Greenhouse effect : กรณีผลกระทบจากปฎิกิริยาเรือนกระจก

   Greenhouse effect : กรณีผลกระทบจากปฎิกิริยาเรือนกระจก
 
 
กรณีผลกระทบจากปฏิกิริยาเรือนกระจกแบบชัดเจน
มีโอกาสจะปรากฏในอนาคตระยะ 100 -300 ปี


วันนี้ นักวิทยาศาสตร์ในแขนงต่างๆ และนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เริ่มตระหนักถึง
ปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับโลก ด้วยสภาพแวดล้อมแปรเปลี่ยนไป ทีละเล็กทีละน้อย
และจนรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ด้วยมนุษย์นำทรัพยากรจากโลกขึ้นมาใช้

การนำมาสังเคราะห์ กระบวนการต่างๆ ส่วนที่เหลือ ถูกปลดปล่อยออกมาในรูป
สารเคมี คาร์บอนไดออกไซด์ กลุ่มควัน กลุ่มก๊าซจากโรงงานอุตสาหกรรมนับ
ล้านๆแห่ง ควันจากไอเสียรถยนต์ นับหลายร้อยล้านคัน หรือแม้แต่สเปรย์ต่างๆ
ใช้ในบ้าน จนสังคมเมืองใหญ่เกิดมลพิษ

สารเหล่านี้ไม่สลายตัว กลับรวมตัวลอยสู่ ชั้นบรรยากาศห่อหุ้มโลกไว้ เรียกว่า
ก๊าซเรือนกระจก เปรียบเสมือนโลกอยู่ท่ามกลางโดมแก้ว หรือห้องกระจกขนาด
ขนาดใหญ่ นับวันห้องกระจกนี้ ก็เพิ่มความหนาแน่นขึ้นเรื่อย ๆ
 
 
การเกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก
 
 
แสดงความร้อนบนพื้นผิวโลก ปี ค.ศ. 2006
 
 
ขณะี่ชีวิตต่างๆ ดำเนินไปตามปกติ แสงจาก ดวงอาทิตย์  มีรังสีอุตตร้าไวโอเลท
(รังสี UV - Ultraviolet radiation) ส่องมาปะทะพื้นผิวโลก ตามปกติเช่นกันและ
ได้สะท้อน กลับสู่อากาศ บางส่วนหลุดออกสู่อวกาศ แสงสะท้อนเหลือบางส่วน
ไปปะทะกับชั้นบรรยากาศโลก โดยก๊าซเรือนกระจกสะสมขวางกั้นไว้ รังสีต่างๆ
สะท้อนกลับลงสู่ผิวโลกอีกครั้งหนึ่งลักษณะดังกล่าว สภาวะปฏิกิริยาเรือนกระจก

ดังนั้นพื้นผิวโลกได้รับความร้อนเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า รังสีดังกล่าวส่งผลกระทบไป
ยังแหล่งน้ำทำให้สัตว์และพืชในน้ำ มีปัญหาการเจริญเติบโต ส่งผลกระทบยังพืช
พันธ์บนผิวดิน ทำให้ผลผลิตต่ำและตาย ยังมีผลกระทบต่อมนุษย์ทำให้สามารถ
เกิดมะเร็งผิวหนังได้ง่ายขึ้น

ปฏิกิริยาเรือนกระจกทำให้ ก๊าซมีเ็ทนถูกปล่อยออกมากขึ้น จึงขาดแคลนก๊าซ
ออกซิเจนในชั้นบรรยากาศ ก๊าซมีเทนเป็นต้นเหตุ การทำลายระบบนิเวศของพืช
ใต้ผิวดินน้ำเน่าเสีย เชื่อว่าจะส่งผลต่อเนื่องไปอีก 200 ปี

จากการสำรวจ ปี ค.ศ. 1990 พบว่า มีปริมาณก๊าซ มีเท็น 4 : 1,000,000 ส่วน
ปี 1980 มี 12 : 1,000,000 ส่วน ปี 2006 พบว่ามีถึง 1,780 : 1,000,000 ส่วน
นับว่าอยู่ในระดับอันตรายต่อโลกสูงสุด แบบไม่เคยมีมาก่อน ตลอดเวลาผ่านมา
800,000 ปี ไม่เคยเกินกว่า 750 : 1,000,000 ส่วน

พร้อมๆกับบนพื้นผิวโลกมีการพัฒนา การก่อสร้างเมืองขนาดใหญ่มากขึ้น พื้นผิว
ถูกปิดกั้นด้วยถนนคอนกรีต ผิวดินที่ปกคลุมด้วยต้นไม้น้อยลง ป่าเริ่มน้อยลง คือ
องค์ประกอบเสริม ที่พร้อมจะทำให้โลก เปลี่ยนแปลงทุกด้านไปพร้อมกัน
 
