แนวคิดความเชื่อ-ความเข้าใจ เรื่องจักรวาล [หน้า 3/4]

 
  แนวคิดความเชื่อ-ความเข้าใจ เรื่องจักรวาล [หน้า 3/4]
 
 
หลักฐานการศึกษา แผนภูมิจักรวาลวิทยาแบบ Cosmogony เมื่อ 150 ปีที่แล้ว
แสดงตัวตนของโลก หมุนในระบบจักรวาล
 
 
หลักฐานการศึกษา แผนภูมิจักรวาลวิทยาแบบ Cosmogony และดาราศาสตร์ เมื่อ 150 ปีที่แล้ว
 
 
ลำดับความหมาย จักรวาลวิทยา

ในคำอธิบายที่ต่างกัน ดั้งเดิม จากภาษากรีก Cosmogony หรือ Cosmogeny เป็น
ความหมายเกี่ยวกับทฤษฎี การกำเนิดอันคงความเป็นอยู่ หรือมูลฐานดั้งเดิมของ
จักรวาล (Origin of the universe) หรือความเป็นจริงของจักรวาลที่ผ่านมา

Cosmos มีความหมายยึดถือ วิทยาศาสตร์อวกาศและดาราศาสตร์ เป็นการศึกษา
เชิงทฤษฎี (เกี่ยวข้องเป็นลำดับชั้นในคำว่า Universe) อธิบายถึง มวลสสารและ
พลังงาน (Matter and energy) เป็นสิ่งที่บรรจุอยู่ใน ช่องว่างอวกาศระหว่างแต่ละ
กาแล็คซี่ (Intergalactic space) โดยทั่วไป รวมถึงโลกและบริเวณที่คิดว่ามนุษย์
สามารถดำรงชีพได้ มีรูปทรงหรือขอบเขตในอวกาศ

Cosmology เป็น คำที่นิยมใช้ ในความหมายการศึกษา ภาพรวมของจักรวาลเชิง Physical cosmology (ฟิสิกส์จักรวาลวิทยา) เพื่ออธิบายทางกายภาพ ด้วยทฤษฎี
ที่มนุษย์เข้าใจ ในเงื่อนไขค้นหาเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์ เรื่องกำเนิด การวิวัฒน์
รวมถึงจุดจบ ของจักรวาล ด้วยการสังเกตการณ์ (Observation) และการทดลอง
(Experiment) ทำให้เข้าใจด้านกายภาพ สันฐานจักรวาล รวมทั้งใช้คณิตศาสตร์
(Mathematics) รวมเข้ากับการสังเกตการณ์ (Observation) เพื่อการวิเคราะห์ผล
หาคำตอบจักรวาล เป็นศึกษาที่มองจากโลกไปสู่อวกาศ (อนาคตเงื่อนไขนี้อาจ
เปลี่ยนไป ด้วยเทคโนโลยีใหม่ สามารถบรรลุผล ส่งมนุษย์ข้ามกาแล็คซี่ เป็นการ
สำรวจยังพื้นที่จริง ซึ่งเป็นความต้องการของนักวิทยาศาสตร์) ซึ่งเป็นขบวนการ
ใช้สำหรับการอธิบาย วิชาจักรวาลวิทยาสมัยใหม่ (Modern cosmology)

ด้วยจักรวาลมีความใหญ่โตมาก เรื่องราวซับซ้อนทุกด้านและระยะเวลาเบื้องหลัง
ที่ผ่านพ้นมายาวนานก่อนมนุษย์เกิด เพราะฉะนั้น บันทึกเรื่องจักรวาล จึงมีหัวข้อ
ไปเกี่ยวพันเชื่อมโยงกัน ในศาสตร์ต่างไปทั้งหมด

จึงแตกแขนงปลีกย่อยออกมาอีก ทั้งนี้ขึ้นด้วยกับประเด็นที่จะศึกษา ความเชี่ยว
ชาญ ความสามารถเฉพาะ เช่น Astrophysics (ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ส่วนหนึ่งของ
ดาราศาสตร์) Astronomy (ดาราศาสตร์) Space science (อวกาศวิทยา) เป็นต้น

