Tektites : แร่ต่างดาว หรือ สสารแก้วบนโลก

 
   Tektites : แร่ต่างดาว หรือ สสารแก้วบนโลก
 
 
 
สะเก็ดดาว คือสิ่งที่หลายคน ได้ยินแล้วเกิดความรู้สึกเป็นก้อนหิน-แร่ ที่น่าสนใจ
มีความสำคัญ มากกว่าสิ่งที่อยู่บนโลก โดยเฉพาะรูปร่างสันฐาน สีสรรที่ไม่คุ้นเคย
ยิ่งทำให้อยากสะสมเป็นเจ้าของ อย่างน้อยก็เป็นสิ่งหายาก เพราะมาจากแดนไกล
นอกโลก

สำหรับกรณีของ Tektites บ่อยครั้งพบว่าหลายคน สะสมไปพร้อมๆกับไม่แน่ใจ
ว่า เป็นสะเก็ดดาวหรือไม่ ? หรือเป็นเพียงสสารแก้ว ? หรือเป็นสิ่งประดิษฐ์จาก
ฝีมือมนุษย์? มีเหตุผลเป็นที่สงสัย ว่าทำไมจึงมีขายทั่วไป ไม่หมดเสียที่ บางครั้ง
ยังมีลักษณะแปลกๆ ออกมาให้ยลโฉม
 
 
Tektites (Australitea) พบในประทศ Australia ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่
The Natural History Museum ประเทศอังกฤษ
 
 
Tektites หลายประเภท ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ The Natural History Museum ประเทศอังกฤษ
 
 
ความหมาย-คำอธิบายจาก ตำราของ Oxford

Tektites คือ เศษเล็กเศษน้อยขนาดราว 2.5-5.0 เซนติเมตร มีองค์ประกอบของ
ซิลิกา (Silica) ส่วนประกอบของแก้ว (Glass) ลักษณะแก้วมัวไม่ทึบ แต่ไม่ใส
(Translucent black) พบได้จากการ ร่วงหล่นโปรยปราย บริเวณกว้างบนโลก
ส่วนใหญ่มีรูปทรงคล้ายหยดน้ำ หรือ คล้ายตุ้มน้ำหนัก

เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน ของวัตถุประเภทของแข็ง (Solidification)
เมื่อพบความเย็น (ชั้นบรรยากาศโลก) ขณะที่พุ่งเข้าสู่โลก เป็นการแตกกระเด็น
เกิดจากวัตถุ ประเภท ดาวหาง (Comet) อุกกาบาต (Meteorite) พุ่งชนปะทะอัด
กับโลก

โดย Tektites มีความเหมือนคล้าย กับหินบนพื้นดินเช่นโลก แม้กระทั่งสสารที่
เป็นองค์ประกอบ จึงเป็นสาเหตุแห่งการโต้เถียงกันเสมอมาว่าิ เป็นสะเก็ดดาว หรือ
หินบนโลก โดยวัตถุดังกล่าวเกิดการหลอมละลาย จากการพุ่งอัดชนปะทะแล้วพุ่ง
ทะยานสู่ชั้นบรรยากาศ หลังจากนั้นจึงตกสู่พื้นดิน
 
 
แบบแผนการเกิดขึ้นของ Tektites จาก กระเด็นแบบพ่นเป่า (Ejects)
 
 
ขยายความหมาย Tektites ให้ชัดเจนขึ้น

Tektite ถูกเรียกชื่อครั้งแรก จากการแต่งคำของ F.E. Seuss นักธรณีวิทยาชาว
Austrian ในปี ค.ศ.1900 ซึ่งมาจากภาษากรีก คำว่าTektos มีความหมาย ตรง
กับคำว่า Molten คือ ถูกละลาย หรือหลอมละลาย

อาจเรียกได้ว่า Tektites คือแก้วธรรมชาติ (อุลกมณี : แก้วที่ไม่ราบเรียบ?) พบ
ได้บนพื้นโลก เกิดจาก ดาวเคราะห์น้อย หรือดาวหางชนปะทะโดย ในครั้งตั้งแต่
หลังบรมยุคกำเนิดโลก (Birth of earth) เรื่อยมาหรือนับล้านปีมาแล้ว (หรืออย่าง
น้อยเท่าที่ทราบ 7 แสนปี)

