มหกรรมโครงการยักษ์ พิทักษ์โลก [หน้า 1/2]

 
     มหกรรมโครงการยักษ์ พิทักษ์โลก [หน้า 1/2]
เป็นแนวคิดที่พิลึกเพื่อพิทักษ์รักษาโลก ด้วยความจริงจังของเหล่า
นักวิทยาศาสตร์ ชั้นหัวกะทิและสถาบันที่มีชื่อเสียงทำให้เกิดข้อถกเถียงกัน
ด้วยเหตุผล และปัญหาในด้านต่างๆที่จะตามมาเช่น แทนที่จะตัดทอนลดการเกิด
Carbon dioxide ที่ต้นทางกลับพยายามถอยหลังเข้าคลองอย่างเลวร้าย

เราอาจมองดูน่าขัน แต่ความคิดเหล่านั้นอาจมีช่องทางพัฒนาไปสู่เงื่อนไข
และวิธีการที่ดีกว่าก็ได้ ในอนาคตของนักวิทยาศาสตร์รุ่นต่อๆไป
แต่บางโครงการ มีความเป็นไปได้ น่าสนใจ นำมาใช้อย่างกว้างขวางแล้ว

อนึ่งภาพประกอบส่วนใหญ่ ได้จัดเขียนและดัดแปลงขึ้นใหม่
เพื่อให้น่าสนใจขึ้นจากเค้าโครงเดิม เนื่องจากขนาดภาพต้นฉบับมีข้อจำกัด
 
ร่มอวกาศ บังแสงสุริยะ
 
 
Solar umbrella

แนวคิดดังกล่าวเกิดจาก University of Arizona astronomer เรียก Sun shade
หรือ Solar umbrellaโดยประดิษฐ์เหมือนยานอวกาศขนาดเล็ก ลักษณะเป็นแผ่น
แบนราบ ให้ลอยตัวในอวกาศ ที่ตำแหน่งโคจรระหว่างโลก และดวงอาทิตย์ คล้าย
ร่มบังความร้อน ตรงมุมที่ส่องมายังโลก สามารถสกัดกั้นรังสีความร้อนจากดวง
อาทิตย์ได้

การประดิษฐ์ Solar umbrella เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 ฟุต
มีแถบเล็กๆโผล่ออกมา ด้านข้างคล้ายหูจำนวน 3 แถบยาวไม่กี่นิ้วไว้สำหรับบังคับ
จังหวะองศาในระยะไกล ทั้งหมดถูกขนส่งโดยจรวดลำเลียง (Shields stacked
insidecapsule) ไปยังบริเวณที่กำหนด

ปัญหาของโครงการ

แต่ละครั้งขนส่งด้วยจรวดลำเลียง เที่ยวละ 800,000 ชิ้น โดยทั้งหมดจะต้องใช้ใน
โครงการดังกล่าว16 พันล้านชิ้น หรืออาจมากกว่า ต้องใช้การขนส่ง 20 ล้านเที่ยว
มีน้ำหนักวัตถุดิบ 20 ล้านตัน การผลิตใช้งบประมาณอย่างน้อย 4 พันล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ใช้ระยะเวลา
30 ปี แต่ทั้งนี้เป็นการลดค่ารังสีจากดวงอาทิตย์ มิใช่เป็นการ
ลด
Carbon dioxide โดยตรง
 
 
 
ต้นไม้เหล็ก และอนุสาวรีย์ ยุคพายุก๊าซคาร์บอน
 
 
Artificial trees

ประดิษฐกรรมเก็บกัก Carbon dioxide ด้วย Artificial trees เป็นลักษณะต้นไม้
เทียม แนวคิดของ Professor Klaus Lackner นักฟิสิกส์-ธรณีวิทยา Columbia
University

โดยมีองค์ประกอบขึ้นทางเคมี เป็นการเลียนแบบธรรมชาติระบบต้นไม้และใบไม้
เพื่อจะลดปริมาณของ Carbon dioxide จากบรรยากาศ โดยดูดเก็บไว้ในชั้นลึก
ของใต้ดิน ให้มีความปลอดภัยและถาวร

