธ์ จากการระเบิดของภูเขาไฟไว้ ดังนี้ ก๊าซอันตราย ด้วย Magma มีสถานะเป็นก๊าซได้ เมื่อลอยตัวสู่ชั้นบรรยากาศ ส่วนที่หนักจะตก ลงสู่พื้นดินผสมกับผิวดิน และก๊าซจาก Magma มีคุณสมบัติละลายในของเหลวได้ จึงผสมกับดิน หินแหล่งเพาะปลูก เกิด Sulfur dioxide gas ทำให้ต้นไม้ล้มตาย การระเบิดแต่ละครั้งสามารถกระจายไปไกลถึง 10 กิโลเมตร สามารถคงสภาพได้ นับหลายเดือน ถูกลมพัดพาต่อไป ได้ไกลนับพันกิโลเมตร มีปัญหามลพิษทาง อากาศครอบคลุมทั้งทวีป และยังเกิดหมอกก๊าซ ปิดกั้นแสงจาก ดวงอาทิตย์ ทำให้ การเพาะปลูกหยุดชงัก พืชไร่เสียหาย |
| |||
| |||
|
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น