เรื่องระบบน้ำของโลก [หน้า 3/3]

 
   เรื่องระบบน้ำของโลก [หน้า 3/3]
 
 
Precipitation type
 
 
5.Ice Crystals (IC)
ลักษณะคล้ายหนาม มีลักษณะรูปทรงต่างกันไป เรียกว่า เกล็ดน้ำแข็ง บางครั้งเรียก
Diamond dust เพราะมีลวดลายสวยงาม หากมีขนาดเล็กล่องลอยไปตามลมได้

6.Sleet / Ice Pellets (PE, PL, IP, SLT)
คือฝนที่ตกลงเป็นลูกเห็บ หรือก้อนน้ำแข็งลงสู่พื้นผิวโลก ครั้งแรกพุ่งลงมาเป็นหิมะ
จนกระทั่งบางส่วนเล็กๆของหิมะละลายออก ถ้าหิมะละลายตัวหมดโดยสมบูรณ์บน
พื้นผิวโลก แล้วพบกับน้ำเย็นจัดมากก็จะเกิด ก้อนลูกเห็บ (Sleet) แทนที่

ถ้าหิมะละลายไปบางส่วน บางส่วนคงสภาพเป็นก้อนน้ำแข็ง ตกลงพร้อมๆกับหยด
น้ำจากฟ้าเกิดจุดเหยือกแข็ง โดยเฉพาะชั้นล่างต่ำทางภูมิศาสตร์ อากาศมีความ
เหยือกแข็ง หากขอบเขตชั้นทั้งหมดของอากาศ มีความเหยือกแข็งครอบคลุมเพียง
พอจะตกลงในสภาพแข็งตัว สู่พื้นผิวที่สมบูรณ์แบบเรียกว่า ลูกเห็บก้อนน้ำแข็ง

7.Hail (GR, A)
ความหนาแน่นและตกลงจำนวนมาก (เป็นห่า) ของก้อนน้ำแข็งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง
ขนาด 5 มม. ด้วยเกิดจากเกล็ดน้ำแข็ง ความเย็นจัดมากของน้ำเรียกว่า ฝนลูกเห็บ

กรณีเป็นน้ำแข็ง หรือเกาะพอกกับยอดอ่อนของกิ่งไม้ เรียกว่า Hail stone
ส่วนลักษณะ Soft hail มักมีสีขาวกว่าและไม่หนาแน่นเพราะภายในมีฟองอากาศ
เกิดขึ้นใน สภาพอากาศต่ำกว่าจุดเหยือกแข็งจากเกล็ดน้ำแข็งขนาดเล็กและความ
เย็นจัดมากของน้ำ และผสมรวมกับหยดน้ำเล็กๆของเมฆ

กรณี Hail stone เกิดขึ้นเมื่อน้ำเปลี่ยนสถานะเป็นน้ำแข็งบริเวณริมขอบจนแข็งตัว
ไปทั่ว โดยมีน้ำเย็นจัดมากถูกห่อหุ้มอยู่ตรงกลาง

8. Graupel (GS)
การเกิดเช่นเดียวกันกับ Hail มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 5 มม.มักปรากฎ
จาก Soft hail

9. Drizzle (DZ, L)
คือ ฝนตกปรอยๆ ตกสู่พื้นผิวโลกเป็นหยดน้ำ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า
0.5 มม

10.Freezing Drizzle (FZDZ, ZL)
คือ ฝนหยดน้ำแข็งแบบปรอยๆ ตกลงสู่พื้นผิวโลกเป็นหยดน้ำแข็ง มีขนาดเส้นผ่า
ศูนย์กลางเล็กกว่า 0.5 มม

11.Freezing Rain (FZRA, ZR)
คือ ฝนหยดน้ำแข็ง ตกลงสู่พื้นผิวโลกเป็นหยดน้ำแข็งมีขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง
ใหญ่กว่า 0.5 มม

12.Freezing Fog (FZFG)
คือ ฝนหยดน้ำแข็งแบบหนาแน่น หม่นมัว ตกลงสู่พื้นผิวโลกด้วยองค์ประกอบของ
ของหยดน้ำฝนเย็นจัด โดยหลังจากหยดน้ำแข็งสู่พื้นโลกจะละลายเป็นน้ำ

13.Mixed Precipitation (MXD PCPN)
เป็นการรวมตัวโดยไม่คำนึงถึงลำดับชั้น ของ 2 กรณีขึ้นไป ในฤดูหนาวในเวลา
เดียวกัน ในที่เดียวกัน
 
 
ปัญหาทะเลสาบน้ำจืด Chaohu เมือง Hefei ทางตะวันตก ในประเทศจีน
 
 
ปัญหาในทะเลสาบน้ำจืด Kankaria อินเดียตะวันตก
 
 
ปัญหาของเมืองใหญ่ของโลก ที่เกิดขึ้นทั่วไป ส่งผลต่อระบบน้ำโลก
 
 
ปัญหา โรงงานผลิตน้ำตาลริมแม่น้ำ White Nile ประเทศอีจิปย์
 
20
เกิดผลกระทบการเกิด Precipitation ทั่วโลก

สิ่งที่เกิดขึ้นชัดเจน คือ ภาพรวมการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ บนพื้นผิวทั่วโลก
ในปัจจุบัน จากสถานการณ์จำลองจากฐานข้อมูล ระหว่าง ปลายศตวรรษที่ 20
(ค่าเฉลี่ย ค.ศ. 1971-2000) ถึงกลางศตวรรษ (ค่าเฉลี่ย ค.ศ.1951-2060)

