อุทกภัยใหม่ จากการแตกของแผ่นน้ำแข็งขั้วโลก [หน้า 2/2]

 
  อุทกภัยใหม่ จากการแตกของแผ่นน้ำแข็งขั้วโลก [หน้า 2/2]
 
ตลอดเวลารอบ 1,000 ปีที่ผ่านมา การเกิดจากลักษณะดังกล่าวยังไม่มีผลต่อการเพิ่ม
ของระดับน้ำทะเล เพราะมีความสมดุลยระหว่างการตกของหิมะบนพื้นดินและการระเหย
ของผิวน้ำในทะเล ด้วยอุณหภูมิโลกที่ไม่สูง

แต่บัดนี้ไม่ใช่เช่นนั้นแล้ว ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นที่ละน้อย อยู่ในการเฝ้ามองของ
นักธรณีวิทยาอย่างยาวนาน การเกิดขึ้นในรอบไม่กี่ปีนี้ รวดเร็วจนพลิกตำราแทบไม่ทัน
 
การเฝ้ามองอย่างกังวลใจ ของนักธรณีวิทยา
 
     บริเวณ แผ่นน้ำแข็ง Antarctica ที่น่ากังวลในเรื่องนี้
 
     ภาพนี้ถ่ายใน Southern Ocean New Zealand
 
      แผ่นน้ำแข็ง นับหลายร้อนก้อนใน Southern Ocean New Zealand
 
    การสำรวจพบโดยกลุ่ม Greenpeace ใน Southern Ocean New Zealand
 
    การสำรวจของนักวิทยาศาสตร์ พบใน Southern Ocean New Zealand
 
  ข้อมูลความหายนะจากการละลายของแผ่นน้ำแข็งทั้งโลก 3 แผ่น อย่างละเอียด
โดยนักวิทยาศาสตร์

ส่วนใหญ่ บริเวณใกล้เคียงทะเลที่มีระดับความลึก 300 ฟิต (90 เมตร) มักมีเมือง
ที่ประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น ใกล้เขตดังกล่าว ทุกๆปริมาตรน้ำแข็ง 150 ลบ.ไมล์ มีผลการเปลี่ยนแปลง ต่อระดับน้ำทะเล และระดับพื้นดิน 16 นิ้ว

ถ้าแผ่นน้ำแข็ง West Antarctic ละลายสูญหายไป จะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอีก
19 ฟิต (5.70 เมตร)

ถ้าแผ่นน้ำแข็ง Greenland ละลายสูญหายไป จะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นไปอีก
24 ฟิต (7.20 เมตร)

แต่ถ้าแผ่นน้ำแข็ง East Antarctic ละลายสูญหายไปอีก จะทำให้ระดับน้ำทะเลสูง
ขึ้นอีก 170 ฟิต (51 เมตร)

เมื่อรวมกันทั้งหมดแล้ว ระดับน้ำทะเลของโลกก็จะเพิ่มขึ้น 213 ฟิต (63.90 เมตร)
(บางสถาบัน วิเคราะห์ตัวเลขรวมไว้ระดับสูงสุด 150 ฟิตหรือ 45 เมตร)
 
การวิเคราะห์เพื่อให้เข้าใจปัญหา ตัวอย่างที่ Florida
 
ี้    กรณีศึกษาที่นักวิทยาศาสตร์ยอมรับว่า มีความเป็นไปได
 
ด้วย Florida เป็นพื้นที่ ประชากรหนาแน่น เป็นเมืองชายฝั่งทะเล ที่รู้จักโดยทั่วไป
สามารถเป็นตัวอย่างในกรณีศึกษาได้ตรงกับหลายๆประเทศ ถึงแม้ว่าเป็นตัวอย่าง
ในแบบจำลองก็ตาม คงไม่สามารถปฎิเสธได้อย่างถนัดนัก สำหรับหลายฝ่ายที่อาจ
ไม่เห็นด้วย

เพราะปัจจุบัน โครงสร้างทางธรณีวิทยา ของแผ่นน้ำแข็งได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วคง
ไม่จำเป็นที่ต้องอ้างหลักฐาน สนับสนุนและคัดค้านมากมาย กันอีกจนปวดหัว
 
    ก้อนน้ำแข็ง พบใน Newfoundland coast ประเทศ Canada
   
    ก้อนน้ำแข็ง พบใน Newfoundland coast ประเทศ Canada
 
    ก้อนน้ำแข็ง พบใน Newfoundland coast ประเทศ Canada
 
    ก้อนน้ำแข็ง พบใน Newfoundland coast ประเทศ Canada
 
ภาพก้อนน้ำแข็งที่พบในทะเลแถบ Canada ถือเป็นเรื่องไม่น่าตื่นเต้น เพราะมักมี
ขนาดเล็ก จนมีการทำกิจกรรมทัวร์พาชม โดยเรือท่องเที่ยว