ขณะที่พุ่งชนปะทะอัดกับโลก ด้วยพลังงานความร้อนมหาศาล จึงทำให้เกิดหลอม
ละลายกับหินที่มีองค์ประกอบของซิลิกา (Silica) แบบ Shock metamorphism
(การเปลี่ยนแปลงของหิน เมื่อถูกความร้อนของคลื่นสะท้าน) จากพลังอำนาจของ
ดาวหางหรือดาวเคราะห์น้อย ที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง

เมื่อการหลอมละลายเกิดขึ้น ทันทีทันใด วัตถุนั้นก็กระเด็นแบบพ่นเป่า (Ejects)
เป็นเศษเล็ก เศษน้อยกระจายขึ้นสู่อากาศ ถึงระดับชั้นบรรยากาศ ต่อมาในเวลา
ไม่กี่นาทีก็ตกลงสู่พื้นโลก ตามแรงดึงดูดโลก บนพื้นดินและพื้นมหาสมุทร ทำให้
พบแหล่ง Tektites ห่างจากปากหลุม การอัดปะทะเป็นแอ่ง (Crater) กระจายตัว
เป็นวงกว้างนับพันกิโลเมตร
 
 
Georgiaites (North AmericanStrewn Fields) พบจำนวน 2,500 ชิ้น บนพื้นที่ค้นหา 8,500 ตร.ไมล์
 
 
ข้อสรุปประเภท และที่มา ของ Tektites

ทางทฤษฎี ถือว่า Tektites เกิดขึ้นจากแบบแผนของอุกกาบาตขนาดใหญ่ หรือ
ดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหาง พุ่งชนปะทะอัดกับโลกอย่างหนึ่งอย่างใด เป็นการ
เกิดขึ้นลักษณะเฉพาะร่วมกับ การหลอมละลายของหินบนโลก

ซึ่งอาจมีร่องรอยของ Extraterrestrial component (ส่วนประกอบในเชิงกล-
ศาสตร์จาก สิ่งที่มาจากนอกโลก) โดยต้องตรวจสอบด้วยวิธี Isotopic ในห้อง
ปฎิบัติการ จากแบบแผนดังกล่าวเห็นได้ว่า Tektites จึงไม่ใช่สะเก็ดดาว ที่มา
จากนอกโลกเหมือนเช่น สะเก็ดดาวประเภท หิน เหล็ก หรือเหล็กปนหิน

ดังนั้น Tektites จึงไม่ได้จัดไว้ในประเภท แร่จากดาว (Meteorites) หรือสะเก็ด
ดาว เพราะ Tektites เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลก สำหรับบนบนดวงจันทร์ และดาว
อังคาร แม้ไม่ได้มีการศึกษาในเรื่องนี้ชัดเจน เชื่อว่ามี Tektites อยู่เช่นกัน แต่
บนดวงจันทร์ขาดแคลน ซิลิกา (Silica) อาจมี Tektites ในขนาดเล็กได้

สำหรับดาวอังคาร (Mars) ยังไม่เคยมีบันทึก เป็นทางการว่ามีการพบ Tektites
จากดาวอังคารตกลงบนโลก ส่วนใหญ่มักถูกอ้างอิงต่อเรื่องนี้ เพื่อผลประโยชน์
อย่างหนึ่งอย่างใด

ถ้าเช่นนั้นสามารถระบุ Tektites เป็นหินแร่เกิดบนโลกได้หรือไม่ ในวิชาแร่วิทยา
ถือว่า Tektites จัดอยู่ในกลุ่ม Mineraloids Class มีองค์ประกอบหลักของ Silica
glass (แก้วซิลิกา) อาจเจือปนด้วย Magnesium และ Iron หรือธาตุอื่นๆบ้าง

กลุ่ม Mineraloids Class ดังกล่าวนี้ เป็นการจัดอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อป้องกัน ความเข้าใจผิดที่จะนำไปไว้ใน ประเภทแร่ (Classified as minerals) เหตุผลอัน
สำคัญแสดง Tektites ไม่อยู่ในประเภทแร่ เพราะไม่มีโครงสร้างผลึก (Crystal
structure) เช่นแร่อื่นๆ ในกลุ่มนี้ ยังมีประเภท Pearl (ไข่มุก) Amber (อำพัน
-ยางสนแข็งของต้นไม้) ได้จากธรรมชาติ และ Obsidian (แก้วสีดำ) ซึ่งได้จาก
ภูเขาไฟ รวมอยู่ด้วย

