ดวงอาทิตย์ แหล่งพลังงานใกล้ตัวเราที่สุดในจักรวาล [หน้า 1/3]

 
   ดวงอาทิตย์ แหล่งพลังงานใกล้ตัวเราที่สุดในจักรวาล [หน้า 1/3]
 
 
 
แม้ดวงอาทิตย์ จะถือว่าอยู่ในระบบสุริยะ แต่ทว่าการศึกษาดวงอาทิตย์เป็นวิธีการ
เบื้องต้นส่วนหนึ่งทำให้เราเข้าใจ ระบบการทำงานของจักรวาล จากความคล้ายคลึง
กับดาวต่างๆ โดยเฉพาะ กาแล็คซีทางช้างเผือก มีประมาณกว่า 300 พันล้านดวง
ยังเกิดขึ้นใหม่ (Stars Birth) ตลอดเวลา

กาแล็คซี่ี่ มีอยู่มากกว่าพันล้านแห่งในจักรวาลอันไพศาล มีดวงอาทิตย์อีกจำนวน
เท่าใด อาจนับไม่ถ้วน และยังนับไม่ได้ครบได้ในทุกวันนี้ ความเข้าใจเพื่อสำรวจ
พฤติกรรมดวงอาทิตย์เป็นสิ่งจำเป็น ต่อการศึกษาด้าน จักรวาลวิทยา ดาราศาสตร์
รวมถึงการสำรวจอวกาศ เบื้องต้น

เป็นแหล่งพลังงานเดียวในระบบสุริยะใหญ่ที่สุด ใกล้ตัวเรามากที่สุด ลองนึกภาพ
ว่าตื่นขึ้นมาตอนเช้า จู่ๆดวงอาทิตย์เกิดหายไปอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง ?

แน่นอนที่สุด สภาพโลกมืดสนิท ดวงจันทร์ก็มืดไปด้วย อากาศหนาวเย็นอุณหภูมิ
ลดลงติดลบ พืชล้มตายเนื่องขาดระบบการสังเคราะห์แสง ระบบนิเวศล้มเหลวลง
อย่างสิ้นเชิง ฤดูกาลหายไปหมด สภาพอากาศแปรปรวน แรงดึงดูดของระบบสุริยะ
ล้มเหลวขาดความเสถียร ทุกอย่างบนโลกลอยสู่อวกาศอย่างไร้จุดหมาย ควบคุม
ไม่ได้

ดาวต่างๆโคจรชนกันอย่างโกลาหล เพียงเป็นเรื่องสมมุติ จุดประสงค์ให้เห็นความ
เชื่อมโยงที่สำคัญ ของระบบที่เกี่ยวข้องกันแยกไม่ได้ ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์
ทุกสิ่งที่อยู่ในทั้งระบบสุริยะ

และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับดวงอาทิตย์คือ การก่อกำเนิดของดวงอาทิตย์มิได้โดด
เดี่ยวเกิดขึ้นเพียงดวงเดียว ในทางทฤษฎีบ่งชี้ว่า เกิดขึ้นเป็นกระจุกดาว และมีการ
แตกแยกผลัดพรากจากกัน ของครอบครัวดวงอาทิตย์ (Our Sun's Family)
ห่างไกลกันนับพันปีแสง แต่ ดวงอาทิตย์นั้นเป็นดาวที่เรามักลืมดู หรือให้ความ
สนใจน้อย ทั้งๆที่มีความสำคัญอย่างใหญ่หลวงต่อระบบสุริยะ
 
sunflowercosmos.org/
 
ดวงอาทิตย์เหนือมหาสมุทรแปซิฟิค มองจากสถานีอวกาศ International Space Station
(Expedition 7) เห็นพื้นด้านหลังมืด ต่างจากที่มองจากพื้นโลก ( 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2003)
   
 
ความรับผิดชอบและหน้าที่ ของดวงอาทิตย์

ในชีวิตประจำวัน อาจเปรียบดวงอาทิตย์เสมือน โรงงานไฟฟ้า ที่มีไดนาโมขนาด
ยักษ์ คอยปั่นพลังงานออกมาหล่อเลี้ยง ทุกครอบครัวในระบบสุริยะ นับตั้งแต่โลก
ดาวเคราะห์ทุกดวง ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์น้อย วัตถุขนาดเล็ก ชิ้นเล็กๆที่เท่ากับ
ผงธุลีโคจรในอวกาศทุกชิ้น กระทั่ง ดาวหาง ซึ่งเดินทางมาจากชายแดนสุดขอบ
สุริยะแถบ Oort Cloud อันไกลโพ้น เข้ามาได้ด้วยล้วนมีความสัมพันธ์โดยตรงกับ
ดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น

