Ferociously Earth : โลกสุดโหดร้าย

 
   Ferociously Earth : โลกสุดโหดร้าย
 
    บริเวณพื้นที่ ร้อนที่สุดในโลก
 
Al' Aziziyah ประเทศลิเบีย
   
 
หากกล่าวถึงความร้อน เราได้รับจาก ดวงอาทิตย์ แล้วเกิดประโยชน์ต่อโลกและ
สิ่งมีชีวิตมากมายมหาศาล ไม่ว่ารูปแบบพลังงานหรือแสงสว่าง แต่บางแห่งหรือ
บางโอกาสได้รับมากเกินไป ก็เป็นปัญหาได้ เช่น

เมือง Al' Aziziyah ในประเทศลิเบีย บริเวณทะเลทรายซาฮาร่า วัดอุณหภูมิความ
ร้อนภายในบ้านพักอาศัยได้ 58°C บริเวณภายนอกบ้านได้ 66°C เป็นอุณหภูมิ
ความร้อนบน พื้นผิวที่สูงสุดของโลก เมื่อ 13 กันยายน ค.ศ. 1922

อย่างไรก็ตาม บริเวณพื้นของโลก ยังมีที่ร้อนอีกมากมาย แต่คงไม่ได้บันทึกไว้
อย่างเป็นทางการเพราะโลกมีขนาดใหญ่ พื้นที่เป็นแผ่นดิน 1 ใน 3

โดยหลักเกณฑ์ เราสามารถอาศัยได้ในพื้นที่แบบปกติ คือ Subtropical Zones
(ระหว่างเขตร้อน) ประกอบไปด้วย ต้องมีความร้อนจากดวงอาทิตย์ ไม่มีความ
ชื้นมากมี อุณหภูมิ ราว 5°C-30°C โดยอยู่ด้าน ทางตอนเหนือ หรือทางตอนใต้
เส้นศูนย์สูตรขึ้นไป เช่น ประเทศไทย เป็นต้น

ส่วน Death Valley อยู่ด้านตอนกลางและตะวันออก รัฐแคลิฟอร์เนีย อเมริกา
พื้นที่ความยาว ประมาณ 209 กม. กว้าง 10 - 23 กม. วัดอุณหภูมิความร้อนบน
พื้นผิวถึง 48° C ติดต่อกัน 43 วัน (6 กรกฎาคม -17 สิงหาคม ค.ศ.1917)

ข้อมูล National Weather of USA รายงานไว้เมื่อ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1913
บริเวณ Death Valley อุณภูมิความร้อน 56.7°C นับได้ว่าเป็นอุณหภูมิความร้อน
พื้นผิวที่สูงที่สุดในอเมริกา เพราะบริเวณนั้น อยู่ในตำแหน่ง เส้นรุ้ง 35° เหนือ
เป็นจุดรับแสง จากดวงอาทิตย์ได้ดี ลักษณะพื้นที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล 282 ฟุต
ปริมาณน้ำฝนต่อปีเฉลี่ย 5 ซม. พื้นที่ใกล้เคียงไม่มีแหล่งน้ำใต้ดิน หรือเชื่อมต่อ
กับทะเลเลย จึงมีความร้อนมากกว่าบริเวณอื่น

References:
The Physics Fact book Edited by Glenn Elert
Extreme Science
 
 
Death Valley รัฐแคลิฟอร์เนีย ร้อนที่สุดในสหรัฐอเมริกา
 
   Lake Vostok หนาวเย็นที่สุดของโลก
 
Lake Vostok
 
 
แผ่นน้ำแข็งบริเวณเหนือพื้นที่ Lake Vostok
 
 
การสำรวจใต้ ธารน้ำแข็ง ลึกลงไป 4,000 ม. ในทวีปแอนตาร์กติกา พบทะเลสาบ
ขนาดใหญ่ Lake Vostok ภาษารัสเซียความหมายว่า ทะเลสาบตะวันออก มีขนาด
ความยาว 250 กม.กว้าง 40 กม.และลึก 400 ม. เมื่อ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1983
บริเวณ Lake Vostok วัดอุณหภูมิได้ -89° C เป็นค่าอุณหภูมิความเย็นที่สุดบนโลก

นักวิทยาศาสตร์ได้ให้ความเห็นว่า สภาพภูมิประเทศใต้พื้นผิว ดังกล่าวคล้ายกับ
ดวงจันทร์ยูโรปาบริวาร ของดาวพฤหัส ที่มีมหาสมุทร เป็นน้ำแข็งอยู่ทั่วไป

