Multiverse : เครือข่าย (หลาย) จักรวาล

 
   Multiverse : เครือข่าย (หลาย) จักรวาล
 
 
 
ความคิดเรื่องจักรวาลอื่น นอกเหนือจักรวาลของเรา ถูกอ้างอิงในแบบต่างๆอย่าง
ไม่เป็นทางการมานับร้อยปี ยุคแห่งการสำรวจจักรวาล ปัจจุบันเริ่มถึงแนวคิด ที่มี
แบบแผนมากขึ้น เชื่อว่าวันข้างหน้า มนุษย์อาจมีเพื่อนบ้านทั้งในจักรวาลนี้และใน
จักรวาลอื่นก็เป็นได้

Multiverse : คำอธิบายแบบเข้าใจง่าย

ความสำคัญเกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ.1895 William James (ชาวอเมริกัน) นักปรัชญา
และนักจิตศาสตร์ ได้ประดิษฐ์คำ คำว่า Multiverse หรือ Meta-universe และ
อธิบายว่า เป็นสมมุติฐานความเป็นไปได้ ในจำนวนมากของจักรวาล (รวมทั้ง
จักรวาลของเรา) ประกอบด้วยทุกสิ่งที่ปรากฎขึ้นด้วยกัน ในทางกายภาพ

ตั้งแต่เรื่อง กาลอวกาศ (Space-time) สันฐานของสสาร (Forms of matter)
พลังงาน และพลังความเคลื่อนไหวของวัตถุ (Energy and momentum) และ
กฎเกณฑ์และค่าคงที่ ด้านฟิสิกส์

โดยโครงสร้างของ Multiverse มีความเป็นธรรมชาติ อยู่ภายใต้ความสัมพันธ์
ระหว่าง ส่วนประกอบที่แตกต่างกันของแต่ละจักรวาล ขึ้นอยู่กับสมมุติฐานที่เป็น
เงื่อนไขในลักษณะเฉพาะ

Multiverses อาจมีสมมุติฐานมาจาก ด้านจักรวาลวิทยา ด้านฟิสิกส์ ร่วมทั้งด้าน
ดาราศาสตร์ ด้านปรัชญา หรือจากความคิด แม้กระทั่ง นวนิยายทางวิทยาศาสตร์
ที่เพ้อฝัน เพื่ออธิบายถึง จักรวาลคู่ขนาน (Parallel universes) จักรวาลควอมตัม (Quantum universes) หรือทะลุมิติ (Interpenetrating dimensions) เป็นต้น
 
 
Hubble Bubble
 
 
Multiverse : คำอธิบายที่ซับซ้อนขึ้น จากหลายสมมุติฐาน

เป็นความหลากหลายนานาประการ ของแนวคิด รวมขอบเขตจักรวาล (Universe)
ซึ่งสามารถสำรวจ (สังเกตการณ์) โดยมนุษย์ในปัจจุบันและอนาคต ไม่ใช่ขอบ
เขตเพียงจักรวาลเดียว แต่รวมไปถึงจักรวาลอื่นๆ และจักรวาลของเราด้วยจาก
เหตุผลเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้ง และสนับสนุนต่อการอธิบาย ในหัวข้อต่างๆดังนี้

1.Bubble (ฟองลูกโป่ง)

ขนาดจักรวาลเรามีขนาดใหญ่มาก จากการสำรวจที่ผ่านมา ถ้าจักรวาลมีขนาด
ไม่สิ้นสุด (Infinite) ความไม่สิ้นสุดเหล่านั้น อาจมีความห่างกันมาก โดยจักรวาล
สามารถเกิดขึ้นได้ พร้อมๆกันไป หรือเกิดไปเรื่อยๆ คล้ายการเกิดฟองของน้ำต้ม
เดือดขึ้นอย่างมากมาย และขยายตัวเป็นฟองใหญ่ขึ้น ในท้ายที่สุดแล้วเมื่อหมด
พลังงานจึงสลายตัวไป