ทั้งนี้ยังแตกออกเป็นการศึกษา เฉพาะเป็นเรื่องๆออกไปได้อีก ของแต่ละหัวข้อ
อย่างไม่รู้จบ จากเงื่อนไขความรู้ใหม่ เช่น Extrasolar System (ระบบสุริยะพิเศษ)
Space biology (ชีววิทยาอวกาศ) Extraterrestrial Intelligence (สิ่งทรงปัญญา
ในจักรวาล) เป็นต้น
 
 
Extrasolar System (ระบบสุริยะพิเศษบางแห่ง) มีดวงอาทิตย์ขึ้น-ตก พร้อมกัน 2 ดวง
 
 
Space biology (ชีววิทยาอวกาศ) สืบค้นต้นกำเนิดชีวิตมนุษย์ จากองค์ประกอบเคมีในอวกาศ
 
 
การอธิบายจักรวาลแบบดั้งเดิม ที่ยังไม่จางหายไป

เมื่อ ค.ศ. 1730 นักปราชญ์ ชื่อ Christian Wolff ได้นำมาใช้ในความหมายที่กว้าง
ขวางขึ้น รวมเข้าด้วยศาสตร์หลายแขนงคือ วิทยาศาสตร์ ปรัชญา ศาสนาและลัทธิ
ความเชื่อ (ที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์)

สำหรับระหว่างความหมายคำว่า ลัทธิศาสนา (Religion) และศาสตร์ในระเบียบแห่ง
เหตุผล (Science : ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าวิทยาศาสตร์ ที่เกิดจากการทดลอง)
นำมาให้เห็นเป็น ภาพรวมปรัชญา ของอภิปรัชญา (Metaphysical cosmology)
หรืออาจแปลความทางตรง ว่า จิตจักรวาล

สามารถขยายความเพิ่มเติม เป็นลักษณะสัมผัสพิเศษ ด้วยอำนาจใดๆก็ตามอาจ
เกิดขึ้นด้วยพลังงานธรรมชาติ ของจักรวาล จิตวิญญาญ บางกรณีพาดพิงเกี่ยวข้อง
กับลางสังหรณ์ หรือขั้นสมมุติขึ้นเอง อาจเกิดจากประสบการณ์ หรือการสังเกตุเห็น

ความรู้ด้าน Metaphysical cosmology มักมีรายงานเกิดขึ้นกับบุคคล ที่สามารถ
ท่องไปในจักรวาลได้ หรือท่องไปในพื้นที่ต่างๆ สามารถเห็นสิ่งที่เล็กกว่าอะตอม
โดยไม่สามารถอธิบาย ในหลักการแบบชัดเจนที่พิสูจน์ให้หายข้อสงสัยได้

ครั้นหนึ่งเคยมีทฤษฎี Aristotle's theory of universals ยุคโบราณพยายามหาคำ
อธิบาย โดยมี Marcus Aurelius (จักรพรรดิ์แห่งโรม) ทดลองผลแต่ไม่ประสบผล
จึงถูกยกเลิกไปด้วยสถาบันปรัชญาศาสตร์ในยุคนั้น เหตุผลว่าน่าเป็นการนึกคิดเอง

แต่ Stanford Encyclopedia of Philosophy (สารานุกรมวิชาปรัชญา) กลับยอม
รับในทางตรงกันข้าม ได้วิเคราะห์ข้อมูลบันทึกว่า Marcus Aurelius (จักรพรรดิ์
แห่ง โรม) มิได้เป็นลาง สังหรณ์ หรือคิดเอง แต่มีหลักคิดและเข้าใจควบคุมโดย
อิสระในธรรมชาติของจักรวาล

อย่างไรก็ตาม จักรวาลวิทยา (Cosmology) บ่อยครั้งมีนัย ในแนวคิดเชิงอภินิหาร
ทางลัทธิศาสนาหาเหตุผล อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ให้เป็นจริงเป็นจังหรือ บางกรณีเป็นแนวคิดจาก Cosmogony (การศึกษาเกี่ยวกับต้นกำเนิดจักรวาล) และ
เรื่องการพิพาษานรกสวรรค์ (Eschatology) ของจักรวาลมารวมกันให้เป็นเรื่องราว
ของ Religious cosmology (แนวคิดลัทธิทางศาสนาและจักรวาลวิทยา) เพื่อให้
มนุษย์เข้าใจจักรวาลอีกแง่มุม

เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องเกิดขึ้นพร้อมๆกันระหว่าง ศาสนา ปรัชญา ความลับจักรวาล
(ที่มีคนรู้น้อย) ทำให้โดดเด่นต่อลัทธิความเชื่อทางศาสนา สืบต่อกันอย่างยาวนาน
มักจัดทำด้วยผู้รอบรู้ เข้าใจจหลักปรัชญาชั้นสูง เน้นย้ำเรื่องจิตวิญญาน
 
 
Christian Wolff นักปราชญ์ ชาวเยอรมัน
 
 
นักปราชญ์ และกษัตริย์โบราณ ที่เกี่ยวข้องกับ Aristotle's theory of universals
 
20
สิ่งที่ขาดหายไป ในแต่ละเรื่อง

ความจริง ความเชื่อ และความเข้าใจ ย่อมเป็นพื้นฐานแห่งปัญญา ในทุกศาสตร์
เมื่อเป็นความจริง แต่ไม่เชื่อ หรือ เชื่อแต่ไม่ใช่ความจริง หรือ เป็นความจริงและ
เชื่อด้วยความไม่เข้าใจ เป็นเรื่องลำบากต่อการเรียนรู้

วิทยาศาสตร์ เป็นคำศักดิ์สิทธิ์แห่งยุค รายงานวิทยาศาสตร์ สถาบันที่มีชื่อเสียง
เป็นสิ่งที่ชวนเชื่อ แต่ทั้งหมดไม่เคยถูกต้องได้ 100% หากจะถูกต้องในยุคหนึ่ง
แต่อาจจะไปผิดพลาด ในอีกยุคหนึ่ง ด้วยเทคโนโลยีของเครื่องมือ ตัวอย่างเช่น
ข้อมูลใหม่ทางช้างเผือกหรืออีกหลายเรื่องไม่เข้าใจ เช่น อีเล็คตรอนกลายพันธ์
เป็นต้น จึงต้องรอการพิสูจน์ไปตามลำดับเพื่อให้เข้าใจเพิ่มขึ้น จนเป็นความจริง
และเชื่อต่อไป

ทั้งนี้หากเราศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เช่น นักวิทยาศาสตร์แท้ๆพบว่า ข้อมูลรายงาน
การค้นคว้าใหม่นั้น มีจำนวนมากที่ยอมรับกันว่า เรายังไม่รู้อย่างสิ้นสงสัย หรือยัง
ไม่แน่ใจนัก ในวันนี้แม้แต่บนพื้นโลก เรายังสำรวจและรู้จักพืชยังไม่หมด หรือใน
มหาสุมทรยิ่งเป็นเรื่องใหญ่ ส่วนที่ลึกที่สุด มนุษย์ลงไปได้เพียงราว 11 กม.เท่านั้น
และเรายังต้องงุนงงกับ สัตว์ที่แปลกประหลาดใหม่ๆ ซึ่งอาศัยอยู่บนโลกในสภาพ
ต่างกับที่เคยเข้าใจ

ส่วนคำว่า จิตวิญญาน ที่มักจะนำมาผสมรวมในเชิงความรู้ด้านจักรวาล โดยเฉพาะ
ในรูปแบบอภินิหาร จะด้วยความพ้องที่ตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็ตาม เพื่อสร้างความ
พิเศษและอภินิหาร เช่น เรื่องมนุษย์สามารถสัมผัสรังสีจักรวาล เป็นสิ่งน่ากังวลใจ
ซึ่งเป็นความจริงที่ไม่เข้าใจ

ดังนั้น ความจริง ความเชื่อและความเข้าใจ ต้องประกอบเข้าด้วยกันให้สมบูรณ์ต่อ
การศึกษาด้านจักรวาลไม่ว่าในรูปแบบใดก็ตาม เพราะทุกอย่างมิใช่เป็นสูตรสำเร็จ
 
