ว่าด้วยต้นวงศ์วานของดวงอาทิตย์
ทางทฤษฎี สมาชิกดาวของกระจุกดาว จะมีตำแหน่งทอดระยะทางออกกว้างและ
ไกล ในกลุ่มอาจมีดาวโชติช่วงสว่างไสวและสลัวๆปะปนกันไป เป็นเรื่องปกติ หาก
มีข้อมูลเพิ่มเติมจากการสำรวจ อาจสามารถมีคำตอบต่อ จุดกำเนิดกระจุกดาวของ
ดวงอาทิตย์ได้
เพราะระบบสุริยะของเรา หมุนวนเป็นวงกลม ไปรอบๆบริเวณ Galactic disk และ
มีระยะห่างจากจุดศุนย์กลางของกาแล็คซี ทางช้างเผือก(Center of Milky way)
ราว 30,000 ปีแสงมีระยะสูงกว่าระนาบของทางช้างเผือก (Plane of milky way
galaxy) ราว 15 ปีแสง หมุนโคจรด้วยความเร็ว 234 กม./วินาที ซึ่งที่ผ่านมาได้
โคจรเป็นวงกลม มาแล้ว 27 รอบจนปัจจุบัน
ลักษณะการโคจรมิใช่เป็นการวิ่งวนรอบ (เหมือนโลก โคจรรอบดวงอาทิตย์)
แต่มีความซับซ้อนมากมายที่มั่นคง โดยสนามแรงโน้มถ่วง (Gravitation field)
ของกาแล็คซี่
ถ้ามองย้อนกลับไป เห็นได้ว่าสนามแรงโน้มถ่วง มิได้มีการเปลี่ยนแปลงตลอด
4.6 พันล้านปี จากแนวผังย้อนเวลาของเส้นทางโคจร พิจารณาด้วยเหตุผลทั่วไป
จะพบตำแหน่งกำเนิด ดวงอาทิตย์ ห่างจุดศุนย์กลางของกาแล็คซี ทางช้างเผือก
33,000 ปีแสง และมีระยะสูงกว่าระนาบของทางช้างเผือก (Plane of milky way
galaxy) ราว 200 ปีแสง
แต่อะไรคือปริศนา ในคำตอบเรื่องความพอเพียงของธาตุหนัก (Heavy elements)
ซึ่งมีอยู่ในเขตชั้นในของกาแล็คซี เมื่อจุดกำเนิดดวงอาทิตย์ ห่างออกมามากและ
เป็นตำแหน่งที่ขาดแคลนธาตุหนัก อันเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบชีวิตบน
ระบบดาวเคราะห์ในจักรวาล
ซึ่งอย่างน้อย จุดกำเนิดดวงอาทิตย์ ควรมีตำแหน่ง ห่างจากจุดศุนย์กลางของ
กาแล็คซี ทางช้างเผือก 9,000 ปีแสง จึงถือว่ามีธาตุหนักเพียงพอ
อีกหนทางหนึ่งซึ่งมีความเป็นไปได้ การปรากฎขึ้นของ Supernovas ทำให้สร้าง
เมล็ดพันธ์ุจากเศษสะเก็ดดาว ด้วย Iron 60 (เกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียส
ของดาว) เป็นธาตุหนักพุ่งจากระยะไกลเข้าสู่ดวงอาทิตย์ในยุคนั้น และปรากฎ
เป็น Nickel 60 จากตัวอย่างหลักฐานที่พบ
หรืออีกกรณี เกิดการโคจรแบบผิดทิศทาง เหตุจากการเปลี่ยนแปลงสนามแรง
โน้มถ่วง เพราะว่าทางโคจรมีการขยับเบี่ยงเบน โดยแรงดูดดึงของดาวใกล้เคียง
หรือจากความกดดันของกลุ่มหมอกก๊าซขนาดใหญ่ ในขณะที่ผ่านเข้าใกล้ ซึ่งหาก
ดวงอาทิตย์มีจุดกำเนิดใกล้ศูนย์กลาง ของกาแล็คซี่หลักการนี้จะมีความถูกต้อง
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น