 
ก็าซมีเทน ทำให้น้ำบนโลกเน่าเสียอย่างกว้างขวาง ขณะนี้เกิดขึ้นแล้ว
 
 
มนุษย์จะพบกับมะเร็งผิวหนังง่ายกว่าเดิม จากรังสีอุคร้าไวโอเลทที่เข้มข้น
 
 
สัตว์และพืชในมหาสมุทร (Marine organisms) รับผลกระทบจาก รังสีอุคร้าไวโอเลท
สะ ท้อนกลับ ลงมาเพิ่มขึ้น ซ้าย สภาพที่สมบูรณ์ ขวา สภาพที่ถูกรังสี (ก่อนเจริญพันธ์)
 
 
ผลกระทบในสัตว์ สะเทินน้ำสะเทินบก จากการสะสมรังสีอุคร้าไวโอเลท
 
  นอกจากนั้น โลกสะสมความร้อนเพิ่มขึ้นโดย ไม่มีทางระบายสู่ชั้นบรรยากาศได้
ตามปกติพื้นผิวน้ำแข็ง ได้รับอุณหภูมิสูงก็เกิดการละลายเพิ่ม (โลกมีพื้นที่เป็นน้ำ
และน้ำแข็ง 70 %) ปริมาณน้ำย่อมมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

ส่วนผิวน้ำในมหาสมุทร อุณหภูมิความร้อนสูงขึ้นเช่นกัน ทำให้เกิดพายุไซโคลน
ขนาดใหญ่มากขึ้นและถี่ เกิดฝนตกมาก ก็ยิ่งเพิ่มปริมาณน้ำมากขึ้นตามลำดับ

ทำให้พื้นผิวดินน้อยลง หรือเริ่มต้นเกิดสภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มมากขึ้น การแปร
ปรวนด้านอุณหภูมิของโลก ทำให้ฤดูกาลเริ่มเปลี่ยนแปลงอาจมีผลกระทบต่อ
ระบบสนามแม่เหล็กโลก มีรายงานว่าสนามแม่เหล็กโลก กลับขั้วแล้ว 170 ครั้ง
อดีตครั้งสุดท้ายเกิด เมื่อ 700,000 ปีมาแล้ว ขณะนี้มีความเปลี่ยนแปลง 10%

ทำให้เราพบกับความแปรปรวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก่อให้เกิดการเสียชีวิตของมนุษย์
ในรูปแบบใหม่ เช่น เสียชีวิตจากความร้อนจัด (ร้อนตาย) เสียชีวิตจากจมน้ำด้วย
โคลนถล่มในบางพื้นที่ ด้วยการที่ภัยพิบัติเกิดอย่างกะทันหัน อย่างมากมาย

แม้ว่าการเกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก เป็นปัจจัยพื้นฐาน แต่ไม่สามารถลดปริมาณได้
การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลก จะเปลี่ยนแปลงมากขึ้นแบบทวีคูณเป็นลูกโซ่
จากปริมาณน้ำมากเพราะฝนพายุมาก ไอน้ำในอากาศก็จะมากตาม และเมื่อไอน้ำ
มากสะสมสู่บรรยากาศ ฝนก็จะตกมากขึ้นไปอีก ขอบเขตอิทธิพลพายุจะใหญ่โต
มากและรุนแรงขึ้นไปเรื่อย

สุดท้ายการเกิดเช่นนี้ สะสมนานนับหลายร้อยปี โลกอาจเหลือเพียงฤดูฝนเพียง
ฤดูเดียว เช่น เหมือนกับการเกิดขึ้น ครั้นกำเนิดโลกยุคต้น ก็เป็นได้ เพราะฉะนั้น
หากเกิดแล้วแก้ไขไม่ได้ เป็นเรื่องร้ายแรงมากส่งผลต่อ ความเป็นอยู่ของมนุษย์
อย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้เลย
 
 
การระเบิดของภูเขา Pinatubo ปี 1991 เพียงไม่กี่วัน
แต่ไม่น่าเชื่อที่มีผลกระทบต่อระบบชั้นผลิตโอโซนของโลก มากกว่า 1 ล้านปี
จากการเพิ่มมากขึ้นของรังสี อุคร้าไวโอเลท โดยไม่สามารถแก้ไขกลับคืนมาได้
แล้วควันพิษจากรถยนต์เราที่เพิ่มขึ้นทุกวันล่ะ ?
 