แต่ด้วยความใหญ่โต ของฟองลูกโป่ง (จักรวาล) คงไม่สามารถเห็นพฤติกรรมใน
เวลาสั้นๆได้ ดังเช่นจักรวาลเรา ปรากฎตัวขึ้นจาก การระเบิดครั้งใหญ่ (Big Bang)
ซึ่งมีหลักฐานเป็นที่ยอมรับ จาก Cosmic microwave background radiation
(การสะท้อนคลื่นไมโครเวฟพื้นหลัง) หลงเหลืออยู่จากการระเบิดดังกล่าว ว่ามี
พลังงานเกิดขึ้นในห้วงเวลานั้นจริง

ขณะที่จักรวาลปรากฎขึ้น เช่นเหมือนฟองเล็กๆฟองหนึ่ง แล้วเกิดการผันผวนใน
กาลอวกาศ (Space-time) อย่างสุดขั้ว เกิดสภาวะเปลี่ยนแปลง มีพลังงานเพียง
พอจากความผันผวน เริ่มพัฒนาการขยายตัวขึ้น ตั้งแต่การปรากฎขึ้นของจักรวาล
และวิวัฒน์อย่างสืบเนื่องมา (A Process of cosmic evolution)

ในทำนองเดียวกัน จักรวาลอื่นก็สามารถเกิดขึ้นได้ ด้วยลักษณะเช่นเดียวกันหรือ
อาจเกิดขึ้นแล้วก่อนหน้านี้เป็นจำนวนมาก และหลังจากที่ จักรวาลเราปรากฎขึ้น
อาจมีจักรวาลอื่น เป็นลักษณะจักรวาลคู่ขนาน (Parallel universes) ปรากฎตาม
มาอีกนับไม่ถ้วน

ด้วยขอบเขตของแต่ละจักรวาล ถูกแบ่งด้วยแต่ละฟองลูกโป่ง (Bubble) จึงไม่
สามารถเชื่อมโยงกันได้ แต่ก็ในบางแนวคิดมี ข้อสันนิษฐานเรื่องจักรวาลอื่น
(Another universe) ว่าจักรวาลในฟองลูกโป่งเหล่านั้น ล่องลอยไปทั่ว อาจอยู่
ใกล้กัน หรือมีอันตรายชนเช็ดถูต่อกันได้

หากเป็นไปอย่างที่คิด ก็จะเกิดความยุ่งเหยิง โดยเฉพาะพลังงานที่หลงเหลือจาก
การชนเช็ดถูกัน โดยตรงของระหว่างผนังของฟองลูกโป่ง (Bubble wall) ในที่
ว่างของมุมระหว่างแต่ละจักรวาล แม้ด้วยระยะทางที่ห่างไกลกัน ก็อาจสร้างความ
เสียหายต่อจักรวาลได้

บางทฤษฎี ด้านจักรวาลวิทยา แสดงคำอธิบายว่า มูลฐานเดิม จักรวาลมีค่าคงที่
แต่ด้วยแรงปฐมมูลดั้งเดิม (Fundamental forces) เนื่องจาก การมีฟองลูกโป่ง
(Bubble) จำนวนมาก จึงส่งผลต่อกัน ระหว่างฟองลูกโป่งกับฟองลูกโป่ง เกิดการ
รวมกันของค่าคงที่ โดยไม่คำนึงถึงลำดับชั้น สู่โครงสร้างขนาดใหญ่ เช่น จักรวาล
ของเรา

และยังมีข้อสังเกตต่อไปอีกว่า กรณีการเกิดขึ้นของ Bubble (ฟองลูกโป่ง) เป็น
การเกิดขึ้นหลังจาก Big bang นั้น มี 2 กรณี คือ กรณีที่ 1 เกิดขึ้นอย่างเชื่องช้า
และยุบสลายตัวไป อย่างรวดเร็ว กรณีที่ 2 เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เต็มไปด้วยความ
ยุ่งเหยิงและเย็นตัวลง เป็นแบบเดียวที่เกิดกับจักรวาลของเรา
 
 
Branes หรือ Membrane
 
 
2.ฺ Membrane (แผ่นเยื่อ)

