Deep sea : สำรวจใต้ทะเลลึก [หน้า 1/2]

 
   Deep sea : สำรวจใต้ทะเลลึก [หน้า 1/2]
 
คำอธิบายและภาพ ใช้ฐานข้อมูลจาก
-------------------------------------------
The Harbor Branch Oceanographic Institution
Underwater Field Guide to Ross Island & McMurdo Sound, Antarctica
Australian Museum Education Services
Monterey Bay Aquarium Research Institute
School of Biological Sciences, University of Sussex, Falmer, Brighton
The University of Arizona College of Agriculture and Life Sciences
The Deep gallery

(*หมายเหตุ ชื่อสัตว์ในวงเล็บภาษาไทย ใช้เรียกเพื่อความเข้าใจง่ายขึ้น)
 
 
ยานสำรวจใต้ทะเลลึก The Harbor Branch Oceanographic Institution
 
 
ใต้ทะเลลึกที่ยังลึกลับ

โลกมีพื้นที่มหาสมุทรถึง 70% การสำรวจลงไปได้ลึกประมาณ 6-7 กม.เท่านั้น บริเวณใต้พื้นมหาสมุทร เป็นแหล่งอยู่อาศัยขนาดมหึมา มีพื้นที่มากกว่าพื้นดิน
สภาพบรรยากาศ ดวงอาทิตย์ไม่สามารถส่องแสงถึง ทำให้มืดทึบหนาวเย็นสุด
ขั้วมีออกซิเจนน้อย

บริเวณพื้นผิวมีกลุ่มควันลอยโขมง ออกมาตามรอยแยก ปล่องภูเขาไฟใต้น้ำ
เทียบเท่ามี ความดัน 1,000 เท่าบนผิวโลก บริเวณดังกล่าว มีความร้อนสูงแหล่ง
รวมความผันแปรด้านชีวเคมี (Biochemistry) แม้เป็นแหล่งกำเนิดชีวิตมากมาย
ในวันนี้มีตัวอย่างให้ศึกษาไม่ถึง 2-3 % ของทั้งหมด
 
 
Oceanic Crust (เปลือกโลกบริเวณพื้นท้องทะเล มหาสมุทร)
บริเวณ Black smoker hydrothermalvent (ควันดำจาก ช่องระบายความร้อน) แหล่งน้ำร้อนลึก
ลงไปในเปลือกโลก พบ Bacteria มากกว่า 25,000 ตระกูล จากจำนวนที่มีอยู่ 60,000 ชนิด
 
 
Oceanic Crust (เปลือกโลกบริเวณพื้นท้องทะเล มหาสมุทร) ที่มีความอุ่น
 
 
สัตว์และพืชทะเลลึก ส่วนใหญ่มีข้อมูลน้อย และอยู่ในขั้นวิจัยติดตาม แม้ว่า
บางชนิดพบมาแล้วเกือบ 100 ปี แต่ขาดการติดตามอย่างต่อเนื่อง เหตุเพราะ
ขาดแคลนความสามารถของเครื่องมือ ที่จะลงไปสำรวจในบริเวณที่ลึกมากๆ

ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ได้มีหลายสถาบันเริ่มติดตามต่อเนื่อง ด้วยอุปกรณ์ทาง
ทะเลที่สามารถดำลึกลงไปสำรวจได้ใกล้ชิดขึ้น จึงทำให้ได้ภาพถ่ายที่ตื่นตา
ตื่นใจ สวยงาม น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

ภาพทั้งหมดเป็นการสำรวจมหาสมุทร ระดับความลึกถึง 6,000 เมตร อุณหภูมิ
เย็นระดับ 2 องศา C จะพบความแปลกประหลาดมาก มีปลาจำนวนมาก ที่ไม่
เคยรู้จัก มีหน้าน่ารักและน่ากลัว จนแทบไม่เชื่อท่ามกลางความมืด
 
 
ชื่อสามัญ : Green globe sponge (ฟองน้ำทะเลเขียว)
-------------------------------------------------------------
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Latrunculia apicalis
แหล่งที่พบ Antarctica, Kerguelen Island, Falkland Islands, Argentina
ระดับความลึก : +18 ถึง +1124 เมตร
ขนาดสูง : 12 เซนติเมตร (กว้าง 7.5 เซนติเมตร)