 
Hubble Space Telescope Science Institute
 
 
มนุษย์เชื่อและเข้าใจจักรวาลกันแบบไหน
โดยแบ่งแนวคิดออกเป็น 2 ประเด็นใหญ่ คือ

เนื้อหาการเกี่ยวข้องกับกระบวนการวิทยาศาสตร์

ข้อพิสูจน์ จักรวาล ด้วยปรากฏการณ์ด้านฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์ที่มนุษย์เห็นโดยมี
รากฐานจากแรงดึงดูด ระหว่างสสารและพลังงาน มีเงื่อนไขของเวลาในอวกาศ
ด้วยความสัมพันธ์ของขนาดโครงสร้าง และความเคลื่อนไหวสิ่งต่างๆในจักรวาล
ทั้งมวล ความเป็นจริงเหตุผลสำคัญ

วิชาจักรวาลวิทยา เป็นวิชาที่ใหญ่ที่สุดของโลก มีแขนงวิชาต่างๆเข้าไปเกี่ยวข้อง
กับทุกสิ่งในจักรวาลรวมถึงโลก มนุษย์ สัตว์ ฯลฯ หรือ สิ่งที่สามารถดำรงชีพได้ใน
สถานะต่างๆ บนอาณาเขตอื่นๆของจักรวาล

จึงมีความแตกต่าง จากเงื่อนไขจากบนโลกที่เราเข้าใจ มักเน้นศึกษาไปในข้อมูล
สิ่งที่อยู่นอกอาณาเขตของโลกเป็นหลัก จักรวาลวิทยาเป็นศาสตร์เชิงประจักษ์
เช่นเดียวกับวิทยาศาสตร์ ที่ใช้วิธีการวัด คำนวณ

การพิสูจน์จากความเป็นจริง และการทดลอง เพื่อวิเคราะห์ปรากฏการณ์ เมื่อได้
แสดงผลออกมาว่า บางอย่างนั้นไม่มีอยู่จริง คงต้องยอมรับตามนั้นเพราะเป็นการ
พิสูจน์กันด้วย ประสบการณ์ของมนุษย์

หากแสดงผลว่าบางอย่างยังไม่พบ ไม่ได้หมายความว่า ไม่มี การศึกษาเพื่อความ
เข้าใจ เรื่องจักรวาลวิทยาต้องยึด ถือความเป็นจริงตามระบบธรรมชาติ ของทั้ง
จักรวาลอย่างชัดแจ้งและมั่นคง โดยมิเพียงแต่ยึดเหตุผล เฉพาะกฎเกณฑ์ เช่น
เดียวกันกับบนโลกเท่านั้น

ในหลายกรณี ของจักรวาลวิทยา อยู่บนเงื่อนไขของการตั้งสมมุติฐานจากความ
สงสัยแล้วสืบค้นหาพยานหลักฐาน เพื่อนำมาแก้ข้อสงสัย ด้วยการทดลองพิสูจน์
ตามขบวนการที่ยอมรับทางวิทยาศาสตร์ จนสำเร็จผลเป็นทฤษฎีโด่งดัง

แต่บาง ทฤษฎีก็ล้มเหลวอย่างไรก็ตาม ไม่เคยมีทฤษฎีใดที่ถูกยอมรับโดยไม่มีข้อ
โต้เลย ความเข้าใจพื้นฐานในด้านต่างๆ เช่น ดาราศาสตร์ ธรณีวิทยา ฟิสิกส์ และ
ชีววิทยาเป็นเพียงส่วน จะช่วยการอธิบายถึงข้อเปรียบเทียบระหว่าง สิ่งเดิมที่เรา
ทราบ กับสิ่งที่ค้นพบใหม่ได้ง่ายและเข้าใจ

โดยเนื้อแท้ จักรวาลวิทยาไม่ใช่ เป็นวิชาที่ทันสมัยแต่เป็นวิชาความรู้ย้อนหลังไป
ในอดีตก่อนโลกเกิด และต้นทางจักรวาลดึกดำบรรพ์ที่ถือกำเนิด การมองว่าวิชา
จักรวาลวิทยา ทันสมัยมีเทคโนโลยีสูงนั้นเพราะต้องใช้เครื่องมือที่ทันสมัยในการ
เหตุผลพิสูจน์ต่างหาก
 
 
Large Synoptic Survey Telescope (LSST)
 
 
เครื่องมือการสำรวจโบราณ ได้ข้อมูลที่มีข้อจำกัดในอดีต
 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น