ในทางวิทยาศาสตร์แล้ว ความหมาย ของบริเวณที่เย็นที่สุด ต้องอยู่บนพื้นดินมี
องค์ประกอบ ของความหนาวเย็น (Coldest) ลมแรง (Windiest) ความสูงไม่มาก
(Highest Continent) โดยทวีปแอนตาร์ติกา มีพื้นที่ความสูง เฉลี่ย 2,300 เมตร
จากระดับน้ำทะเล ปกคลุมด้วยน้ำแข็งมายาวนาน จึงถือได้ว่าเป็นบริเวณพื้นที่หนาว
เย็นที่สุด ในหลักการทางวิทยาศาสตร์

อดีตทวีปแอนตาร์ติกามีแต่ชนชาวพื้นเมืองอาศัยอยู่เป็นพื้นที่ไม่สามารถเข้าถึงได้
ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้า จึงเป็นแหล่งนักวิทยาศาสตร์ทุกชนชาติ เช่น รัสเซีย อังกฤษ อเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อเมริกาใต้

โดยเข้าไป ศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ การสำรวจด้านประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติ โดยเชื่อว่า มนุษย์เราเกิดครั้งแรกที่ทวีปแอนตาร์ติกา ถึง 98%หลังจากที่ได้พัฒนา
การจากปล่องภูเขาไฟใต้ก้นมหาสมุทรนับพันล้านปี

References:
Bruce M. Jakosky, University of Colorado
American Astronomical Society
Extreme Science
 
 
ใต้พื้นน้ำแข็ง ด้านล่างลึกลงไป ประกอบด้วยทะเลสาบ และทางน้ำไหลเชื่อมโยงกัน
เช่นในภาพ หากยกพื้นน้ำแข็งด้านบนออก จะพบเส้นฝอยสีฟ้า คือแม่น้ำอยู่ชั้นใต้ลงไป
 
   Lloro' บริเวณฝนตกชุกมากที่สุดของโลก
 
ที่ตั้งเมือง Lloro' โคลัมเบีย ฝนตกชุกที่สุดในโลก
 
 
ทราบหรือไม่ว่า พายุขนาดใหญ่ 1 ลูก จะมีปริมาตรน้ำฝน ประมาณ 500,000 ตัน
(เทียบเท่าน้ำหนักรถบัสถึง 65,000 คัน) ในเวลา 1 นาที สามารถทำให้มีปริมาตร
น้ำฝนลูกเห็บ หรือหิมะได้ถึง 16 ล้านตัน เป็นข้อมูลตัวเลขที่น่าตกใจ

ทุกครั้งที่เกิดปริมาตรน้ำ อันมหาศาลเหล่านี้ ทำให้เกิดภัยพิบัติได้แบบคาดไม่ถึง
เมือง Lloro' สูงกว่าระดับ น้ำทะเล 69 ม. มีประชากรอาศัยอยู่ ประมาณ 7,000 คน
เป็นพื้นที่มีฝนตกชุกมากที่สุดในโลก สามารถวัดปริมาตรน้ำฝนได้เฉลี่ย 523.6 นิ้ว
ต่อปี หรือเท่ากับ 13 เมตร เป็นปริมาตรที่ตกเป็น 10 เท่าของยุโรป และอเมริกา
ถือว่าฝนตกชุกมากที่สุดของโลก

แม้ว่าปริมาตรฝนมากก็ตาม เมือง Lloro'ไม่ประสบภาวะน้ำท่วม เนื่องจากน้ำไหล
ลงสู่ด้านมหาสมุทรแปซิฟิค และบริเวณแถบพื้นที่ตลอดฝั่งของประเทศโคลัมเบีย
ในอเมริกาใต้มีปริมาณฝนเฉลี่ย 390 นิ้วต่อปี เป็นลักษณะฝนตกชุกตลอดคืนและ กลางวันมีแสงแดด ฝนก็สามารถตกได ้เป็นปรากฏการณ์ที่ปกติ

References:
Royal Meteorological Society, RMetS, UK
David Hosansky, UCAR, Weather Patters Across The World
Wikipedia, English
 
   Arica บริเวณแห้งแล้งที่สุดของโลก
 
Arica เป็นเมืองท่องเที่ยวริมชายฝั่งทะเล
 
 
เมืองที่รับการขนานนามว่าไม่รู้จักฤดูใบไม้ผลิคือ Arica บริเวณทางตอนเหนือของ
ประเทศชิลี ชายแดนติดต่อทางทิศใต้กับประเทศเปรู ซึ่งวัดค่าเฉลี่ยของน้ำฝนได้
0.76 มม.ต่อปี (สถิติในรอบ 59 ปี) นับเป็นพื้นที่แห้งแล้งที่สุดของโลก