จักรวาลของเรา มนุษย์รับรู้ได้ 4 มิติ (กว้างxยาวxสูง = 3 มิติ + เวลา = 4 มิติ)
ทางทฤษฎีพบว่า กาล-อวกาศ อาจมีมากกว่า คือ เวลา 1 มิติและอวกาศอีก 10 มิติ รวมเท่ากับ 11 มิติ โดย 6 มิติ (ที่มากกว่า) เรียกว่า Extra-dimension (มิติพิเศษ)
ซึ่งมีคุณสมบัติขดม้วนตัว เป็นขนาดที่เล็กมากๆ มนุษย์ไม่สามารถเห็น หรือตรวจ
สำรวจโดยเครื่องที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่ได้เลย

สิ่งของต่างๆ ที่เป็นกายภาพของจักรวาลเรา รวมตัวเราเอง ฯลฯ มีองค์ประกอบ
3 มิติ (กว้างxยาวxสูง) แต่ทุกสิ่งทุกอย่าง ถูกยึดติดกับเวลา (เดินหน้าไปโดย
ตลอด ถอยหลังไม่ได้) จึงทำให้มนุษย์ ต้องรับรู้รวมเวลาไปด้วย เป็น 4 มิติ

ดังนั้นอาจมีความมากมายในมิติอวกาศ (Multidimensional space) จักรวาล
ของเรา เหมือน Membrane หรือ Branes (เยื่อแผ่นแผ่นบาง มีรูขนาดเล็กมาก
โดยจะยอม ให้อนุภาคของสสารซึ่งมีขนาดเล็กกว่า ขนาดของรูเท่านั้นที่ผ่านได้)
เป็นลักษณะ 3 มิติ ที่ลอยอยู่ในอวกาศ ในมิติพิเศษ โดยมนุษย์ไม่สามารถรับรู้ได้
เช่นกัน อาจห่างกันไม่กี่เมตร เป็นลักษณะจักรวาลคู่ขนาน (Parallel universes)

การล่องลอยแต่ละจักรวาลใน Extra-dimension มีโอกาสเคลื่อนเข้าหากันได้
ด้วยแรงดึงดูดระหว่างมวลซึ่งกันและกัน จนกระทบชนปะทะกัน เมื่อเกิดชนกัน
ทำให้จักรวาลทั้งสอง ระเบิดตัวครั้งใหญ่ (Big Bang) ขึ้นอีกครั้ง อาจเป็นการเกิด
ขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งเป็นข้อสันษิฐาน ต่อการปรากฎขึ้นของจักรวาลแต่ละครั้ง
 
 
Babyverse
 
  3.Quantum (ควอมตัม)

สำหรับ Babyverse theory (ทฤษฎีจักรวาลเบบี้) หนึ่งในแนวคิดจาก Quantum Universe (จักรวาลควอมตัม) อธิบายว่าจักรวาลใหม่ เกิดขึ้น ภายในหลุมดำ
(Black holes) โดยก่อตัวและพัฒนาการขึ้นในสันฐานดังกล่าว และมีศักยภาพ
ขยายตัวอย่างไร้ขอบเขตจากภายใน ซึ่งทั้งหมดไม่สามารถรับรู้ การมองเห็นภาย
ในหลุมดำ สามารถเกิดเป็นจักรวาลคู่ขนาน (Parallel universes) ได้เช่นกัน

หรือ Many-worlds interpretation of quantum mechanics มีคำอธิบายว่า
ความพยายามเกิดขึ้นของวัตถุชนิดเดียวกัน สามารถเกิดขึ้นในความหลากหลาย
สถานะ (Multiple states) เช่น จักรวาลอื่น โดยมีค่าคงที่และกฎทางฟิสิกส์เช่น
เดียวกัน เป็นจักรวาลคู่ขนาน (Parallel universes)

โดยแต่ละจักรวาล มีความสัมพันธ์กันจาก ขบวนการทางกลศาสตร์ควอนตัม (Quantum superposition) หลังจากนั้นความสัมพันธ์จะสิ้นสุดลง เมื่อเกิดการ
เลือกของความน่าจะเป็นของ ทางหนึ่งทางใด