โครงสร้างของ Artificial trees สูง 200 ฟุต มีระบบคอยดูดกลืน Carbon dioxide
ด้วย Sodium hydroxide ชนิดเหลวผ่านจากท่อที่เชื่อมต่อ แยกเป็นกิ่งก้านสาขา
แต่ละชุด (เหมือนแต่ละใบของต้นไม้) สู่ระบบถังเก็บ โดยมีกรรมวิธีเปลี่ยนแปลง
(Processed) สถานะให้เปียกก่อน จะปลดปล่อยลงสู่ใต้ชั้นดิน ทั้งนี้ระบบทั้งหมด ต้องมีความแน่นหนารัดกุม และยังปล่อยลงสู่แท่นขุดเจาะน้ำมันได้ หลังจากดูด
น้ำมันดิบขึ้นมาแล้ว

เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยมีประสิทธิภาพเก็บกักกรอง Carbon dioxide ได้ 90,000 ตันต่อปี ใน 1 ชิ้นของ Artificial trees มีขีดความ
สามารถจับคาร์บอน 6.6 ปอนด์ ต่อวินาทีจากอากาศ

นอกจากนั้นมีแบบ Carbon scrubbers vision ขนาดสูง 300 ฟุต เหมือนหอคอย
หรือคล้ายอนุสาวรีย์ ติดตั้งในเมือง สามารถดูด มลพิษต่างๆ และ Carbon dioxide
จากปริมาณที่เกิดจากรถยนต์ 15,000 คันต่อปี โดยมีระบบเช่นเดียวกับ Artificial
trees

ปัญหาของโครงการ

มีต้นทุนสูงในเรื่องระบบท่อขนส่ง Carbon dioxide มายังระบบหลัก การลำเลียง
ทิ้งสู่ใต้ดิน และผลกระทบการรั่วซึมสู่มนุษย์ได้
 
 
 
 
กากเพชรอวกาศ
 
 
Sulfates Balloons

Professor Paul Crutzen แห่ง Max Planck Institute for Chemistry Germany
เจ้าของรางวัล Nobel Prize in 1995 ผู้ที่ได้ศึกษาเรื่องช่องรอยรั่วของชั้นโอโซน
แสดงความเห็นว่ามีความจำเป็นอย่างทันที ต่อการแก้ไขสถานการณ์โลกร้อนโดย
เชื่อว่า นโยบายและความพยายามของมนุษย์ มีข้อจำกัด ต่อการแก้ไขปฎิกิริยา เรือนกระจก

วิธีการใช้เทคนิคให้โลกมีอุณหภูมิเย็นลง โดยปลดเปลื้องสภาพ ในบรรยากาศชั้น
Stratosphere (สูงกว่า 11 กิโลเมตรขึ้นไป) ให้สะท้อนความร้อนออกไปสู่อวกาศ
โดยส่ง Balloons ขึ้นไปในระดับสูงพ่น Sulfates โดยให้กระจายตัวเป็นจำนวนมาก
ผลกระทบจะเกิดขึ้นของอนุภาคดังกล่าว ทำให้เกิดอัตรา ระหว่างการสะท้อนกลับ
และการรับแสงของโลก (Albedo) โดยภาพรวมโลกจะเย็นลงในเวลาไม่กี่ปี

เป็นการเลียนแบบเช่น การระเบิดของ ภูเขาไฟขนาดใหญ่ ปล่อยเถ้าถ่านผงออก
ไปขวางกั้น ในกรณีภูเขาไฟ Pinatubo ระเบิดเมื่อ ค.ศ.1991 Sulphur มีปริมาณ
นับพันตันพุ่งขึ้นสูงอวกาศ ทำให้อุณหภูมิทั่วโลกเย็นลง 0.5 องศา C ตลอดปี

อนุภาค Sulfates มีขนาดเล็กคุณสมบัติ เป็นเกล็ดสะท้อนแสง เหมือนกระจกวาว
ต้องตรวจคำนวณความสัมพันธ์กัน ระหว่างจำนวนและความสูงเพียงพอ จึงมีผลดี

ในระยะ 10 ปีมีความเป็นไปได้ ที่จะผลิตองค์ประกอบของ Sulfates ใหม่ให้ปราศ
จากพิษ มีคุณสมบัติละลายน้ำไม่ได้ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบใดๆต่ออวกาศ และ
มนุษย์

ปัญหาของโครงการ

มีค่าใช้จ่ายแพงมาก จะต้องใช้ปริมาตรที่มากมหาศาลนับล้านๆตัน ในแต่ละเดือน
สามารถผลิตได้ระดับหมื่นตัน มีปัญหาแห้งแล้งในแถบ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและ
แถบตะวันออกกลาง โดยมิใช่เป็นการลด Carbon dioxide โดยตรง
 
 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น