ข้อสังเกต : ภายนอกมีสีเขียวมะกอกเข้ม หรือสีน้ำตาลหรือแดงเข้ม ภายในสีแดง
เข้ม ภายในทรงกลมมีมวลความแน่น ผิวด้านนอกอ่อนนุ่ม มีปุ่มคล้ายหูด แต่ละปุ่ม
จะมีหลุมเป็นรูปทรงกรวยลึกเข้าไป เปิดให้ของไหลเข้าออกได้
 
 
ชื่อสามัญ : Telescope octopus (ปลาหมึกยักษ์ตาส่องกล้อง)
-----------------------------------------------------------------------
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Amphitretus pelagicus
แหล่งที่พบ : เขตร้อน เช่น Indian, Pacific Oceans
ระดับความลึก : +100 ถึง +2000 เมตร
ขนาด : 30 เซนติเมตร

ข้อสังเกต : ลำตัวใส มองเห็นภายใน มีแขน (หนวด) 8 เส้น ดวงตาตาคล้ายหลอด
ท่อโผล่ออกมา ดูเสมือนคล้ายกำลังส่องกล้องทางไกล และกลอกกลิ้งไปมาได้
 
 
ชื่อสามัญ : Blacksnout seasnail (ปลาจงอยปากดำ หางหอยทากทะเล)
----------------------------------------------------------------------------------
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Paraliparis copei copei
แหล่งที่พบ : North Atlantic, Azores, Northwest Atlantic, South Atlantic,
off Cape Point,South Africa
พบในระดับความลึก : +200 ถึง +1976 เมตร
ขนาด : 17 เซนติเมตร

ข้อสังเกต : ลำตัวสีขาวซีด บริเวณจงอยปากมีสีดำ ส่วนหางขมวดเรียวเล็กแหลม
คล้ายปลายก้นหอยทากทะเล
 
 
ชื่อสามัญ : Pacific blacksmelt (ปลาอัศวินแปคซิฟิค เกล็ดดำ)
หรือ Serpent fish (ปลางูซาตาน)
------------------------------------------------------------------------
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Stomias boa
แหล่งที่พบ : เขตร้อนถึงเขตอบอุ่น และ North Pacific Oceans, Northwest
Atlantic Oceans, Southern hemisphere Ocean
ระดับความลึก : +200 ถึง +1500 เมตร
ขนาด : 32 เซนติเมตร

ข้อสังเกต : ลำตัวยาวเรียว บนลำตัวมีเกล็ดหกเหลี่ยมปกคลุมคล้ายปลาหุ้มเกาะ
อัศวินยุคโบราณ มีสารเรืองแสงจุดแต้มอยู่ด้านข้าง ส่วนหัวเล็กคล้ายงู ลักษณะ
พิเศษคือ ระยางค์ที่คางโผล่ออกมา 1 เส้น ปลายเส้นมีแฉกเหมือนสายล่อฟ้าเพื่อ
ไว้ล่อจับเหยื่อ
 
 
ชื่อสามัญ : Slender blacksmelt (ปลาอรชร)
----------------------------------------------------
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Bathylagus pacificus
แหล่งที่พบ : North Pacific (off the Pacific coast of northern Japan),
Gulf of Alaska, Southward to Northern Baja California, Mexico
ระดับความลึก : +230 ถึง + 7700 เมตร (เขตชุกชุม +600 ถึง +800 เมตร)
ขนาด : 17-25 เซนติเมตร

ข้อสังเกต : ลำตัวเรียวแบน ครีบก้นยาวเป็น 2 เท่า ของครีบหลัง ลูกตาโต มีเส้น
ผ่าศูนย์กลางเป็น2 เท่าของจงอยปาก ลำตัวส๊ดำ น้ำตาลดำ มีสีน้ำเงินเข้มบนหัว
ด้านหน้าและบริเวณท้อง

 
 
ชื่อสามัญ : Dumbo octopus (ปลาหมึกการ์ตูน)
-------------------------------------------------------
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Grimpoteuthis
แหล่งที่พบ :
ระดับความลึก : +300 ถึง +500 เมตร
ขนาด : 1.5 เมตร