ท้ายที่สุดจักรวาลเหล่านั้นจะอยู่เอกเทศ ในลักษณะคู่ขนาน โดยไม่สามารถเชื่อม
โยงกันได้ ดังนั้นการที่จักรวาลเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และยังคงอยู่มากมายใน
อวกาศนับไม่ได้ จึงเป็นสาขาที่แตกแขนงของจักรวาล เรียกว่า Branched out
(การแตกสาขา) ไม่รู้จบแบ่งแยกออกต่อกัน
 
 
Quantum superposition
 
  เหตุผลทำไมต้องมี Multiverse

ทั้งหมดนั้นเป็นสมมุติฐานที่ต่างกัน จึงทำให้เกิดแนวคิดไปสู่ Multiverse เพื่อใช้
ประกอบคำอธิบาย จำนวนมากของจักรวาล หรือการเกิดขึ้นของ จักรวาลคู่ขนาน
(Parallel universes)

แม้ว่าแนวคิดจากการเกิดขึ้นของจักรวาล ก่อนการระเบิดครั้งใหญ่ (Big Bang)
มีความแตกต่างกันออกไป แต่แนวคิดจำนวนจักรวาล ไม่ได้มีเพียงหนึ่งเดียวนั้น
มีความสอดคล้องกัน

ประเด็นอยู่ที่ว่า หากมีจักรวาลเกิดขึ้นจำนวนมากกว่าหนึ่ง จักรวาลเหล่านั้นควรจะ
มาจากจุดเดียวกัน เมื่อมาจากจุดเดียวกัน ควรจะมีความสัมพันธ์กันในแบบหนึ่ง
แบบใดได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่น่าขบคิด

ความหมายแนวคิด Multiverse จากผู้เชี่ยวชาญด้าน
High energy physics group


นับเป็นหนทางใหม่ซึ่งขยายขอบข่ายการศึกษา ที่แตกแขนงของ ทฤษฎีว่าด้วย
จักรวาลวิทยา (Cosmological theory) จะสามารถ ให้ความกลมกลืนเหมาะสม
และให้ความเด่นชัดมากขึ้น

ด้วยเอกภพหรือจักรวาลของเรา เปรียบเสมือนเพียงจุดไข่ปลา อุบัติขึ้นในบริเวณ
พื้นที่ขนาดจิ๋วในสูญญากาศ (Vacuum) จากการระเบิด จากทฤษฎีเดิมให้คำ
อธิบายว่า สิ่งที่เกิดครั้งแรก จากการปรากฎจักรวาล เป็นการขยายตัว (Inflation)

ความเป็นสูญญากาศนั้น ควรจะมีการต่อเนื่อง เชื่อมโยงกันเป็นจุดไข่ปลา ไปยัง
จักรวาลอื่นๆได้ และแต่ละจักรวาลอาจมี ทฤษฎีทางฟิสิกส์ที่แตกต่างกัน โดยบาง
แห่งอาจให้กำเนิดชีวิตได้ แต่บางแห่งอาจว่างเปล่าไม่มีสิ่งใดๆก็ได้
 
 
Multiverse
 
 
อย่างไรก็ตามแนวคิด Multiverse ยังมีข้อจำกัดเรื่อง ความเห็นในทางระเบียบ
แบบแผนและขบวนการทางวิทยาศาสตร์ รองรับจากการตั้งสมมุติฐาน ดังนี้ความ
ร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อการตรวจสอบไต่สวนคงเป็นเรื่องสำคัญ ที่จะช่วยหา
คำตอบข้อสงสัยต่างๆ เพื่อสรุปความให้เหมาะสมและดีที่สุดต่อไป

ถ้อยแถลงการสัมนาทางวิชาการ Philosophy of Cosmology 2009
จัดที่ St Anne's College Oxford


จักรวาลวิทยา ที่ใช้กันอยู่อย่างแพร่หลายทุกวันนี้ จำเป็นต้องวิเคราะห์ด้วยความ
ระมัดระวัง ด้วยเหตุผลว่า เป็นแนวคิดจากธรรมชาติแท้ๆ และนับว่าเป็นจุดเริ่มของ
ความท้าทายอันมีความหลากหลาย