ดังนั้น Tektites จึงไม่ใช่สะเก็ดดาว และไม่ใช่ หินหรือแร่ แต่เป็นสสารแก้วเกิด
ขึ้นด้วยความร้อนจากธรรมชาติ พบได้บนพื้นโลก (ส่วนใหญ่โดยนัยเป็นความคิด
เข้าใจกันไปเองว่า Tektites คือ สะเก็ดดาว)
 
 
ลักษณะบางส่วนของ Tektites ภาพจาก Meteorite-Times Magazine
 
 
ประเภทของ Tektites จากข้อมูลที่พบประมวลโดย NASA

โดยทั่วไป มีขนาดเล็กจิ๋วระดับมิลลิเมตร จนขนาดใหญ่ราว 20 เซนติเมตร แต่ที่
พบจำนวนมาก มีขนาดไม่กี่เซนติเมตร น้ำหนักไม่กี่กรัม มีสีดำคล้ำ หรือเขียวเข้ม
โดยมีรูปลักษณะ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1.Splash forms
มีลักษณะเป็นทรงหยาดของเหลว อาจมองคล้าย ทรงกลม หยดน้ำ ตุ้มน้ำหนัก
หรือเป็นแผ่นกลม ส่วนใหญ่พบในประเภทนี้

2.Ablated forms
ลักษณะที่เปลี่ยนแปลงขณะผ่านชั้นบรรยากาศ ด้านหัวพุ่งสู่โลก คล้ายกับกระสวย
อวกา่ศกำลังพุ่งเสียดสีกับอากาศ จนเกิดการไหม้ที่ส่วนหัว และมีความกดอัดของ
ความร้อนหลอมละลายกับพื้นผิวด้านหน้า

3.Material from
ลักษณะที่เกิดขึ้นจากความร้อนนั้น ไหลท่วมเป็นรอบวงของวัตถุ ด้านหัวพุ่งสู่โลก
ทำให้เกิดสันปีกออกโดยรอบเป็นการป้องกันการไหม้ สู่ด้านท้าย
 
 
ลักษณะบางส่วนของ Tektites ภาพจาก Corning Museum of Glass (Corning, NY)
 
 
Rizalite (Australasian strewnfield - Philippines) ภาพจาก Meteorite-Times Magazine
 
 
ตำแหน่งจุดสีแดง คือ ปากหลุมที่ถูกพุ่งชนอัดปะทะ (Crater) ในทะเลลึกครั้นอดีตหลายแสนปี
เป็นแหล่งนำตัวอย่างมาวิเคราะห์ เพื่อหาสมมุติฐาน Strewn Fields แสดงพื้นที่สีเขียว (ในภาพ)
AA = Australasian Strewn Fields,CE = Central European Strewn Fields ,
IC = Ivory Coast Strewn Fields และ NA = North AmericanStrewn Fields
 
 
แหล่งค้นหา Tektites บนโลก

การค้นหา Tektites ไม่สามารถค้นพบแบบเดาสุ่มได้ แม้ว่ามีอยู่บนพื้นโลกก็ตาม
การตกโปรยปรายเป็นอาณาเขตกว้าง นับแสนตารางกิโลเมตรแต่ละแห่งบนโลก
พบ Tektites มีลักษณะเฉพาะต่างกัน ด้วยความหลากหลาย

โดยทั่วไปการสืบค้นแหล่ง Tektites พิจารณาจาก บริเวณอดีตของพื้นที่ที่ถูกชน
อัดปะทะจากดาวหาง หรือดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ เกิดเป็นหลุมการอัดปะทะ
เป็นแอ่ง (Crater)

Tektites ตกอยู่อย่างกระจัดกระจาย จมอยู่ในผิวดิน หรือในทะเลของตำบลที่ตั้ง
นั้นๆเรียกว่า Strewn fields (บริเวณที่โปรยปราย) วิธีการตรวจสอบหา Tektites
และ Microtektites โดยศึกษาการเปลี่ยนแปลงสถานะ Oxidation และ Fe ในแร่
และหินบริเวณเปลือกโลก จากนำตัวอย่างมาวิเคราะห์ทางเทคนิคเรียกว่า XAS
spectroscopy

การพบในแต่ละตำบลที่ตั้ง จะเรียกเป็นชื่อเฉพาะขึ้น เช่น บริเวณที่โปรยปรายเขต
North American strewn field ในรัฐ Georgia เรียกว่า Georgiaites ส่วนบริเวณ
Australasian strewn fields แถบสมุทรอินโดไช่น่า เรียกว่า Indochinites เป็นต้น