ข้อสังเกต : มีหูยื่นใหญ่ออกมาจากหัว เหมือนตัวการ์ตูนของ Walt Disney's ชื่อ
Dumbo (ช้าง) และมีความสามารถเปลี่ยนสี ชั้นใต้ผิวให้เป็นสีแดงได้ เพราะผิว
โปร่งแสง
 
 
ชื่อสามัญ : ไม่ปรากฎ (จัดอยู่ในประเภท Siphonophores)
-------------------------------------------------------------------
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Marrus orthocanna
แหล่งที่พบ :
ระดับความลึก : +400 ถึง +3000 เมตร
ขนาด : 40 เซนติเมตร

ข้อสังเกต : Siphonophores เป็นกลุ่มสัตว์ ปะการังและแมงกระพรุน (ไม่มีกระ-
ดูกสันหลัง) มีรวมกว่า 170 สายพันธ์ เคยสำรวจพบความยาวถึง 40 เมตร แต่เล็ก
เรียวบาง ทั้งหมดมีลักษณะเหมือนวุ้น (Gelatinous material)

ในทะเลลึก มักมีสีส้มดำเข้ม มีความอ่อนแอ แตกหักง่าย และโปร่งแสงมองเห็น
ภายในได้ ถือว่าเป็น Bioluminescent (ชีวเปล่งแสง) โดยเมื่อถูกรบกวนจะเปล่ง
แสงสีเขียวและน้ำเงิน แหล่งอยู่อาศัยบริเวณผิวทะเลลึกที่สงบนิ่ง คอยใช้หนวด
จับสัตว์น้ำขนาดเล็กกินเป็นอาหาร

 
 
ชื่อสามัญ : Binocular fish (ปลากล้องสองตา) หรือ Spook fish (ปลาผี)
----------------------------------------------------------------------------------
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Winteria telescopa
แหล่งที่พบ : Eastern Atlantic: Gulf of Guinea, Western Pacific: Japan,
Australia,New Zealand, Tropical Indian Ocean
ระดับความลึก : +400 ถึง +2500 เมตร (เขตชุกชุม +500 ถึง +700 เมตร)
ขนาด : 15-20 เซนติเมตร

ข้อสังเกต : ลำตัวสีน้ำเงินเข้ม โดยสะท้อนแสงเป็นสีเงิน เคยสำรวจพบครั้งแรก
วัดขนาดดวงตาได้กว้างถึง 9.1 เซนติเมตร ลักษณะ เหมือนกล้องส่องทางไกล
แบบ Binocular (กล้องสองตา)
 
 
ชื่อสามัญ : Fanfin angler (ปลาแผงครีบนางฟ้า)
--------------------------------------------------------
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Caulophryne jordani
แหล่งที่พบ : New South Wales: coast Australian, South of Norfolk Island
ระดับความลึก : +100 ถึง +3000 เมตร
ขนาด : 20 เซนติเมตร

ข้อสังเกต : ลักษณะเด่นมีครีบหลัง และครีบก้นเป็นแผง มีหนามแหลมด้านบน
ลำตัว ด้านหัวตรงกลางเหนือดวงตา มีระยางค์ยาวแข็งยื่นยาวออกมา ปลายคล้าย
ตะขอ โดยงอกออกมาตั้งแต่ช่วงอายุน้อย เป็นหนามแหลมๆก่อน สามารถกระดิก
ไปมาได้ สำหรับเกี่ยวล่าเยื่อให้เข้ามาใกล้ตัว
 
 
ชื่อสามัญ : Glowing sucker octopus (ปลาหมึกยักษ์เรืองแสง)
-------------------------------------------------------------------------
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Stauroteuthis Syrtensis
แหล่งที่พบ : Eastern USA, North Atlantic Ocean
ระดับความลึก : +500 ถึง +4000 เมตร (เขตชุกชุม +1500 ถึง +2500 เมตร)
ขนาด : มากกว่า 50 เซนติเมตร

ข้อสังเกต : ขณะว่ายน้ำขยายพองลำตัวบาน คล้ายกางร่มออก ปุ่มดูด (Sucker)
ที่อยู่ตามแนวเส้นเล็ก ชันตั้งขึ้นเหมือนหัวลูกศร เหนือผิวแนวเส้นแขน (หนวด)
บางครั้งชักหดกลับเข้าไป เป็นการแสดงอาการตกใจ ด้วยการเปล่งแสงสีแดง
จากลักษณะของ ชีวเปล่งแสง (Bioluminescent) และ
เป็นสัตว์มีเพศผู้-เพศเมีย
 