มีการแสดง ตอบสนองจากก๊าซปฎิกิริยาเรือนกระจกและมลพิษในอากาศ ประเมิน
ว่าประชากรโลกจะพบใน ระดับกลาง ซึ่งแน่นอนอุณหภูมิเพิ่มขึ้นทั่วโลก ส่งผลต่อ
Precipitation เพิ่มขึ้นและลดลง ในแต่ละภูมิภาคแบบไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
แม้แต่ปัญหาจากรายงาน ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในประเทศไทย
ก็เริ่มมีข้อมูลบ่งชี้มากขึ้น

ประโยชน์และปัญหาของน้ำ

โดยหลักการเรียนรู้เรื่องน้ำ ประโยชน์การใช้งาน การนำมาบริโภคใช้สอยนำตั้งแต่
กำเนิดมนุษย์และสัตว์ เป็นที่รู้และเข้าใจโดยทั่วไปอยู่แล้ว จึงหลีกเลี่ยงจะกล่าวถึง
คงเหลือประเด็นปัญหา ของน้ำเพื่อกล่าวให้ทราบและตระหนักโทษที่พึงเกิดขึ้นได้ จากข้อมูล ได้แบ่งแยกที่มาของน้ำและระบบน้ำโลก

แสดงให้เห็นภาพรวมว่าน้ำมีอยู่ทุกทีล้อมรอบตัวเรา รวมทั้งในต้วเราเองปัญหาคือ
น้ำมากอยู่แล้ว แล้วกลับมากขึ้นทุกๆวัน กำลังจะท่วมล้นพื้นดินไปเรื่อยๆและคุณ
ภาพน้ำก็จะลดลงไปเรื่อยๆ (แม้ว่ามีปริมาณมาก) เพราะจากการปนเปื้อนจากระบบ
บนโลก ที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะโรงานทิ้งน้ำเสีย
เข้ามาสู่ระบบน้ำโลก ประชากรเมืองใหญ่ทิ้งขยะเข้าสู่ระบบทางน้ำในเมือง เชื่อม
โยงไปสู้ระบบน้ำโลก ทั้งนี้รวมถึงระบบอากาศเสียจากคาร์บอนทั้งปวงด้วย

เมื่อถึงวันนั้น บนโลกมีน้ำมากแต่กลับใช้ประโยชน์ได้น้อยลง ทำการเกษตรไม่ได้
ผลดี การประมงเสียหายเพราะมีสารเคมีทำลายการเจริญพันธ์พืชและสัตว์ บริโภค
ดื่ม อาบ ชำระ ไม่ได้ เพราะไม่สะอาดเหมือนเดิม ต้องนำไปผ่านขบวนการกลั่น
กรองมีต้นทุนสูงขึ้นอีกหลายเท่าตัว อาจแพงกว่าน้ำมันอีกหลายเท่า

ปัจจัยต่างๆนั้นกำลังคืบคลานเข้าสู่มนุษย์อย่างไม่หยุด และจะเกิดขึ้นในอนาคต
กระทบต่อกลุ่มประชากรในพื้นที่แน่นหนาและประเทศที่ยากจนก่อน หลังจากนั้น
ทุกกลุ่มประชากรจะเกิดผลกระทบจากสภาพแวดล้อม ที่ขาดแคลนคุณภาพน้ำ
อย่างเป็นลูกโซ่ เช่น การขยายตัวเกิดพันธ์ใหม่ของเชื้อโรคในน้ำ น้ำฝน หิมะอาจ
กลายเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่อยากสัมผัสเหมือนอดีตอีกต่อไป ลำธาร น้ำตก ที่ได้จาก
น้ำฝน อาจไม่สะอาดหรือปนเปื้อนจากเคมี แม้อยู่ในป่า เมื่อวันนั้นมาถึง เราอาจมี
น้ำเสียไปกว่าครึ่งโลก แล้วจะแก้ไขกันอย่างไร ทั้งน้ำเสียและอากาศเสีย และผิว
ดินทั่วโลก ค่อยๆลดหายไปอีกจากการท่วมของน้ำ
 
 
ปัญหาริมชายฝั่ง เมืองซิดนีย์ ในประเทศออสเตรเลีย
 
 
ปัญหาของแม่น้ำเจ้าพระยา ในประเทศไทย
 
 
น้ำจากบริเวณนี้ ไหลลงสู่แม่น้ำเหลือง ในประเทศจีน สร้่างผลกระทบเป็นวงกว้างสู่ระบบน้ำโลก
 
 
 
References :

United Nations Environment Programme (UNEP)
Central Water Commission is a premier Technical Organization of India
NCAR’s Mesa Lab (US Geological Survey's Water Science)
DSN 2008The 38th Annual IEEE/IFIP
International Conference on Dependable Systems and Networks
Weather prediction education
 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น