Tektites ตามรายงานพบได้ 4 แหล่งคือ
1.European strewnfield
2.Australasian strewnfield
3.North American strewnfield
4.Ivory Coast strewnfields

ข้อมูลบางสถาบัน ระบุถึงการพบ Tektites ใหม่ครอบคลุม บริเวณ Indochinese
peninsula (คาบสมุทรอินโดไชน่า) เป็นวงกว้าง แถบเอเชียใต้ ซึ่งประกอบด้วย
ไทย เวียดนาม กัมพูชา ลาว จีนตอนใต้ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย อาจเป็น
เพียงสมมุติฐาน เพราะแถบดังกล่าวนั้นยังไม่มีหลักฐานของ การอัดปะทะ เป็นแอ่ง
(Crater) ชัดเจนนัก ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์สำคัญเชื่อมโยงแหล่ง Tektites จึงยังเป็น
ข้อกังขา ด้วยความประหลาดใจ
 
 
Australites (Australasian strewnfield) ภาพจาก Meteorite-Times Magazine
 
 
Australite (Australasian strewnfield) ภาพจาก Meteorite-Times Magazine
 
 
ทฤษฎีใหม่ ของการกำเนิด Tektites

ในปี ค.ศ. 2004 วารสาร Royal Astronomical Society of Canada (สมาคม
ดาราศาสตร์แห่งแคนาดา) กล่าวถึง Tektites ว่าเกิดขึ้นจากระบบวงแหวน (Ring
system) หมุนโคจรรอบโลก ซึ่งเป็นวงแหวนของโลก เช่นเดียวกับ วงแหวนของ
ดาวเสาร์ (Saturn) ที่เห็นในวันนี้

ลักษณะการเกิดขึ้น ด้วยวัตถุขนาดใหญ่ ชนโลกแล้วแตกออก (ซึ่งเป็นเหตุผล
เดียวกับทฤษฎี การกำเนิดดวงจันทร์จากโลก) จากนั้นกระจายตัวออกไปโคจร
รอบโลก แบบเช็ดถูกันจนเป็นเศษเล็กเศษน้อย กระจัดกระจายภายหลังหายไป
เพราะมีการชนปะทะ จากความเสื่อมลงของระบบวงแหวน ทำให้ลดต่ำลงสู่ชั้น
บรรยากาศ จนกระทั่งตกโปรยปรายบนพื้นโลกเป็น Tektites

เงื่อนไขการเกิดวงแหวนโลก ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบ (สสาร) ของโลกและจำนวนที่มาก
ส่วนลักษณะที่เป็นเม็ดฟอง ลักษณะไหม้เกรียม และรูปทรงที่พบเห็นนั้น เกิดจาก
การพุ่งเข้าสู่โลกจากการเสียดสี ในสถานะหลอมละลาย

ดังนั้น Tektites อาจเป็นสิ่งที่มาจากนอกโลก หากในกรณีพิสูจน์ได้ว่า โลกเคย
มีระบบวงแหวนเมื่อนับหลายล้านปี โดยเปรียบเทียบกับข้อพิสูจน์อายุ Tektites
โดยทั้งหมดเป็นแนวคิดใหม่ แต่ไม่แพร่หลายนัก
 
 
Billitonite (Australasian strewnfield-Philippines) ภาพจาก Meteorite-Times Magazine
 
 
Moldavite (Central European Strewn Fields -Germany) ภาพจาก Meteorite-Times Magazine
 
 
กรณีเข้าใจผิดการสะสม Tektites

ด้วยขณะนี้ส่วนใหญ่ ยอมรับว่า Tektites เป็นสสารแก้วที่เกิดขึ้นบนโลก แต่ความ
สำคัญคือ มีรูปทรงมีเสนห์ และมีความหลากหลายมาก จนบางครั้งงุงงนกับรูปร่าง
ที่แปลกตาออกไป จากการพบขึ้นใหม่

นอกจากนั้นยังมากมายด้วยทฤษฎี การตกลงสู่พื้นผิวโลก ที่ให้เกิดรูปทรงสันฐาน
ในแบบต่างๆ ของระยะตกโปรยปราย ของแหล่งที่มีความต่างทางเคมีและอายุ
ของ Tektites ซึ่งเป็นเหตุผลที่เป็นไปได้ และเป็นไปไม่ได้