เท่าที่ได้บันทึกไว้ 16 สิงหาคม ค.ศ. 1868 Arica ได้ประสบภัยครั้งใหญ่จากคลื่น
ซึนามิ มีคนเสียชีวิตประมาณ 25,000 คน บาดเจ็บจำนวนมาก เป็นพื้นที่ที่มีความ
โชคร้ายทางภัยธรรมชาติเป็นพิเศษ

อาจจะคิดว่าพื้นที่ๆแห้งแล้งที่สุด และเคยประสบภัยธรรมชาติ คงจะดำรงชีวิตด้วย
ความยากลำบาก หาเป็นเช่นนั้น Arica ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเลยกลับ
เป็นเมืองที่มีความเจริญด้านธุรกิจ ด้านท่องเที่ยว มีชาดหาดที่สวยงามและยังเป็น
เมืองปลอดภาษี สำหรับนักท่องเที่ยวอีกด้วยเป็นเมืองท่าที่มีความสำคัญทางภาค
เหนือของประเทศชิลี มีประชากรอยู่อาศัยประมาณ 200,000 คน

จุดน่าสนใจอีกประการหนึ่ง คือ ด้านศิลปะและวัฒนธรรม พบหลักฐาน Rock-Art
(ศิลปะบนก้อนหิน) จากฝีมือมนุษย์ยุคโบราณ อายุ 6,000 ปี มีทั่วไปหลายแห่ง
ในชิลี บางแห่งอยู่บนภูเขาสูง 900 เมตร Arica ก็มีแหล่งวัฒนธรรมดังกล่าวเป็น
โครงการศึกษาของ University of Cambridge

References:
Maarten Van Hoek, Vicnet Projects, Chile
A Part of The New York Time Wikipedi, English
University of Cambridge Projects
 
 
เป็นเมืองท่าที่สำคัญทางตอนเหนือของประเทศ Chile
 
 
Rock-Art
 
   Lituya Bay บริเวณเกิดคลื่นใหญ่ที่สุดของโลก
 
Lituya Bay
 
 
เราคงรู้จักคำว่า Tsunamis ได้ดีเพราะเคยเกิดในประเทศไทย บริเวณชายฝั่งด้าน
ตะวันตกผลเสียหายไปหลายประเทศ Tsunamis เป็นภาษาญี่ปุ่นปัจจุบันยอมรับ
ใช้เป็นศัพท์ในวงการวิทยาศาสตร์ โดยความหมายเป็นลักษณะชนิดหรือประเภท
ของคลื่นที่เกิดขึ้น

จากการปลดปล่อยพลังงานของมหาสมุทร การกระเพื่อมน้ำ (Ripple Effect) มี
สาเหตุจากแผ่นดินไหว (Earthquake) ทำให้พื้นผิวทะเล มีการเคลื่อนตัว หรือ
ภูเขาไฟระเบิด (Volcanic Eruption) หินและลาวา (Lava) กระเด็นตกลงในทะเล
หรือเกิดการเลื่อนตัวของแผ่นดิน (Landslide) ขนาดใหญ่อย่างหนักอย่างหนึ่ง
อย่างใดในสามประการดังกล่าว

ส่วนความรุนแรง ขึ้นอยู่กับขนาด ของวัตถุที่ตกลงสู่ทะเล เปรียบเสมือนเราโยน
ก้อนหินลงบ่อน้ำ จะเกิดคลื่นตามขนาดของก้อนหินที่เราโยนลงไป ในหลักการ
การเกิดคลื่นใหญ่ มีความเร็วได้ ถึง 320 กม./ ชั่วโมง คลื่นสามารถเดินทางไป
ได้ถึงสุดฝั่งทะเลอีกด้าน ของบริเวณการเกิด Tsunamisได้

สำหรับการเกิดครั้งใหญ่ที่สุดของโลก บันทึกไว้เมื่อ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1958
บริเวณแนวหาด Lituya Bay อาลาสก้า สหรัฐอเมริกา มีพื้นที่ความยาว 14.5 กม.
กว้าง 3.2 กม.วัดความสูง ของคลื่นได้ 524 ม. น้ำทะเลไหลเข้าท่วมแผ่นดินลึก
เข้าไป 1.5 กม. ต้นไม้เสียหายนับล้านต้น ด้วยเหตุเกิดจากการเคลื่อนตัวของ
แผ่นดินขนาดใหญ่จำนวน 40 ล้านลูกบาศก์หลา วัดขนาดแรงสั่นสะเทือนได้ 8.3
ริกเตอร์ (บางข้อมูล 7.9 ริกเตอร์) มีผู้เสียชีวิต เพียง 2 คน

References:
Extreme Science
 
 
ค่าแสดงแผ่นดินไหว ทำให้เกิดคลื่น Tsunamis ที่ Lituya Bay

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น