 
ผลกระทบเรือนกระจกได้เกิดบนดาวศุกร์ มานานแล้วและกำลังค่อยๆเกิดบนโลก
 
 
อนาคตโลกจะต้องพบกับมรสุมการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่สิ้นสุด แล้วสิ่งที่แสดง
ผลกระทบจากพายุขนาดใหญ่ น้ำท่วมแผ่นดินเคลื่อนตัว สัตว์พืช สภาพอากาศที่
สมบูรณ์จะขาดแคลนลงทวีคูณตามลำดับ

สามารถทำให้มนุษย์เดือดร้อนอดยาก จากการถูกทำลายไปที่ละน้อยๆและเรื่อง
นี้เป็นเรื่องใหญ่ที่สุดของโลก เราเอากลับใจใส่น้อยมากเพราะรู้ลึกว่าไกลตัว
แต่ข้อเท็จจริงเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันเราทั้งสิ้น โปรดเริ่มช่วยกันตั้งแต่เดี๋ยวนี้

รายงานผลจาก การทดสอบแบบจำลองสถานการณ์จากหลายสถาบันมากมาย
เช่น ภายในปี พ.ศ.2568 ประชากรโลก 2 ใน 3 จะขาดแคลนน้ำเนื่องจากเน่าเสีย
ด้วยสภาวะปฏิกิริยาเรือนกระจก และจากการเพิ่มของจำนวนประชากร

หากมีการเกิดแบบชัดเจนแล้ว สภาพท้องฟ้าตลอดทั้งวันจะมี สีแดงอมส้มมอง
ท้องฟ้าจะเห็นกลุ่มหมอก เป็นสีเทาดำ มีแสงจ้าจากการะท้อนอย่างรุนแรงทำให้
แสบตาจากการมองท้องฟ้าทั้งๆี่เมฆดำ

นอกเหนือจากนั้นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศมีผลโดยตรงต่อ
สภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ เกิดการผันแปรของฤดูกาลกระทบต่อการเกษตร
บางพื้นที่ร้อนจัด แห้งแล้ง บางพื้นที่หนาวจัดและบางพื้นที่ฝนตกชุก เกิดอุทกภัย
น้ำท่วม แพร่ระบาดของเชื้อโรคใหม่ มนุษย์ขาดภูมิคุ้มกัน

ท้ายที่สุดเมื่อผืนดินมีข้อจำกัดเรื่องการเพาะปลูก จากฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไป
เกิดการแย่งชิงทรัพยากร แหล่งเพาะปลูก แย่งชิงแหล่งที่อยู่อาศัย ก็จะกลายเป็น
สถานการณ์สงครามเศรษฐกิจ เพิ่มความอดอยากของประชากรโลก
 
 
สภาพการละลายของน้ำแข็งขั้วโลก ในปัจจุบัน (แนวเส้นสีแดงเป็นแนวน้ำแข็งเมื่อ ปี 1979)
 
 
ถ้าไม่ร่วมกันแก้ไข อนาคตโลกอาจจะมีบรรยากาศเช่นนี้
 
 
ความเป็นไปได้ :

ปัจจุบันกิดขึ้นแล้ว หากไม่มีการร่วมมือแก้ไข โอกาสก็จะเพิ่มผลกระทบมากขึ้น
เรื่อยๆ คาดว่าจะเห็นภาพชัดเจน ของปัญหาในระยะ 100 – 300 ปี ข้างหน้าโดย
จะยิ่งแก้ไขยากขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดเกิดแก่งแย่ง ทรัพยากรธรรมชาติ แก่งแย่งพื้น
แผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์กว่า ซึ่งเหลือน้อยลง

ผลผลิตอาหารสำหรับประชากรโลก เริ่มขาดแคลน พร้อมกับแผ่นดินที่ลุ่มบริเวณ
ชายฝั่งทะเล ถูกน้ำท่วมสูงไปเรื่อยๆ เฉลี่ยปีละ 1- 3 ซม.หรือมากกว่านั้น หากแปร
ปรวนแบบทวีคูณ ภาพปัญหาที่เห็น เด่นชัดชัดขึ้นดัง เช่น ผลกระทบจากมลพิษ
คลื่นพายุถล่มชายฝั่ง อุทกภัยใหม่การแตกของแผ่นน้ำแข็ง เป็นต้น

การแก้ไขเหตุการณ์ :


สามารถแก้ไขได้ โดยร่วมมือกันลดการใช้สารเคมีที่มี ปฏิกิริยาเรือนกระจกและ
เพิ่มเติมการปลูกป่า สร้างความชุ่มชื้นให้ผิวดินอย่างจริงจัง ร่วมมือใช้ทรัพยากร
โลกอย่างประหยัดตามความจำเป็น เช่น

ลดปริมาณการใช้สิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ตัวเราเองในชีวิตประจำวันบ้าง ช่วยให้
สิ่งนั้นผลิตออกจากโรงงานน้อยลง เมื่อโรงงานต่างผลิตน้อยลง การสิ้นเปลืองด้าน
ธรรมชาติและพลังงานก็น้อยลงตาม ควรยึดหลักดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง
จะช่วยแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่ง

ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และสังคม :

นักวิทยาศาสตร์ พยายามคิดและปรับปรุง ส่วนประกอบของสารเคมีที่ใช้ในด้าน
อุตสาหกรรมเพื่อลดปัญหาผลกระทบ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพยายามรณรงค์
แก้วิกฤตกาลทั้งทางตรงและทางอ้อม สิ่งสำคัญคือการลดการใช้พลังงาน เช่น
น้ำมัน ก็าซ ไฟฟ้า เป็นต้น

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น