แต่สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งคือ Tektites มีความเหมือนคล้ายคลึงกับ (แก้วสีดำได้จาก
ภูเขาไฟ) ซึ่งมีอยู่ทั่วไปทุกๆแห่งบนโลก ที่มีภูเขาไฟ (Volcanoes) ดังนั้นอาจเป็น
สิ่งที่เข้าใจผิดได้ ต่อการสะสม Tektites ได้ในกรณีหนึ่ง
 
 
Obsidian บนพื้นดินในประเทศตุรกี
 
 
Obsidian มีองค์ประกอบของแก้วเช่นกัน
 
 
ความเข้าใจที่ถูกต้องในการสะสม Tektites

1.ความจริง Tektites คือแก้ว หรือมีความคล้ายแก้ว และแตกหักได้เช่นแก้ว

2.ยอมรับได้ว่า Tektites มีลักษณะเฉพาะ เป็นแก้วบริสุทธิ์ โดยไม่ได้เกิดขึ้นจาก
ภูเขาไฟ ไม่มีการตกผลึก (Crystal structure) ภายในมีองค์ประกอบของน้ำน้อย
มาก บางครั้งมักเรียกว่า แก้วแห้ง

3.Tektites เกิดการก่อตัวในธรรมชาติ จาก เซลิก้า (Silica) ด้วยความร้อนสูงมาก
และมีความเป็นอสันฐาน (รูปร่างไม่แน่นอน)

4.Tektites บางครั้งมีส่วนประกอบขนาดเล็กของธาตุ Nickel (Ni) และ Iron (Fe)
จึงมีผลให้มีปฎิกิริยากับแม่เหล็กได้

5.Tektites มีความเป็นสื่อของแสง (Transmitted light) พบว่ามีสี ดำแกมเขียว
จนน้ำตาลเข้มจัด, เขียวมะกอกจนเขียวหยก, สีทองอำพัน,สีเหลืองคล้ายฟาง,
(สำหรับสีม่วง ม่วงแดง ยังไม่สรุปผล)

จากเหตุผลดังกล่าว และด้วยความหลากหลายของ Tektites จึงเป็นช่องทางใน
ก่อให้เกิดการเข้าใจผิดได้ง่าย แม้มีวิธีตรวจสอบเบื้องต้น จากข้อแนะนำของผู้
เชี่ยวชาญการสะสมก็ตาม

เชื่อว่าแม้กระทั่งนักธรณีวิทยา หรือนักดาราศาสตร์ อาจไม่สามารถลงความเห็น
จากการเพียงมอง Tektites เท่านั้น เช่นเดียวกับความเข้าใจผิด เรื่องสะเก็ดดาว
(Meteorite wrongs) ของคนทั่วไป ยกเว้นทำการตรวจสอบในห้องปฎิบัติการ

วิธีที่ดีที่สุด หากประสงค์จะสะสม Tektites จะต้องศึกษาอย่างละเอียดรอบครอบ
เนื่องจากมีรายละเอียดมาก ลักษณะเฉพาะปลีกย่อย ไม่สามารถตัดสินได้ จาก
ภาพถ่ายที่เห็น ข้อความที่ระบุ ซึ่งส่วนใหญ่อาจไม่ตรงกับความจริง โดยเฉพาะ
eBay หรือแหล่งขายที่มักกล่าวอ้างสรรพคุณ แบบเหนือความจริง ควรพิจารณา
อย่างถี่ถ้วน ด้วยหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ หรือบางแหล่งสามารถสั่งซื้อได้ใน
ปริมาตรมากๆ นับหลายกิโลกรัม ถือว่าผิดปกติ

อย่างไรก็ตาม การอธิบายขยายความในเรื่องนี้ มิได้มีความมุ่งหมายให้ยุติการ
สะสม Tektites เพียงแต่ต้องการให้เกิดความเข้าใจต่อเรื่องนี้ อย่างชัดแจ้งและ
โดยทั่วไปยังเป็นที่นิยมการสะสม ศึกษาอย่างต่อเนื่อง ระดับสมาคมในหลาย
ภูมิภาคทั่วโลกอย่างกว้างขวาง
 
 
 
References :

NASA
Aubrey Whymark
Richard Jakiel
Oxford : Earth sciences
Lunar and Planetary Institute
Meteorite-Times Magazine
Meteorite Association of Georgia

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น