แนวคิดเรื่อง Multiverse หรือ Megaverse ได้เริ่มต้นขึ้นอย่างแข็งขันด้วยความ
หลากหลาย จากข้อเสนอโดยนักคิดในยุคนี้ โดยกรณีดังกล่าวยังไม่บรรลุผลโดย
ตรงต่อการทดลอง ในทางวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า ในเชิงข้อมูล
ที่จะให้เกิดการขยายความและเปลี่ยนแปลง ไปสู่ขอบเขตสมมุติฐานตามแนวคิด
Multiverse

คงไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงแนวคิด ข้อเสนอ Multiverse ที่เกิดขึ้นได้ แต่ต้อง
มีเหตุผล และตระหนักต่อความจำเป็นพิสูจน์ทราบจากการทดลอง หรือต้องมี
เงื่อนไขการสนับสนุนทางฟิสิกส์ด้วย ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์และขบวนการที่ต้องการ
อย่างยิ่ง

การบรรยายอย่างหลากหลาย ในทางทฤษฎี และการสังเกตการณ์ หรือการใช้
เครื่องมือมักนำไปสู่การโต้แย้งเพื่อให้ Multiverse มีความเป็นจริง สาระสำคัญ
ทั้งหมดมักถูกกล่าวอ้างว่า มีความจำเป็น ต้องสืบค้นหาความจริง ต่อโครงการ
ทางวิทยาศาสตร์ ต่างๆ

จุดสำคัญทำให้การกล่าวอ้าง ด้วยเหตุผลทางพื้นฐานด้านฟิสิกส์เบื้องต้น อยู่ใน
ความน่าทึ่ง อย่างไม่มีอะไรมาขัดขวางในเวลานี้ แม้แต่ความมั่นคง ของหลักการ
วิทยาศาสตร์เบื้องต้น และกระทั่งส่วนประกอบคำอธิบาย จากนักจักรวาลวิทยา

อย่างไรก็ตาม ปรัชญาอันมั่นคงจะสามารถไต่สวน ข้อเสนอแนะแนวคิดทั้งหมด
ได้ให้ถูกต้องเป็นไปตามธรรมชาติ โดยไม่มีข้อโต้แย้ง หรือมิฉะนั้นอาจช่วย
ขยายความสืบสาวระบบแนวคิดนั้น นี้คือสิ่งที่ต้องกระทำขึ้น ด้วยความเคร่งครัด
รัดกุมไปพร้อมๆกับ ให้โอกาสสนทนาโต้ตอบตามหลักเกณฑ์ เพื่อการพิจารณา
หนทางไปสู่การพัฒนาทดสอบ ตามขบวนการวิทยาศาสตร์ ของวิชาจักรวาลวิทยา

ห้วข้อของการไต่สวนทางทฤษฎี การสำรวจ และการใช้เครื่องมือจำต้องอยู่บน
บรรทัดฐานวิทยาศาสตร์ ที่ถูกต้องตามหลักเณฑ์ ของวิชาจักรวาลวิทยาและต้อง
แบ่งแย่งเหตุผลที่สนับ สนุนในสิ่งที่ยังไม่มีใครเคยทราบ หรือเคยเห็นมาก่อน

บรรทัดฐานควรเป็นการโต้แย้งมีเหตุผลแบบสมัยนิยม อันเป็นธรรมชาติของทฤษฎี
และเป็นหนทางพัฒนาไปสู่ความก้าวหน้าขึ้น ต่อการทดลอง โดยนัยคงไม่ได้
หมายถึงเฉพาะ ขอบเขตของ Multiverse เท่านั้น แต่ควรจะพิจารณายอมรับหรือ
ปฎิเสธ ในหัวข้ออื่น ที่อาจมีเหตุผลมากหรือน้อยกว่าวิทยาศาสตร์

การร่วมมือขึ้นอยู่กับเงื่อนไข ความเห็นที่หลากหลาย ว่าต้องการให้ Multiverse
พบหนทาง สว่างในแนวทางวิทยาศาสตร์ หรือบางกรณี อาจหมายถึงการจัดทำ
ข้อเสนอแนะ รูปแบบ Multiverse เข้าสู่ขบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ยุติข้อ
โต้แย้ง

