Shift Earth's Axis ? : แกนโลกเคลื่อนตัว ?

 
   Shift Earth's Axis ? : แกนโลกเคลื่อนตัว ?
 
 
 
ภาพข่าวแผ่นดินไหวในประเทศชิลี เป็นการทำลายล้างอย่างเป็นที่ไม่น่าสงสัย
จากขนาดการสั่นสะเทือนของแผ่นดิน 8.8 magnitude บริเวณชายฝั่งประเทศชิลี
แสดงความแรงสุดขั้ว เกิดจากสาเหตุแกนโลกเคลื่อนตัวกระนั้นหรือ ?

ภาพรวมภายในและภายนอกของโลก

โลกมิได้มีได้มีทรงกลมเหมือนขีดด้วยวงเวียน แต่มีทรงวงรีโดย มีส่วนประกอบ
ที่เป็นพื้นทวีป (Continents) มหาสุมทร ต่างกระจัดกระจายตัวอย่างไม่สม่ำเสมอ
ซึ่งมีปริมาตร แผ่นดินบนด้านเหนือมาก และปริมาตรผืนน้ำมากในด้านใต้ ส่วน
ด้านตะวันตกมีมหาสมุทรขนาดใหญ่

จากเหตุผลดังกล่าว เกิดความ Asymmetries (อสมมาตร) ทำให้โลกหมุนแบบ
Slowly Wobbles (ส่ายไปมาช้าๆ) เพื่อให้เกิดความสมดุลของมวล (Mass-
balance) อันมีสาเหตุจากแรงโน้มถ่วง ของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ร่วมกัน
และแรงรบกวน จากดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะประกอบ

มองภายนอกโลกหมุนรอบตัวเอง มีลักษณะเป็นมุมเอียง 23.5 องศา ด้วยการ
หมุนรอบดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดฤดูกาลต่างๆขึ้น และมีเวลากลางวัน-กลางคืน

ภายในแกนกลางโลกมีลักษณะกลม ผิวขุรขระ ความร้อนสูง ประกอบด้วยเหล็ก
เป็นแหล่งกำเนิดสนามแม่เหล็กโลก โดยส่วนของแกนโลก สามารถหมุนได้อย่าง
อิสระอยู่ภายใน การสำรวจพบว่ามีความเร็วในการหมุน ราว 20 กิโลเมตรต่อปี
(หมุนครบ 1 รอบใช้เวลาราว 400 ปี)
 
 
Model to the Earth's Interior (โครงสร้างภายในของโลก)
 
 
แกนโลกเอียง 23.5 องศา
 
 
แกนโลกมีโอกาสเคลื่อนตัว

การวิเคราะห์ผลตรวจวัด โดยนักธรณีวิทยา สถาบัน Jet Propulsion Laboratory
in Pasadena, California ยอมรับว่า แกนโลก (Earth's axis) มีการเคลื่อนตัว
ราว 3 นิ้ว หรือ 8 เซนติเมตร มีความเป็นไปได้ ที่แกนจะกระดกเอียงมากกว่านั้น
ไม่สามารถคาดเดากำหนด ตัวเลขได้ล่วงหน้าว่า แกนโลกจะมีความสมดุลเมื่อใด

กรณีแผ่นดินไหวในประเทศชิลี มีความเพียงพอของวัตถุ (Material) เปลี่ยนแปลง
เพื่อให้เกิดความสมดุลของมวล ทั้งหมดของโลก ส่งผลต่อแกนโลก โดยกรณีการ
เคลื่อนตัวของแกนโลก ดังกล่าวมิใช่เป็นเรื่องใหม่

มีตัวเลขแสดงการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนตัว ของแกนโลกปีละ 10 เซนติเมตรต่อปี
ช่วง Ice Age rebound หรือ Continental rebound ครั้งใหญ่ ช่วงราว 11,000 ปี
ที่แล้ว ก้อนน้ำแข็งขนาดใหญ่ ในธารน้ำแข็งพังทะลายลง คล้ายอุทกภัยใหม่จาก
การแตกของแผ่นน้ำแข็งขั้วโลก (Ice sheets breakup) เช่นในวันนี้

การที่ Crust (เปลือกโลกหนาราว 40-60 กิโลเมตร) และ Mantle (ชั้นที่อยู่ภาย
ใต้ชั้นของเปลือกโลก ลึกลงไปสู่แกนโลก หนาประมาณ 3,000 กิโลเมตร เป็น
บริเวณที่ประกอบด้วยหินแข็ง และแร่หลายชนิด) มิได้ถ่วงให้สมดุลกัน ก่อให้เกิด
การคลายตัว (Relax) หรือการกระเด้งยกตัวขึ้น (Rebound) สะท้อนกลับขึ้นสู่
ผิวโลกเป็นจำนวนมาก โดยขณะที่เกิดการสืบเนื่องเช่นนั้น ส่งผลให้ผลักดันแกน
โลกให้เคลื่อนตัวไปตามธรรมชาติ เพื่อให้เกิด Isostasy (ดุลยเสมอภาคของ
เปลือกโลก)
 