แต่การแตกร้าวของแผ่นน้ำแข็งที่ Larsen B เป็นพื้นที่กว้าง คือ สิ่งบอกเหตุเป็น สัญญาณเตือน ถึงอุทกภัยชนิดใหม่ ทีพร้อมจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง อีกเป็นจำนวนมาก
โดยฉับพลันจากการพังทลายของก้อนน้ำแข็ง

ประเด็นน่าสนใจต่อกรณีนี้คือ บทบาทน้ำ เป็นตัวการเคลื่อนของแผ่นน้ำแข็งเป็น
วงจรมานับล้านปี แต่ที่ผ่านมาขณะนั้นยังมีความสมดุลยจึงเกิดน้อยมากจนไม่รู้ลึก
เปลี่ยนแปลง แต่การพบเห็นครั้งนี้ ย่อมแสดงได้ว่าเป็นขั้นรุนแรงในทางธรณีวิทยา
ชัดเจนมาก

การสำรวจทาง Radar data ด้วยเครื่องบินและดาวเทียม ครั้งแล้วครั้งเล่า ต้องยอม
รับว่ามีสิ่งผิดปกติได้เกิดขึ้น โดยใช้เวลาเพียง 5 สัปดาห์ในการกิดขึ้นแตกพังทลาย
ของแผ่นน้ำแข็งถึง 1,300 ตารางไมล์ หรือ 40% ของ Larsen B

ข้อน่ากังวล อาจส่งผลอย่างรุนแรงและรวดเร็วกว่าที่คิดไว้ อีกประการ คือ บริเวณ
Antarctic Peninsula มีระยะห่างจาก South America ประมาณ 1,000 ไมล์ หาก
ในฤดูร้อน มีอุณหภูมิสูงขึ้นมาก บริเวณ Antarctic Peninsula อาจใช้เวลาพังทลาย
ลงภายใน 10 ปีแทนที่จะเป็นเวลา 50 ปี ตามตัวเลขที่ นักวิทยาศาสตร์ได้ ประเมิน
เอาไว้ก่อนหน้านี้

ต่อความเห็นของนักธรณีบางคน ที่รายงานว่าแผ่นน้ำแข็งอาจใช้เวลา พังทลายลง
ภายในเวลาไม่กี่เดือน ก็ยังมีความไม่เห็นด้วยของนักธรณีด้วยกันเอง ในเรื่องของ
ระยะเวลาแต่อย่างไรก็ตาม ทุกฝ่ายเห็นตรงกันเป็นส่วนใหญ่ว่า มีโอกาสพังทลาย
อีกในอนาคต ด้วยผลกระทบของอุณหภูมิโลก
 
การสำรวจ ตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์
 
    โครงการศึกษาและ สำรวจทางวิทยาศาสตร์ ของ สถาบัน Hamilton College
    ภาพล่างซ้าย น้ำแข็ง ที่มีคราบคล้ำของ Greasing (ของเหลวคล้ายโคลน)
 
     บริเวณ Antarctica ในโครงการสำรวจของสถาบัน Hamilton College
 
       บริเวณ Antarctica ในโครงการสำรวจของสถาบัน Hamilton College
 
การสำรวจทางธรณีวิทยา ทางวิทยาศาสตร์และระบบนิเวศทางทะเล ยังไม่เคยหยุด
ปัจจุบันมีสถานีวิทยาศาสตร์เป็นจำนวนมาก นักวิทยาศาสตร์หลายชาติต่างร่วมมือ
ปักหลัก สืบค้นข้อมูลทุกด้าน ของผลกระทบจากปัญหาโลกร้อน

และคอยรายงานออกมาต่อเนื่องทุกสัปดาห์ ทั้งนี้มีเหตุผลง่ายๆ ที่จะบอกข้อเดียว
คือ ต้องเกิดปัญหาแน่ เพียงแต่ไม่อาจทราบเวลาที่แน่นอน การเฝ้าคอยนั้นเพื่อจะ
ได้มีคำเตือนต่อประชากรโลกได้ทันถ่วงที
 
เยี่ยมชมรายงาน และภาพถ่ายการสำรวจ Antarctica 2005
ของสถาบัน Hamilton College
 
 
 
  References :

The National Science Foundation
NASA Science
The National Snow and Ice Data Center
Antarctic Program at Hamilton College
Glaciologist at the British Antarctic Survey
 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น