รังสี (Solar radiation) จากพลังงานความร้อนของดวงอาทิตย์ เป็นสิ่งที่น่าพิศวง สามารถทำให้อาหารสุก ตากเสื้อผ้าให้แห้ง จนเป็นพลังขับเคลื่อนสุริยะทั้งระบบ
ไม่ว่าเราอยู่ที่ใดของโลกล้วนมี รังสีดวงอาทิตย์เข้าไปมีส่วน

ระบบพัฒนาสิ่งมีชีวิตเริ่มก่อตัวจากสัตว์เซลล์เดียว ในยุคดึกดำบรรพ์กำเนิดโลก
จนเป็นเนื้อเป็นหนัง แม้แต่ หินแร่สสารธรรมชาติ  เป็นต้นทางวัตถุดิบเรานำมาแปร
รูปพัฒนาการให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิต ก็มีขบวนการทางเคมี อันมีรังสีดวงอาทิตย์
เข้าไปเกี่ยวข้อง ระบบการเติบโตของพืชต้องใช้สังเคราะห์แสง ระบบกลไกสภาพ
อากาศบนโลกทั้งหมด เกี่ยวพันกันเป็นฤดูกาล เนื่องจากดวงอาทิตย์เช่นกัน

นักวิทยาศาสตร์สาขา Astrobiology (ชีววิทยาอวกาศ) ยังติดตามข้อสงสัยที่น่าสน
ใจในประเด็นว่า อะไรที่เป็นมูลฐานชีวิตบนโลก หรือเป็นชีวิตมาจากที่อื่นและหรือ
จากการเปลี่ยนแปลงอันยาวนาน สภาพแวดล้อมของอวกาศโลก (Earth’s space
environment)

โดยข้อสงสัยมีส่วนพาดพิง ระบบของดวงอาทิตย์ เพราะเป็นพลังงานชนิดเดียวที่
สามารถครอบคลุม การเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ เชื่อมโยงกันได้ทั้งโลก
 
sunflowercosmos.org/
 
ปัจจุบันมี ยานสำรวจจำนวน 30 ลำ โคจร ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ เพื่อศึกษาระบบ
เกี่ยวข้องกันทางวิทยาศาสตร์ 3,500 เรื่อง และมีเครื่องมือวิเคราะห์กว่า 100 ประเภท
 
sunflowercosmos.org/
 
ระบบการเชื่อมโยง ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ (Earth-Sun System Connection)
1.Climate Variability and Change (การเปลี่ยนแปลงฤดูกาล และสภาพอากาศที่บ่อย)
2.Carbon Cycle and Ecosystems (เกิดวัฐจักรคาร์บอน และระบบนิเวศ)
3.Earth Surface and Interior (พื้นผิวและโครงสร้างภายในของโลก)
4.Atmospheric Composition (องค์ประกอบความกดดันของบรรยากาศ)
5.Weather (อิทธิพล ฝนฟ้า อากาศ)
6.Water and Energy Cycle (วัฐจักรน้ำและพลังงาน)
 
 
ดวงอาทิตย์ ขอแนะนำตัวให้เรารู้จัก

คำว่า Sun มาจากภาษาลาติน คือ Sol หมายถึง ดาวที่อยู่ตรงกลางระบบของสุริยะ
เส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่าโลก 109 เท่า มีขนาดใหญ่กว่าโลก 1.3ล้านเท่าจากตัว
เลขเห็นว่ามีขนาดใหญ่กว่ามากแน่

เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น นึกถึงวงกลม 2 วงโดย วงกลมแรกเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด
1.3 ซ.ม.(คือโลก) ส่วนวงกลมที่สองเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 1.5 เมตร (คือดวง
อาทิตย์) ทั้งสองชิ้น วางอยู่ห่างกัน 150 เมตร นั้นคือ ระยะที่ห่างกัน ระหว่างโลก
และดวงอาทิตย์เท่ากับ 150 ล้านกิโลเมตร ตัวเราอยู่ในวงกลมวงแรก ขนาดเท่า
กับอะตอมเดียว