 
ชื่อสามัญ : Deep sea spider (แมงมุมทะเลลึก)
--------------------------------------------------------
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Munnopsis
แหล่งที่พบ : North Atlantic Ocean
ระดับความลึก : +900 ถึง +3000 เมตร
ขนาด : ลำตัว 1-2 เซนติเมตร หนวดยาว 15 เซนติเมตร

ข้อสังเกต : สิ่งมีชีวิตบนพื้นดินก้าวขา บนพื้นดินไปแบบ 2 มิติ เพื่อเปิดอากาศ
แต่การเดินท่ามกลางน้ำรอบทิศ เป็นการก้าวขาแบบ 3 มิติ เพื่อเป็นการเปิดน้ำ
จึงเป็นกลไกที่ยากมาก ต่อการเดินท่ามกลางน้ำ (ซึ่งไม่ใช่การว่าย) โดยเฉพาะ
แมงมุมทะเลลึก ที่มีขายาวกว่าตัว 10-15 เท่า
 
 
ชื่อสามัญ : Footballfish (ปลาลูกหนัง หรือ ปลาลูกฟุตบอล)
--------------------------------------------------------------------
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Himantolophidae
แหล่งที่พบ : Atlantic, Indian, Pacific Ocean
ระดับความลึก : +1000 ถึง +4000 เมตร
ขนาด : 45 เซนติเมตรขึ้นไป สำหรับเพศเมีย

ข้อสังเกต :
ลักษณะรูปร่าง ตัวทรงกลมเพศเมีย อาจมีขนาดถึง 2 ฟุต ส่วนเพศผู้
มีสัดส่วนเฉลี่ยเล็กกว่าเล็กน้อย เพศเมียโตเต็มวัย ส่วนหัวจะมีระยางค์งอกยื่น
ออกมา โดยส่วนหนึ่งของเนื้อเยื่อซึ่งมีลักษณะเป็นวุ้น ส่วนปลายเป็นลูกกลมและ
จากลูกกลมจะเป็นกระดูก (ก้าง) ที่แข็งแรง เป็นหนามแหลมๆ ต่อออกไปอีก
ส่วนเพศผู้จะไม่มีลักษณะดังกล่าว ส่วนปากของเพศเมียจะกว้างใหญ่ และมุมปาก
เฉียงเฉ โดยทั้งสองเพศมีสีเหมือนกันคือน้ำตาลแดง ตลอดชีวิต
 
 
ชื่อสามัญ : ไม่ปรากฎ
--------------------------
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ :
แหล่งที่พบ :
ระดับความลึก : +1000 ถึง +4000 เมตร
ขนาด : 15 เซนติเมตร

ข้อสังเกต :
 
 
ชื่อสามัญ : ไม่ปรากฎ
--------------------------
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ :
แหล่งที่พบ :
ระดับความลึก : +1200 ถึง +1800 เมตร
ขนาด : 3-25 เซนติเมตร

ข้อสังเกต :
 
 
ชื่อสามัญ : Big Red (แมงกระพรุนแดงใหญ่)
---------------------------------------------------
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Tiburonia granrojo
แหล่งที่พบ : Pacific Ocean off California, Hawaiian Islands and, Gulf of
California
ระดับความลึก : +650 ถึง +1500 เมตร
ขนาด : 1 เมตร

ข้อสังเกต : เป็นประเภทแมงกระพรุน สามารถขยายตัวได้กว่า 1 เมตร โดยแท้
จริงมิใช่แมงกระพรุนพันธ์ใหม่ แต่แตกต่างเพราะได้กำหนด ตระกูลย่อยใหม่
(New subfamily) ด้วยลักษณะพิเศษ ขนาดใหญ่ มีสีแดง และไม่มีหนวดเหมือน
แมงกระพรุนทั่วไปที่เคยพบ โดยใช้แขน (4-6 ชุด) ไว้คอยจับเหยื่อเป็นอาหาร

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น