 
แบบจำลองแสดงให้เห็นว่า มีการเปลี่ยนยกตัวสูงขึ้น ของธารน้ำแข็งสีแดงคือบริเวณการเคลื่อน
ที่ของแผ่นธารน้ำแข็ง (Ice sheets) สีน้ำเงินคือ การท่วมล้นสู่มหาสมุทร ซึ่งเป็นแอ่งต่ำกว่า
หลังจากน้ำแข็งละลาย ด้วยเหตุการยุบตัวและการแตกของธารน้ำแข็ง ซึ่งกำลังสร้างปัญหาต่อโลก
 
 
แผนที่แสดงความเข้มข้นของแนวแผ่นดินไหว บริเวณ Chile และ Haite
 
 
อาจเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับแผ่นดินไหว

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2010 ประเทศชิลี ได้รับผลกระทบ จากการเคลื่อนตัวของ
แกนโลก ส่งผลให้ระยะเวลาในหนึ่งวัน สั้นหรือช้าลงไป 1.26 ไมโครวินาที
(1 ไมโครวินาที เท่ากับ 1 ในล้านวินาที) ทั้งหมดไม่มีความสำคัญนัก เพราะผล
กระทบจากลมและน้ำขึ้น-น้ำลง ของโลกอาจส่งผลให้เวลาในหนึ่งวัน สั้นหรือช้า
ได้มากกว่านั้นนับพันเท่า เมื่อเทียบกับสาเหตุการเกิดจากแผ่นดินไหว

ในความเป็นจริงแล้ว การเคลื่อนของแกนโลกมักจะเกี่ยว หรือไม่เกี่ยวกับการเกิด
แผ่นดินไหวก็ได้ ทั้งสองกรณี

อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องยากต่อการคาดคะเน ต้องทดลองคำนวณหาค่าของการ
เกิดในอนาคตต่อไป กุญแจสำคัญคือ การใช้เครือข่าย GPS1 (Global network
of GPS receivers) ซึ่งมีความแม่นยำสูง สามารถตรวจสอบ การเปลี่ยนแปลงการ
หมุนของโลก หรือตรวจสอบหาเป้าหมาย ผลกระทบเกิดจากแกนโลก ซึ่งติดตั้ง
สัญญานบนดาวเทียมที่โคจรรอบโลก

ระบบ GPS มีความพร้อมที่จะตรวจสอบ การเปลี่ยนแปลงน้ำขึ้น-น้ำลง การเปลี่ยน
แปลงกระแสลม กระแสน้ำในมหาสมุทร และรูปแบบการเคลื่อนไหวอย่างอิสระ
ของชั้นที่อยู่ภายใต้ ชั้นของเปลือกโลก (Mantle) ขณะที่โลกหมุน

โดยนำข้อมูลมาเปรียบเทียบวิเคราะห์ผล ตามช่วงเวลา ต่อสัปดาห์ ต่อปี และต่อ
ทศวรรษ จะทำให้เกิดความก้าวหน้า ของการคาดคะเนเรื่องแผ่นดินไหวด้วย

ภาพรวม มีความเป็นไปได้ ในเรื่องการเคลื่อนของแกนโลก โดยใช้การตรวจสอบ
ด้วยคลื่นระยะไกล จากยานสำรวจรอบดาวอังคาร (Mars) เพื่อวัดหาค่าแกนโลก
ที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ ต้องการทราบเช่นกัน
 
 
Global network of GPS
 
 
ยังมีข้อสงสัย ตามหาข้อพิสูจน์

ก่อนหน้านี้ไม่สามารถวัดค่าเปลี่ยนแปลงของแกนโลกได้ กรณีแผ่นดินไหวบน
เกาะสุมาตรา เมื่อ ค.ศ. 2004 ระดับ 9.1 Magnitude พบว่าค่าสัญญานลางเลือน
มาก เชื่อว่ามีผลกระทบเปลี่ยนแปลง ที่เกี่ยวข้องกับแกนโลกน้อย

เหตุผลเพราะใกล้แนวเส้นศูนย์สูตร แกนโลกจึงอยู่ในตำแหน่งที่ลึกกว่า กรณีของ
ประเทศชิลี แม้ว่าการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวน้อยกว่า เมื่อเทียบกับการเกิด
ขึ้นบนเกาะสุมาตรา แต่สามารถสร้างการเคลื่อนตัวได้มากกว่า

ขณะนี้สถานการณ์อยู่ในชุดการสำรวจ ด้วยการประมวลผลจากคอมพิวเตอร์พลัง
สูงตลอดเวลา ด้วยแบบจำลอง ของน้ำขึ้น-น้ำลง กระแสลมและกระแสคลื่นใน
มหาสมุทร เพื่อค้นหาคำตอบของสัญญานอย่างแข็งขัน อีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
เชื่อว่าจะได้รับคำตอบที่แจ่มชัดขึ้น
 
 
ค่าการส่ายไปมาแบบปกติของแกนโลก ช่วง ค.ศ.2009
รายงานโดย International Earth Rotation Service.
(The grid is scaled in milliarcseconds (mas); 1 mas = 1/3,600,000 deg.)
 
 
 
References :

Science@NASA
Jet Propulsion Laboratory in Pasadena, California.
U.S. Geological Survey

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น