โดยภาพรวมมีเจตนา มิได้มุ่งหวังให้เกิดการยอมรับ ในทฤษฎี หรือคำอธิบาย
แต่อย่างน้อย ต้องการความกระจ่าง และแยกแยะคำอธิบาย ซึ่งท้ายที่สุดอาจ
เป็นคำตอบต่อ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์

ซึ่งเป็นการริเริ่ม เพื่อการพบปะและเพื่อความร่วมมืออย่างจริงจัง จากผู้เชี่ยวชาญ
ด้านจักรวาลวิทยา ด้านปรัชญาแขนงวิทยาศาสตร์ มุ่งเข็มไปยังเรื่อง Multiverse
ที่มีข้อมูลน้อย และยังห่างไกลต่อความรู้

นอกจากนั้นได้เชื้อเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เช่น ด้านปรัชญาแขนงวิทยาศาสตร์
ด้านจักรวาลวิทยา ด้านดาราศาสตร์ ด้านฟิสิกส์ เพื่อนำความรู้และเทคนิค มาร่วม
ตัดสินหาบทสรุป ด้านฟิสิกส์ที่ดีที่สุดให้ปรากฎ ซึ่งจะได้เกิดประโยชน์ขึ้นโดย
กว้างขวางต่อไป
 
 
Multiverse
 
 
แนวทางข้อสรุป และความหมาย Multiverse

โดยภาพรวมแล้วคล้ายเป็นโจทย์ ที่จะทำให้ นักจักรวาลวิทยา มุ่งหาข้อพิสูจน์
และเสาะหาความจริง ในประเด็นของหัวข้อ ที่มีความสนใจและเชี่ยวชาญ และ
ต้องใช้ความรู้ ความสามารถ และเทคโนโลยีอีกมากมาย รวมทั้งใช้เวลาด้วย

ดังนั้นความหมายอาจแปรเปลี่ยน ให้มีขอบเขตกระชับขึ้น จากเหตุผลพิสูจน์ทราบ
ได้ในอนาคต อย่างน้อยในวันนี้แนวคิดดังกล่าว กระทำเริ่มสู่กระบวนการเสนอแนะ
ที่มีรูปธรรมมากขึ้น เป็นธรรมดาที่ต้องเกิดข้อโต้แย้ง เพราะทั้งหมดเป็นความคิด
การคาดการ หรืออาจมีจิตนาการผสมผสานอยู่ด้วย

เช่น บางจักรวาลอาจมีแต่ความว่างเปล่า ไม่เคยมีอะไรเลย และยังคงไม่มีอะไร
ต่อไป บางจักรวาลอาจมีสิ่งทรงปัญญา เช่น มนุษย์ หรือสิ่งที่มีสติปัญญาไม่ด้อย
ไปกว่ามนุษย์ แต่อาจต่างที่รูปลักษณ์ออกไป จนนึกไม่ถึง

หรือบางจักรวาลอาจมีเราอยู่ พร้อมๆกับเราเองในจักรวาลนี้ จะเป็นไปได้หรือไม่
ทั้งหมดคงยังไม่มีคำตอบในวันนี้ แต่สิ่งที่อาจเหมือนกันคือ แนวคิดว่า มีจักรวาล
จำนวนมากกว่าหนึ่ง (หรือมากกว่าจนนับไม่ได้ ?) และเชื่อว่าการเชื่อมโยงเข้า
ด้วยกันในสภาพสูญญากาศ

ดังนั้น Multiverse แสดงความหมายถึง การโยงใยจากจุด เริ่มต้นแต่แรกของแต่
ละจักรวาลเข้าด้วยกัน คล้ายเป็น เครือข่าย(หลาย)จักรวาล
 
 
 
References :

Philosophy of Cosmology 2009 at St Anne's College Oxford
Washington University in St. Louis, Missouri.
High Energy Physics group at Florida State University.
Stony Brook University.
Boston University and Harvard.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น