ถ้าอยากรู้ว่า 150 ล้านกิโลเมตร ไกลเพียงใดให้สมมุติว่าขับรถยนต์ด้วยความเร็ว
110 ก.ม /ช.ม. โดยไม่หยุดพักเลยใช้เวลาราว 50,000 วัน (หรือประมาณ 150 ปี
จากโลกสู่ดวงอาทิตย์

ดวงอาทิตย์ใน ระบบสุริยะอื่นๆ หรือ Nearest star ใกล้ที่สุดคิดเป็นสัดส่วนห่างกัน
ราว 4,000 ก.ม. จากตัวอย่างที่สมมุติ ระยะทางที่กล่าวมา (หรือประมาณ 4.22
ปีแสง)
 
sunflowercosmos.org/
 
เพียงสัดส่วนย่อ ก็คงรู้สึกว่าไกล และใหญ่เล็กต่างกันแล้ว
 
sunflowercosmos.org/
 
การขยายตัวของดวงอาทิตย์ เป็นการจบสิ้นของโลก ขนาดดวงอาทิตย์จะครอบคลุม
พื้นที่ 2 AU. ทำให้โล เปลี่ยนแปลงตำแหน่ง ขยับออกมาอีก
 
sunflowercosmos.org/
 
ระบบสุริยะพิเศษ V 391 Pegasi (ดวงอาทิตย์) เกิดเปลี่ยนแปลงเป็นดาวยักษ์ีแดง
นานกว่า 100 ล้านปี ด้วยการขยายตัวออกมา 100 เท่า จะเกิดขึ้นไปอีกยาวนาน 5 พันล้านปี
โดยมีดาวเคราะห์ขนาดใหญ่กว่าดาวพฤหัส 3 เท่าโคจรห่างราว 1.7 AU
 
 
ดวงอาทิตย์ กำเนิดมาแล้ว เมื่อ 4.6 พันล้านปี มีองค์ประกอบก๊าซหลายชนิด เช่น
Hydrogen 92.1% - Helium 7.8% - Oxygen 0.061% - Carbon Nitrogen และ
Neon Iron Silicon บรรยากาศกดดันมากกว่าน้ำทะเล โลกถึง 340 ล้านเท่า

ทุกนาที ดวงอาทิตย์ปลดปล่อยพลังงาน ก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซฮีเลียม 700 ล้าน
ตัน โดยจะเปลี่ยนเป็นพลังงานบริสุทธิ์ (Pure energy) ได้ 500 ล้านตัน เห็นเป็น
แสงส่องมายังโลก คือ พลังงานที่เรามาใช้ประโยชน์นั่นเอง

ดวงอาทิตย์ สามารถให้พลังงานลักษณะนี้ได้อีก 5 พันล้านปี หลังจากนั้นอีก 1 พัน
ล้านปี เริ่มขยายตัวใหญ่กว่าเดิมขึ้นหลายร้อยเท่าตัว เรียกว่า Red giant (ดาวยักษ์
สีแดง) ค่อยๆแผ่รังสีความร้อนไปทั่วในระบบสุริยะ เผาโลกจนร้อน

ความร้อนแพร่ขยาย จากเดิมมหาศาลทำให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ถูกความร้อนกลืน
ไปทั้งสิ้น แล้วดวงอาทิตย์ยุบตัวลงเป็น White dwarf (ดาวแคระขาว) ขนาดเล็ก
เป็นจุดสิ้นสุดของดวงอาทิตย์ ขบวนการนี้ใช้เวลาอีกหลายพันล้านปี ดวงอาทิตย์
จึงค่อยๆเย็นลงอย่างสมบูรณ์อีกต่อไป

อำนาจและอิทธิพลของดวงอาทิตย์

ทราบกันดีว่า แสงจากดวงอาทิตย์ใช้เวลาเดินทางมาถึงโลก ใช้เวลา 8 นาที โดย
การที่แสงส่องไปถึงที่ใด ย่อมหมายความว่าพลังงานของดวงอาทิตย์ มีอำนาจแผ่
อิทธิพลไปยังบริเวณนั้นๆด้วย

ขณะนี้ทราบว่าแสงส่องผ่านไปไกล สู่นอกขอบสุริยะแบบหรอมแหรม ใกล้บริเวณ
Kuiper Belt จากการสะท้อนบน พื้นผิวของน้ำแข็งของกลุ่มดาวเคราะห์ ในแถบนั้น
ช่วงปี ค.ศ. 2007 ยานสำรวจ Voyager 1 อยู่ระหว่างการตรวจสอบสภาพแวดล้อม
อวกาศ ใกล้แนวขอบสิ้นสุดของ Heliopause (บริเวณอวกาศอันกว้างใหญ่ไพศาล
มีความสัมพันธ์กับสนามแม่เหล็ก) และพายุสุริยะ (Solar wind)

ว่าแท้จริงนั้นพลังงานดวงอาทิตย์สิ้นสุดอยู่บริเวณใดของ Kuiper Belt ซึ่งเป็นพื้นที่
คาบเกี่ยวกันของ ขอบระบบสุริยะ คงจะทราบคำตอบ ที่ชัดเจนในระยะต่อไป
 
sunflowercosmos.org/
 
ยานสำรวจ Voyager 1 กำลังตรวจสอบอิทธิพลจากดวงอาทิตย์ ว่าไกลเพียงใด
 
 
Solar radiation หรือ การแผ่ของรังสีดวงอาทิตย์ เป็นอำนาจกลไกทางเคมีไฟฟ้า
(Chemical and dynamical) จะกระตุ้นชั้นบรรยากาศ (Atmospheres) ให้เกิด
การผันแปรในทุกแห่ง ที่ Solar radiation แผ่ไปถึงโดยสามารถสร้างเปลี่ยนแปลง
องค์ประกอบของโครงสร้าง บรรยากาศและอุณหภูมิ

การศึกษา ดวงอาทิตย์ ทำให้ทราบว่า Solar radiation มีกฎเกณฑ์ต่างๆละเอียด
อ่อนมากมายต่อโลก ด้วยค่าความกว้างของการแผ่รังสี (Radiation spans the
color spectrum) ที่มีค่าของรังสี Energetic x-rays และ รังสี Infrared

จึงต้องใช้ดาวเทียม เน้นหนักติดตามตรวจสอบข้อมูลศึกษาผลกระทบ ด้านฟิสิกส์
และเคมีของสภาพแวดล้อมของอวกาศ (Space environment) ที่มีต่อระบบโลก
บริเวณช่องว่างระหว่างอวกาศ ตั้งแต่พื้นผิวโลก จรดพื้นผิวดวงอาทิตย์

ดวงอาทิตย์ มีกลไกเคลื่อนไหวด้วยตนเอง (Dynamic body) ด้วยรูปแบบแปลก
มากมาย เช่น การเปลี่ยนแปลงของเปลวเพลิงที่โชติช่วงอย่างรุนแรงชั่วขณะ
(Solar flares) การฟุ้งกระจายเปลวไฟขนาดยักษ์บริเวณพื้นผิว (Prominences
emanating) อย่างควบคุมไม่ได้

ทางสถิติพบว่า โดยประมาณทุกๆระยะ 11 ปี พฤติกรรมของดวงอาทิตย์ เรียกว่า
Solar Activityเกิดการเคลื่อนไหว ขยายตัวอย่างผันผวน บริเวณจุดดับบนดวง
อาทิตย์ (Sunspots) ด้วยกลไกธรรมชาติที่ไม่มีข้อจำกัดทำให้ บริเวณช่องว่าง
อวกาศ ใกล้พื้นผิวของดวงอาทิตย์ (รวมถึงโลก) รับคลื่นพลังงานที่เกิดจากคลื่น
สนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic waves) ชนิดเข้มข้นซึ่งมาพร้อมกับพาุยุ
สุริยะ (Solar wind)ถ้ามีผลกระทบรุนแรงเป็นวงกว้าง เรียกว่า พายุอวกาศ
(Space storm)
 
sunflowercosmos.org/
 
สภาพพื้นผิวบนดวงอาทิตย์ เหมือนบ่อหลอมโลหะในโรงงานอุตสาหกรรม
แต่จะมีค่าความร้อนสูงมากกว่า หลายร้อยเท่า

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น